ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ข้อเสนอแนะป.ป.ช.โครงการ “ประกันราคา - จำนำข้าว” (ฉบับเต็ม)

หมายเหตุ : เป็นเอกสารในการแถลงผลการดำเนินงานรอบ 6 เดือน (ตุลาคม 2556 – มีนาคม 2557) ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการรับจำนำข้าวเปลือกของรัฐบาลกับมาตรการ ป้องกันการทุจริตของคณะกรรมการ ป.ป.ช.

คณะกรรมการ ป.ป.ช. เข้าไปมีบทบาทในเรื่องของการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล ทั้งในเรื่องของการไต่สวนข้อเท็จจริง กรณีมีเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริต ทั้งในเรื่องของการป้องกันการทุจริต โดยมีข้อเสนอแนะไปยังรัฐบาล ตามนัยมาตรา 19 (11) แห่งพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 ซึ่งจะขอลำดับให้เห็นถึงการดำเนินการในเรื่องดังกล่าว ดังนี้

ข้อเสนอแนะ สมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี และมติคณะรัฐมนตรี

1.คณะอนุกรรมการศึกษา มาตรการการแทรกแซงราคาพืชผลและผลิตผลการเกษตรเพื่อป้องกันการทุจริต ได้มีข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตในการแทรกแซงตลาดข้าวของรัฐบาลต่อคณะ รัฐมนตรีเพื่อพิจารณา และมีมติให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการโดยเร่งด่วน ตายนัยมาตรา 19 (8) แห่งพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 ดังนี้

1.1 กรณีข้าวที่ค้างอยู่ในโกดังกลางของรัฐบาล ซึ่งผลสืบเนื่องมาจากโครงการรับจำนำข้าวเปลือกจำนวน 5.604 ล้านตัน ให้รัฐบาลออกคำสั่งให้กระทรวงพาณิชย์ กองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและหน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินโครงการรับ จำนำข้าว เร่งรัดจำทำรายงานการเงิน และปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าวเปลือกทุกโครงการเป็นรายโครงการให้แล้วเสร็จ ภายใน 1 ปี

1.2 กรณีผลการสำรวจผลผลิตของครัวเรือนที่ทำประกันและข้อมูลพื้นที่เพาะปลูกจริง อันเนื่องมาจากการดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ให้รัฐบาลมีมาตรการเสริมเพื่อป้องกันปัญหาการแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ และผลผลติเกินความเป็นจริงหรือเป็นเท็จ และเพื่อป้องกันปัญหาการทุจริตของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

- ให้รัฐบาลเร่งรณรงค์ด้านคุณธรรมและจริยธรรมในความซื่อสัตย์สุจริตแก่เกษตรกร โดยให้เกษตรได้มีสำนึกและเข้าใจถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นโดยรวม จากการแจ้งข้อมูลพื้นที่และผลผลิตจากการเพาะปลูกของเกษตรกร ซึ่งเป็นเงื่อนไขในการขอรับเงินค่าชดเชยส่วนต่างระหว่างราคาอ้างอิงกับราคา ประกันเกินความเป็นจริงหรือเป็นเท็จ

- ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องและมีอยู่จริงของผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว หลังจากที่กรมส่งเสริมการเกษตรได้ทำการสำรวจและรวบรวมอีกครั้งหนึ่ง โดยให้นำข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน/ชุมชน (กขช. 2ค) ของกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย มาเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาเปรียบเทียบกับข้อมูลที่ได้จากการสำรวจของกรม ส่งเสริมการเกษตร ก่อนจ่ายเงินค่าชดเชยส่วนต่างให้กับเกษตรกร ต่อไป

1.3 พิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการนำข้อเสนองานวิจัยประการอื่น ตามโครงการศึกษามาตรการแทรกกแซงตลาดข้าวเพื่อป้องกันการทุจริต ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป

2.คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พิจารณาเรื่อง ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตในการแทรกแซงตลาดข้าวของรัฐบาล แล้วมีมติเห็นชอบตามที่คณะอนุกรรมการศึกษามาตรการการแทรกแซงราคาพืชผลและ ผลิตผลการเกษตรเพื่อป้องกันการทุจริตเสนอ โดยให้นำข้อเสนอแนะดังกล่าวเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาและมีมติให้หน่วย งานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการโดยเร่งด่วน ตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 19 (8) ต่อไป

3.คณะรัฐมนตรีในคราว ประชุมปรึกษาเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2553 ได้พิจารณาข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตในการแทรกแซงตลาดข้าวของรัฐบาล ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เสนอประกอบความเห็น ดังนี้

3.1 รับทราบข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตในการแทรกแซงตลาดข้าวของรัฐบาล ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เสนอ และมอบหมายให้กระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อ ไป

3.2 มอบหมายให้สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีรับไปประสานงานกับกระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อชี้แจงข้อมูลข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนิน การระบายข้าวของรัฐบาลให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ทราบต่อไป

3.3 มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งสำรวจปริมาณและ คุณภาพของข้าวเปลือกคงค้าง (STOCK) รวมถึงสถานะของบัญชีของทุกโครงการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และรายงานต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป

3.4.กรณีที่ผลการศึกษา ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีข้อมูลบ่งชี้ว่า อาจมีเจ้าหน้าที่ไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาการทุจริตเกี่ยวกับการระบายข้าว เปลือกด้วย มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์เร่งดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริง และดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดเร่งด่วน

----

ข้อเสนอแนะ สมัยน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี

1.คณะอนุกรรมการศึกษา มาตรการการแทรกแซงราคาพืชผลและผลิตผลการเกษตร เพื่อป้องกันการทุจริต ได้พิจาณาคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี ชุดที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2554 โดยกำหนดนโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรกในส่วนของการยกระดับราคา สินค้าเกษตร และให้เกษตรเข้าถึงแหล่งเงินทุน ดูแลสินค้าเกษตรให้มีเสถียรภาพที่เหมาะสม คำนึงถึงกลไกตลาดโลก โดยใช้วิธีบริหารจัดการทางการตลาด และกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้ารวมทั้งผลักดันให้เกษตรกรสามารถขายสินค้าเกษตร ได้ในราคาสูงเพียงพอเมื่อเทียบกับต้นทุน และนำระบบรับจำนำข้าวเปลือกเจ้า และข้าวเปลือกหอมมะลิ ความชื้นไม่เกินร้อยละ 15 ที่ราคาเกวียนละ 15,000 บาท และ 20,000 บาท ตามลำดับ พร้อมททั้งจัดให้มีการเยียวยาความเสียหายของพืชผลจากภัยธรรมชาติให้แก่ เกษตรกร การจัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรสมบูรณ์ และการออกบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกร แล้วเห็นว่า

1.1 การแทรกแซงตลาดพืชผลทางการเกษตร ด้วยวิธีการรับจำนำ ซึ่งจากการศึกษาวิจัยพบว่า ในอดีตที่ผ่านมาเกิดปัญหาขึ้นอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการบิดเบือนกลไกตลาด การที่รัฐต้องมีข้าวจากการรับจำนำในสต๊อกเป็นจำนวนมาก และเสียค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาเป็นจำนวนมาก รวมทั้งคุณภาพของข้าวที่เก็บแล้วระบายออกไม่ทันเสื่อมคุณภาพลงทำให้ราคาข้าว ตกต่ำ และประการสำคัญมีปัญหาของการทุจริตในทุกขั้นตอนของกระบวนการรับจำนำ ผู้ได้ประโยชน์จากนโยบายเป็นเพียงบุคคลบางกลุ่มไม่ครอบคลุมเกษตรกรอย่างทั่ว ถึง

1.2 การเปลี่ยนแปลงนโยบายการแทรกแซงตลาดข้าวจากวิธีการรับจำนำ มาเป็นการประกันรายได้ สามารถลดช่องทางทุจริตเรื่องนี้ได้ในระดับหนึ่ง ด้วยเพราะวิธีการแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง โอกาสที่เจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปแสวงหาประโยชน์จากการดำเนินโยบายที่น้อยมาก เมื่อเทียบกับวิธีการรับจำนำ รวมทั้งผลประโยชน์ตกแก่เกษตรกรอย่างทั่วถึง และกลไกตลาดไม่ถูกบิดเบือน

1.3 แม้ว่ารัฐบาลชุดปัจจุบัน จะนำโยบายการรับจำนำกลับมาใช้เพื่อแทรกแซงตลาดข้าว โดยอ้างว่าเป็นนโยบายที่ได้หาเสียงไว้กับประชาชนก็ตาม แต่ในอดีตที่ผ่านมาทั้งจากการศึกษาผลวิจัย และจากเรื่องกล่าวหาร้องเรียนที่เข้ามาสู่กระบวนการไต่สวนข้อเท็จจริง เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่านโยบายการรับจำนำเป็นช่องทางของการทุจริตอย่างมาก มายและมีผลเสียนานัปการ

ดังนั้นเมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ได้ตระหนักและเห็นถึงโอกาสในการทุจริตและสร้างความเสียหายแก่ประเทศอันมีผล สืบเนื่องมาจากนโยบายรับจำนำ ก็ไม่สมควรที่จะเพิกเฉย แต่ควรที่จะดำเนินการเพื่อเห็นควรที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. จะได้ยืนยันในผลการศึกษาวิจัยมาตรการแทรกแซงตลาดข้าวเพื่อป้องกันการทุจริต และข้อเสนอแนะที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้เสนอต่อคณะรัฐมนตรี ซึ่งชี้ให้เห็นถึงปัญหาและความเสียหายอันเกิดจากนโยบายแทรกแซงตลาดข้าวด้วย วิธีการรับจำนำ ไปยังรัฐบาลเพื่อทราบอีกครั้งหนึ่ง

คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พิจารณาความเห็นของคณะอนุกรรมการศึกษามาตรการการแทรกแซงราคาพืชผลและ ผลิตผลการเกษตรเพื่อป้องกันการทุจริต เกี่ยวกับนโยบายแทรกแซงตลาดข้าวด้วยวิธีการรับจำนำของรัฐบาลชุดปัจจุบัน แล้วมีมติเห็นชอบให้ดำเนินการตามความเห็นของคณะอนุกรรมการตามที่เสนอ

2.หลังจากที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีหนังสือนายกรัฐมนตรี แจ้งยืนยันผลการศึกษาวิจัยมาตรการแทรกแซงตลาดข้าวเพื่อป้องกันการทุจริต และข้อเสนอแนะที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้เสนอต่อคณะรัฐมนตรี ซึ่งชี้ให้เห็นถึงปัญหาและความเสียหายอันเกิดจากนโยบายแทรกแซงตลาดข้าวด้วย วิธีการรับจำนำไปยังรัฐบาลแล้ว คณะอนุกรรมการฯ ได้ดำเนินการศึกษา ติดตาม และเฝ้าระวังการทุจริตตามนโยบายแทรกแซงตลาดข้าวด้วยวิธีการรับจำนำของรัฐบาล อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง โดยได้เชิญผู้แทนจากส่วนราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินนโยบายการรับจำนำข้าวของรัฐบาล ผู้แทนจากองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการค้าขายข้าวดำเนินโครงการแทรกแซง ตลาดข้าวด้วยวิธีการรับจำนำของรัฐบาลปัจจุบัน ยังคงก่อให้เกิดปัญหาในด้านต่าง ๆ อย่างมากมายอยู่เช่นเดิมดังเช่นในอดีตที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการทุจริตทั้งในเชิงนโยบาย และในส่วนของขั้นตอน และกระบวนการในการดำเนินโครงการ

อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลยังคงต้องดำเนินโครงการดังกล่าวต่อไป เนื่องจากเป็นนโยบายหลักที่สำคัญ ซึ่งได้หาเสียงไว้กับประชาชนและแถลงต่อรัฐสภา ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกบังเกิดประโยชน์แก่เกษตรกรที่ได้ เพาะปลูกข้าวจริงและสุจริต เกิดความเป็นธรรมแก่เกษตรกร รวมทั้งเป็นการป้องกันการทุจริตและป้องกันมิให้การดำเนินโครงการรับจำนำข้าว เปลือกก่อให้ความสูญเสียด้านงบประมาณที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และมีผลกระทบต่อการแข่งขันการส่งออกข้าวไทย เห็นสมควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการ ดังนี้

1.การดำเนินการนโยบายยกระดับราคาข้าว

คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ควรได้พิจารณา

1.1 กำหนดราคารับจำนำข้าวเปลือกแต่ละชนิดให้เหมาะสมสอดคล้องกับต้นทุนการผลิตที่ เกษตรแบกรับภาระอยู่ โดยอยู่บนพื้นฐานของความสมเหตุสมผล และไม่บิดเบือนกลไกตลาด

1.2 มุ่งเน้นช่วยเหลือเกษตรผู้ปลูกข้าวอย่างแท้จริง โดยมอบหมายให้หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบพิจารณาแนวทางช่วยเหลือเกษตรกร ผู้ปลูกข้าวโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการลดต้นทุนการผลิตข้าว

1.3 ให้รัฐบาลติดตามและประเมินผลโครงการฯ อย่างเป็นรูปธรรม โดยอาจให้องค์กรเอกชนศึกษาถึงผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินโครงการรับจำนำ แล้วนำมาพัฒนา ปรับปรุง และแก้ไขให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

2.การดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือก

2.1 การขึ้นทะเบียนและรับรองเกษตรกร

- นอกเหนือจากการกำหนดให้มีกระบวนการทำประชาคม และให้ผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับรองเกษตรกรแล้ว ให้กรมส่งเสริมการเกษตรพิจารณาให้มีและนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประโยชน์ใน การขึ้นทะเบียนและรับรองเกษตรกรอีกทางหนึ่งด้วย เพื่อให้เฉพาะเกษตรกรที่เพาะปลูกข้าวจริง และสุจริตที่จะได้ได้รับประโยชน์จากการดำเนินตามนโยบายของรัฐบาล

- กำหนดให้มีมาตรการลงโทษที่เหมาะสมและจริงจังกับเกษตรกรที่ไม่สุจริต

2.2 การระบายข้าวสารจากคลังสินค้าของรัฐบาล

- เพื่อมิให้ข้าวที่ได้มาจากการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปี 2554/55 ก่อให้เกิดความสูญงบประมาณของรัฐเป็นจำนวนมาก ที่ผลเนื่องมาจากการเก็บรักษาข้าวเป็นเวลานาน ข้าวเกิดความเสียหาย เสื่อมคุณภาพ สูญเสียน้ำหนัก และเป็นการป้องกันการทุจริตที่อาจเกิดขึ้นได้ จึงเป็นการสมควรที่มอบหมายให้หน่วยงานที่รับผิดชอบหรือที่เกี่ยวข้อง กำหนดให้มีแผนการบริหารจัดการการระบายข้าวที่เก็บรักษาไว้ในโกดังกลางอย่าง เป็นระบบ การปิดบัญชีโครงการฯ พร้อมทั้งให้รายงานผลการดำเนินการหรือที่ไม่สามารถไม่ดำเนินการให้เป็นไปตาม แผนดังกล่าวได้ ให้คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) พิจารณาโดยเร็ว และต่อเนื่อง

- หลักเกณฑ์วิธีการ และรายละเอียดในการดำเนินการ และผลของการระบายหรือขายข้าวที่อยู่ในคลัง หรือโกดังกลางที่อยู่ในความดูแลขององค์การคลังสินตค้า (อ.ค.ส.) หรือองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ให้ประกาศโดยเปิดเผยเป็นที่ทราบแก่บุคคลทั่วไป และดำเนินการด้วยความโปร่งใส

3.คณะรัฐมนตรีในคราว ประชุมปรึกษาเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2555 ได้พิจารณาและยืนยันว่า การดำเนินการโครงการรับจำนำข้าวเปลือกมีวัตถุประสงค์ที่เป็นประโยชน์ต่อ เกษตรกรในการยกระดับราคาพืชผลทางการเกษตร รวมทั้งเป็นการยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตให้แก่เกษตรกรในชนบทตามแนวนโยบาย ที่รัฐบาลได้แถลงต่อรัฐสภาทุกประการ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ยืนยันว่าการดำเนินโครงการดังกล่าวมีมาตรการ และกลไกในการควบคุมกำกับดูแลให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการทุกประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีระบบการตรวจสอบให้การดำเนินการเป็นไปด้วยความโปร่งใสและ ตรวจสอบได้แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การดำเนินโครงการทั้งในระดับพื้นที่และในระดับปฏิบัติการมี ประสิทธิภาพและป้องกันการทุจริต คณะรัฐมนตรีจึงมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง) สั่งการให้หน่วยงานในกำกับ ดำเนินการตรวจสอบเพื่อป้งอกันการทุจริตในระดับปฏิบัติ โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์ ให้ความร่วมมือ หากตรวจสอบพบกรณีทุจริตให้ดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดต่อไป

4.การสนองตอบของรัฐบาล ต่อข้อเสนอแนะของ ป.ป.ช. รัฐบาลก็ได้มีการดำเนินการไปหลายส่วน อาทิ กำหนดราคารับจำนำข้าวเปลือกแต่ละชนิดให้เหมาะสมสอดคล้องกับต้นทุนการผลิตที่ เกษตรกรแบกรับภาระอยู่ การมุ่งเน้นช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอย่างแท้จริง โดยมอบหมายให้หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบพิจารณาแนวทางช่วยเหลือเกษตรกร ผู้ปลูกข้าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการลดต้นทุนการผลิตข้าว การนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่จะได้รับประโยชน์จากการดำเนินตามนโยบายของรัฐบาล ฯลฯ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ประการสำคัญ คือ ในเรื่องของการระบายข้าวสารจากคลังสินค้าของรัฐบาล โดยให้หน่วยงานที่รับผิดชอบหรือที่เกี่ยวข้อง กำหนดให้มีแผนการบิรหารจัดการการระบายข้าวที่เก็บรักษาไว้ในโกดังกลางอย่าง เป็นระบบ การปิดบัญชีโครงการฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลักเกณฑ์ วิธีการ และรายละเอียดในการดำเนินการ และผลของการระบายข้าว หรือขายข้าวที่อยู่ในคลัง หรือโกดังกลางที่อยู่ในความดูแลขององค์การคลังสินค้า (อ.ค.ส.) หรือองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ให้ประกาศโดยเปิดเผยเป็นที่ทราบแก่บุคคลทั่วไป และดำเนินการด้วยความโปร่งใส รัฐบาลยังสนองตอบได้ไม่เต็มที่เท่าที่ควร



19/May/2014

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา