ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

เปิดคำวินิจฉัยศาล เรื่องเงินกู้ 2 ล.ล. พบ 2 จุดตาย คว่ำพ.ร.บ. !!!

"ศาลรธน." ได้มีคำวินิจฉัย ล้มร่างพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล.ล.  พบหลักฐาน "ส.ส.พท." เสียบบัตรแทนกันขัดต่อม. 122 และ 136 ประเด็นที่ 2  ร่างดังกล่าวขัด ม.8 เนื่องจากไม่จำเป็นต้องกู้เร่งด่วน ทำให้ขัดวินัยการเงิน พรบ.ดังกล่าวมีอันต้องตกไปตาม 154   


เมื่อวันที่ 12 มี.ค. 2557 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัย ร่างพ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ....(ร่างพ.ร.บ.กู้ 2 ล้านล้าน)  2 ประเด็นตามที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยื่นคำร้อง คือ ร่างพ.ร.บ.กู้  2 ล้านล้าน ตราขึ้นโดยถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่ และมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หมวด 8 ว่าด้วยการเงิน การคลัง และงบประมาณ หรือไม่

 

ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้ว สรุปผลการวินิจฉัยได้ดังนี้

 

ประเด็นที่หนึ่ง ร่างพ.ร.บ.กู้ 2 ล้านล้าน ตราขึ้นโดยถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่
 

ศาลพิจารณาจากพยานหลักฐานที่ได้จากการไต่สวนฟังข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติได้ ว่า นายนริศร ทองธิราช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสกลนคร พรรคเพื่อไทย ได้ใช้บัตรแสดงตนและออกเสียงลงคะแนนในระบบอิเล็กทรอนิกส์แทนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรายอื่น ในการประชุมสภาฯเมื่อวันที่ 20 ก.ย. 2556 พิจารณาร่างพ.ร.บ.กู้ 2 ล้านล้าน

 


ซึ่งเมื่อพิจารณารัฐธรรมนูญมาตรา122 บัญญัติว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และ สมาชิกวุฒิสภาย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยโดยไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติ มอบหมาย หรือความครอบงำใด และต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชน ชาวไทย โดยปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์ และมาตรา 126 วรรคสาม บัญญัติว่า สมาชิกคนหนึ่งย่อมมีเสียงหนึ่งในการออกเสียงลงคะแนนแล้วเห็นว่า

 

การลงคะแนนเสียงแทนกันในการพิจารณาร่างพ.ร.บ.นี้ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญมาตรา 122 และ มาตรา 126 วรรคสาม ศาลรัฐธรรมนูญได้มีมติเสียงข้างมาก เห็นว่า ร่างพ.ร.บ.กู้ 2 ล้านล้าน ตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้

 


 ประเด็นที่สอง ร่างพ.ร.บ.กู้ 2 ล้านล้าน มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หมวด 8 ว่าด้วยการเงิน การคลัง และงบประมาณ หรือไม่

 

ก่อนที่จะวินิจฉัยประเด็นนี้ มีปัญหาที่ต้องพิจารณาวินิจฉัยก่อนว่า เงินกู้ตามร่างพ.ร.บ.นี้เป็นเงินแผ่นดินตามความหมายของรัฐธรรมนูญ หรือไม่ เห็นว่า คำว่า "เงินแผ่นดิน" ไม่ได้มีการกำหนดความหมายไว้โดย รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายใด แต่เมื่อพิจารณาจากพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542 มาตรา 4 ประกอบกับความเห็นของพยานบุคคลซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ เกี่ยวกับการเงิน การคลัง และงบประมาณ ตลอดจนบรรดากฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องแล้ว เห็นว่า เงินกู้ตามร่างพ.ร.บ.กู้ 2 ล้านล้าน เป็นเงินแผ่นดินตามความหมายของรัฐธรรมนูญ


ประเด็นที่ต้องพิจารณาวินิจฉัยต่อไปมีว่า ร่างพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหมวด 8 ว่าด้วยการเงิน การคลังและงบประมาณ หรือไม่

 

พิจารณาแล้วเห็นว่า เมื่อเงินกู้ตามร่างพระราชบัญญัตินี้มีลักษณะเป็นเงินแผ่นดิน การใช้จ่ายจึงต้องขึ้นอยู่ในบังคับแห่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 169 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติให้การจ่ายเงินแผ่นดินจะกระทำได้ก็เฉพาะที่ได้อนุญาตไว้ในกฎหมาย ว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ กฎหมายเกี่ยวกับการโอนงบประมาณ หรือ กฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง เว้นแต่ในกรณี “จำเป็นเร่งด่วน” รัฐบาลจะจ่ายไปก่อนก็ได้แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมาย บัญญัติและต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลังในพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย พระราชบัญญัติรายจ่ายเพิ่มเติม หรือ พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณถัดไป แต่ตามข้อเท็จจริงปรากฏว่าการดำเนินการเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนสงของประเทศตามที่ร่างพ.ร.บ.นี้มุ่งประสงค์ ยังไม่มีความจำเป็นเร่งด่วน

 

การใช้จ่ายเงินแผ่นดินต้องเป็นไปตามกรอบวินัยการเงินการคลังตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสอง เพื่อรักษาเสถียรภาพ การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และความเป็นธรรมในสังคม ดังนั้นการที่ร่างพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน บัญญัติให้เงินกู้ตามร่างพ.ร.บ.นำไปใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์โดยไม่ต้องนำส่งคลัง ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง และบัญญัติให้คณะรัฐมนตรี รายงานการกู้เงิน ผลการดำเนินงาน และการประเมินผลการดำเนินการตามแผนงานในแต่ละยุทธศาสตร์ต่อสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาเพื่อรับทราบเท่านั้น

 

ซึ่งแตกต่างจากที่พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณพ.ศ.2502 อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการจ่ายเงินแผ่นดินบัญญัติไว้ ทำให้การควบคุมตรวจสอบการใช้จ่ายเงินดังกล่าวไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและ กฎหมายที่เกี่ยวข้องว่าด้วยกรอบวินัยการเงินการคลังดังที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ หมวด 8 ว่าด้วยการเงิน การคลัง และงบประมาณ ร่างพ.ร.บ.ในส่วนดังกล่าวจึงขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ

 

ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีมติเอกฉันท์ว่าร่างพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หมวด 8 ว่าด้วยการเงิน การคลัง และงบประมาณ

 

ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ศาลจึงมีคำวินิจฉัยว่าร่างพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน ตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ และมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งข้อความดังกล่าวเป็นสาระสำคัญของร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ จึงมีผลให้ร่างพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน เป็นอันตกไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 154 วรรคสาม

 

               

โดย TnewsOnline เมื่อ 12 มีนาคม 2557



24/Mar/2014

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา