ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

มติ 6 ต่อ 3 เลือกตั้งโมฆะ!

21 มี.ค. 57  เมื่อเวลา 12.30 น.  นายพิมล ธรรมพิทักษ์พงษ์ รองเลขาธิการและหัวหน้าคณะโฆษกศาลรัฐธรรมนูญ แถลงว่า ที่ประชุมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้พิจารณาคำร้องกรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอเรื่องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 245 (1) ว่าการจัดการเลือก ส.ส.เป็นการทั่วไปเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ตามพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร 2556 เป็นการเลือกตั้งที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ หรือไม่

 

ทั้งนี้คำร้องนี้ ผู้ร้องได้รับหนังสือร้องเรียนจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เห็นว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งปฏิบัติหน้าที่ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ คือ

 

1. การเลือกตั้งเป็นการทั่วไปตาม พ.ร.ฎ.มิได้กระทำขึ้นเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร จากกรณีที่มีการกำหนดให้เลือกตั้งใหม่ภายหลังวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 สำหรับการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่มีปัญหาจำนวน 28 เขต ซึ่งเห็นว่าเป็นการเลือกตั้งที่ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 โดยชัดแจ้ง

 

2. คณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการรับสมัครเลือกตั้งทั่วไป โดยมิได้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 235 ประกอบมาตรา 30 จากกรณีที่กำหนดให้พรรคการเมืองที่ประสงค์จะยื่นบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งแต่ไม่สามารถเข้าไปยังสถานที่รับสมัครได้ ให้ไปแจ้งความไว้เป็นหลักฐานไว้ที่กองบังคับการปราบปรามหรือสถานีตำรวจนครบาลดินแดง ในเวลาก่อน 08.30 น. เพื่อให้ได้สิทธิ์ในการจับสลากหมายเลขผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อของพรรคนั้นๆ รวมถึงในการรับสมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตในหลายจังหวัดมีการแจ้งเปลี่ยนแปลงสถานที่รับสมัครเลือกตั้งโดยไม่มีการประกาศให้ทราบล่วงหน้าโดยเปิดเผย

 

เป็นเหตุให้ผู้ประสงค์จะรับสมัครเลือกตั้งไม่ทราบ และไม่สามารถเดินทางไปรับสมัครเลือกตั้งในสถานที่ที่รับสมัครเลือกตั้งใหม่ได้ การดำเนินการของคณะกรรมการการเลือกตั้งและคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดต่างๆ โดยเฉพาะกรณีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในจังหวัดนครศรีธรรมราช มีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติ ขัดต่อหลักความเสมอภาค ไม่เป็นไปตามหลักการของรัฐธรรมนูญ มาตรา 235 และมาตรา 30 ทำให้กระบวนการเลือกตั้งครั้งนี้มิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม

 

3. คณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการนับคะแนนเสียงเลือกตั้งขัดต่อหลักการลงคะแนนลับ และทำให้การเลือกตั้งที่กำหนดขึ้นในภายหลังเป็นอันไร้ผล เพราะบัตรเลือกตั้งที่ได้จากการเลือกตั้งเป็นบัตรเสีย การกระทำของคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นการดำเนินการที่ขัดต่อหลักการลงคะแนนลับและถือเป็นเรื่องร้ายแรง และกระทบต่อสิทธิ์ของประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจำนวนมาก จึงมีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 236 (1) มาตรา 93 และมาตรา 30

 

4. คณะกรรมการการเลือกตั้งปล่อยปละละเลยให้มีการใช้อำนาจรัฐที่ก่อให้เกิดความไม่เที่ยงธรรมจากกรณีที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งเป็นผู้รับสมัครเลือกตั้งระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 1 พรรคเพื่อไทย ได้ออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในท้องที่กรุงเทพมหานครและพื้นที่ใกล้เคียง โดยใช้อำนาจตามพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 คณะกรรมการการเลือกตั้ง ละเลยต่อหน้าที่ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ปล่อยปละละเลยให้มีการใช้อำนาจรัฐในการออกประกาศและมีคำสั่งต่างๆ ที่ทำให้การจัดการเลือกตั้งไม่สามารถดำเนินไปได้โดยสุจริตและเที่ยงธรรม

 

ดังนั้น ผู้ร้องจึงเสนอเรื่องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 245 (1) ว่าการจัดการเลือก ส.ส.เป็นการทั่วไปเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ตามพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร 2556 เป็นการเลือกตั้งที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ขอให้เพิกถอนการเลือกตั้งครั้งนี้ และให้มีการดำเนินการจัดการให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปขึ้นใหม่ ให้เป็นไปตามบทบัญญัติและเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญต่อไป

 

ทั้งนี้ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมาก  6 ต่อ 3 ว่า การที่พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2556 กำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ เมื่อได้ดำเนินการเลือกตั้งเป็นการทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ไปแล้ว ผลปรากฏว่ายังไม่มีการจัดการเลือกตั้ง 28 เขต จึงถือได้ว่ามิได้เป็นวันเลือกตั้งวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร เป็นผลให้พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2556 เฉพาะในส่วนที่กำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 วรรคสอง

 

สำหรับคำร้องของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 214 เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งและคณะรัฐมนตรีในการดำเนินการรับสมัครเลือกตั้งใหม่ในการเลือกตั้งสมาชิสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป ซึ่งตามคำร้อง ตามที่ พ.ร.ฎ.ยุบสภา 2556 กำหนดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 2ก.พ. 57 โดย กกต. ได้กำหนดช่วงเวลในการรับสมัครส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ และแบบแบ่งเขต

 

แต่ปรากฏว่า ในระยะเวลาที่กำหนด มีผู้ชุมนุมปิดล้อมสถานที่รัฐสมัครเลือกตั้ง เป็นผลให้ไม่มีผู้สมัครรับเลือกตั้ง หรือไม่สามารถจัดให้มีการสมัครรับเลือกตั้งได้ ในจำนวน 28 เขต โดยกกต. เห็นว่าไม่มีบทบัญญัติมาตราใด ให้อำนาจกกต. ในการประกาศและกำหนดวันรับสมัครเลือกตั้งใหม่ หรือกำหนดวันรับสมัครเลือกตั้งเพิ่มเติม จึงมีมติให้นายกฯ นำความกราบบังคมทูล เพื่อให้มีการตราพ.ร.ฎ. โดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 187 ประกอบมาตรา 93 ต่อมานายกรัฐมนตรี ได้มีหนังสือแจ้งให้ประธานกกต. ทราบว่าได้ส่งเรื่องดังกล่าวให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาแล้ว

 

ซึ่งมีความเห็นต่างกันกับกกต. ว่าการดำเนินการตราพ.ร.ฎ. ให้มีการเลือกตั้งใน 28  เขตเลือกตั้งนั้น รัฐบาลไม่มีอำนาจในการกำหนดวันรัฐสมัครเลือกตั้งเพิ่มเติม กำหนดวันลงคะแนนใหม่ รวมทั้งประกาศงดเว้นการจัดให้มีการเลือกตั้ง นอกเขตเลือกตั้งและนอกราชอาณาจักร ไม่สามารถทำได้ แต่เป็นอำนาจของกกต. ที่สามารถกระทำได้ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่งส.ว. 2550

 

ต่อมา กกต. ได้มีหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี เพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาและยืนยันความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย และสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้มีหนังสือถึงเลขาธิการกกต. แจ้งให้ทราบว่าคณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องดังกล่าว และมีมติรับทราบคำชี้แจงดังกล่าวแล้ว ดังนั้น กกต.เห็น กรณีดังกล่าวเป็นกรณีที่เกิดความขัดแย้งเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ ระหว่างกกต. และคณะรัฐมนตรี อันเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งมิใช่ศาลตั้งแต่ 2 องค์กรขึ้นไป

 

ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาแล้วเห็นว่า ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยว่า พ.ร.ฎ.ยุบสภา 2556 เฉพาะในส่วนที่กำหนดให้มีการเลือกตั้ง ส.ส.ในวันที่ 2 ก.พ. 57 ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 วรรคสอง ดังนั้น เหตุในการที่กกต.ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้หมดไปแล้ว จึงไม่เป็นประโยชน์ต่อคดี ที่ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาวินิจฉัยประเด็นตามคำร้องนี้ต่อไป ตามข้อกำหนดของศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัย พ.ศ. 2550 ข้อ 23 วรรคหนึ่ง จึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคำร้อง

 

เมื่อถามว่าขั้นตอนหลังจากนี้จะเป็นอย่างไร นายพิมล กล่าวว่า รัฐบาลกับ กกต.ก็ต้องไปคุยกันเรื่องการออก พ.ร.ฎ.เลือกตั้งใหม่ ส่วนที่ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องดังกล่าว ศาลรัฐธรรมนูญก็ไม่ได้พิจารณาวินิจฉัยในประเด็นนี้ ส่วนเรื่องกรอบระยะเวลาในการดำเนินการก็อยู่ที่ กกต.กำหนด ซึ่งก็มีแนวปฏิบัติของปี 2549 เป็นบรรทัดฐานที่ให้ดำเนินการได้อยู่แล้ว

 

อย่างไรตามสำหรับตุลาการเสียงข้างน้อย 3 เสียง ประกอบด้วย นายชัช ชลวร นายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี นายเฉลิมพล เอกอุรุ เนื่องจากเห็นว่า การเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 2 ก.พ.ไม่มีอะไรที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ส่วนเนื้อหารายละเอียดยังไม่สามารเปิดเผยได้ ขอให้รอดูคำวินิจฉัยส่วนตนอีกครั้งหนึ่ง

 

คมชัดลึก 21 มีนาคม 2557



24/Mar/2014

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา