ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

แรงงานเร่งปฏิรูปประกันสังคม ปรับโครงสร้างรับสังคมสูงอายุ

ในงานเสวนา 25 ปี ประกันสังคมพร้อมเปลี่ยนแปลงสู่ทศวรรษหน้า ปฏิรูปอย่างไร จึงจะโดนใจผู้ประกันตน ซึ่งจัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้นั้น พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้เดินทางมาเป็นประธานในงาน พร้อมกล่าวปาฐกถา ระบุว่า สำนักงานประกันสังคม (สปส.) จะต้องมีการปฏิรูปใน 4 ประเด็นด้วยกัน

 

หนึ่ง ต้องเปิดเผยข้อมูลการทำงานต่อสาธารณชนในทุกเรื่อง

 

สอง ตรวจสอบได้จากองค์กรเอกชนที่เชี่ยวชาญ มั่นคง ยั่งยืน พึ่งพิงได้ และเพิ่มสิทธิให้กับผู้ประกันตน เนื่องจากผู้ประกันตนต้องการรับบริการที่ดี

 

สาม ต้องมีการสำรวจความพึงพอใจจากผู้ประตนอย่างสม่ำเสมอ เพราะเงินกองทุนเป็นของผู้ประกันตนและผู้ประกอบการ และสี่ ต้องมีการปฏิรูปโครงสร้างการบริหารไปสู่อนาคต

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน บอกว่า เรื่องเหล่านี้สามารถทำได้ทันที และจะติดตามงานอย่างต่อเนื่อง โดยมอบหมายให้ นายนคร ศิลปอาชา ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นผู้รับผิดชอบ นอกจากนี้กองทุนประกันสังคมและกองทุนทดแทนต้องมีผู้เชี่ยวชาญเข้ามาบริหารงาน

 

ด้าน นายรักษ์ศักดิ์ โชติชัยสถิตย์ รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม บอกว่า โดยรวมแล้วทุกคนก็อยากจะมุ่งไปสู่ความพึงพอใจของผู้ประกันตน ประชาชนและสังคม ให้ทุกฝ่ายชื่นชมประกันสังคมกันมากขึ้น อย่างไรก็ตามในที่ประชุมบางส่วนก็มองว่า ในบางเรื่องที่ทำอย่างถูกต้องมา แต่อาจจะมีการประชาสัมพันธ์ที่ยังไม่เข้าถึง ไม่ตอบโจทย์ และไม่โดนใจ ซึ่งต้องมีการเพิ่มเสริมการประชาสัมพันธ์ต่อไป

 

นอกจากนั้น บางส่วนเห็นว่า กฎ ระเบียบ กฎหมายที่ไม่ใช่พระราชบัญญัติก็ต้องมีการมาสำรวจตรวจสอบแก้ไข เพื่อให้เหมาะสมด้วย ซึ่งสำนักงานประกันสังคมจะรวบรวมไว้เพื่อนำไปดำเนินการต่อไป

 

นายยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัยการพัฒนาแรงงาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เห็นว่า ควรปฏิรูปสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ทั้งระบบ เพราะอีก 30 ปีข้างหน้า เงินกองทุนจะหมดลงจากการจ่ายสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพ

 

เขาเสนอว่า ควรมีการขยายอายุเกษียณของผู้ประกันตน จาก 55 ปี เป็น 60 ปี เพิ่มฐานเงินเดือนขั้นต่ำที่ต้องจ่ายเงินสมทบให้มากกว่า 1,650 บาท และขยับเพดานเงินเดือนที่เรียกเก็บออกไปให้สูงกว่า 15,000 บาท

 

 

เพิ่มอัตราเงินสมทบที่เรียกเก็บมากกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ และต้องลงทุนต่อปี ให้ได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6 เป็นร้อยละ 10 นอกจากนี้ สปส.ต้องประหยัดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ซึ่งพบว่า มีวงเงินใช้จ่ายมากถึง 4,000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2 ของเงินกองทุน

 

ขณะที่ นางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ย้ำว่า สปส.ต้องเป็นองค์กรอิสระ ในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อเกิดความคล่องตัวในการบริหารงาน และต้องเปิดกว้างให้นายจ้างและลูกจ้างจากกลุ่มต่างๆ เข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหาร และตรวจสอบ นอกจากนี้ สปส.ต้องนำข้อมูลการประชุมของคณะกรรมการชุดต่างๆ รวมทั้งการลงทุน และผลตอบแทน เปิดเผยให้ผู้ประกันตนทราบต่อเนื่อง

 

อย่างไรตามในวันเดียวกับที่มีการจัดงานเสวนาดังกล่าวก็มีเสียงสะท้อนปัญหาระบบประกันสังคมจากฝ่ายของนักวิชาการ โดย รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ อาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในฐานะเลขาธิการศูนย์ประสานงานบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ระบุว่า บุคลากรในสถาบันอุดมศึกษากว่า 1 แสนคนที่ไม่ใช่ข้าราชการอยู่ในกองทุนประกันสังคมด้วย

 

เมื่อรวมเงินจากทั้ง 3 ส่วนคือ ลูกจ้าง นายจ้าง และภาครัฐ ต้องจ่ายเข้ากองทุนจำนวน 1,925.50 บาทต่อเดือน ซึ่งมากกว่ารัฐแบกภาระต่อหัวข้าราชการเดือนละ 1,000 บาทต่อสิทธิ์ข้าราชการ 1 ราย แต่เมื่อเปรียบเทียบสิทธิการรักษาโดยเฉพาะการได้รับยากลับได้รับสิทธิที่ด้อยกว่ามาก

 

เขายกตัวอย่าง ยา 5 กลุ่ม คือ 1.ยาไขมันในบัญชียาหลักแห่งชาติ 2.กลุ่มยาไวรัสตับอักเสบบีและซี 3.ยาลดกรด 4.ยาต้านเชื้อรา และ 5.ยาแก้ปวด โดยรวมข้าราชการได้ใช้ยาที่ดีกว่า แต่ประกันสังคมใช้ยาราคาถูกแต่ต้องเพิ่มขนาดรับประทานและมีผลข้างเคียงต่อร่างกายมากกว่า

 

"บุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาจำนวนกว่าแสนคนที่ไม่ใช่ข้าราชการ นอกจากจะมีสัญญาจ้างแบบพนักงานมหาวิทยาลัย มีความเสี่ยงในหน้าที่การงานสูงแล้ว ต้องมาเสี่ยงเพิ่มกับการได้รับยา ร่วมชะตากรรมกับพี่น้องผู้ประกันตนอีกหลายล้านคน เรียกว่า เสี่ยงเบิ้ลสองเด้ง ถึงเวลาหรือยัง ที่จะปฏิรูประบบประกันสุขภาพ คืนความสุขให้ประชาชนคนไทยทั้งประเทศอย่างเท่าเทียมกัน"

 

กรุงเทพธุรกิจ 21 พฤศจิกายน 2557



01/Dec/2014

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา