ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ศาลสหรัฐฯ สั่งบริษัทจัดหางานจ่ายค่าเสียหาย 286 ล้านแก่ “แรงงานไทย” ที่ถูกเอาเปรียบในฮาวาย

เอพี - ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นสหรัฐฯ มีคำตัดสินให้บริษัทจัดหางาน ในมลรัฐแคลิฟอร์เนียชดเชยค่าเสียหายเป็นเงินทั้งสิ้น 8.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 286 ล้านบาท) แก่ “แรงงานไทย” ที่ถูกเอารัดเอาเปรียบขณะทำงานที่ไร่สับปะรด 6 แห่งในฮาวาย ทว่ายังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า ในที่สุดแล้วจะมีโจทก์คนใดได้รับเงินก้อนนี้หรือไม่

               

เมื่อวันที่ 22 ธ.ค.2557  มอร์เดไช โอเรียน อดีตประธาน “โกลบัลฮอริซอนส์” ระบุว่า ไม่สามารถหาเงินมาจ่ายค่าเสียหายให้แก่แรงงานได้ เนื่องจากบริษัทจัดหางานที่มีฐานในเมืองลอสแองเจลิสแห่งนี้ได้ล้มเลิกกิจการไปแล้ว

      

เขากล่าวว่า “เราจะอุทธรณ์คำตัดสินที่น่าขันเช่นนี้” พร้อมสำทับว่า การสั่งให้บริษัทจ่ายค่าเสียหายเป็นเงินมหาศาลขนาดนี้ “ช่างไร้เหตุผลสิ้นดี”

      

นอกจากนี้ โอเรียนยังคงยืนกรานว่า ไม่มีแรงงานคนใดถูกทารุณ โดยเน้นย้ำว่า “เราจ่ายค่าตอบแทนแรงงานให้คนเหล่านี้ทุกเหรียญทุกเพนนี ... เราพยายามช่วยให้ไร่เกษตรถูกกฎหมายในสหรัฐฯ ยืนหยัดต่อไปได้ แต่นี่คือผลตอบแทนที่เราได้รับ”

      

เมื่อปี 2011 คณะกรรมาธิการเพื่อความเท่าเทียมของโอกาสในการจ้างงานแห่งสหรัฐฯ (อีอีโอซี) ได้ยื่นฟ้องร้องโกลบัลฮอริซอนส์ และไร่เกษตร 6 แห่งในฮาวาย โดยคณะกรรมาธิการชุดนี้ระบุว่า แรงงานในกิจการเหล่านี้ได้รับการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมจากความมีอคติต่อ เชื้อชาติ จัดหาที่พักซึ่งไม่สามารถอยู่อาศัยได้ จัดหาอาหารไม่เพียงพอ และให้ค่าแรงต่ำกว่ามาตรฐาน ตลอดจนขู่คุกคามจะส่งกลับประเทศ โดยฟาร์ม 5 แห่งยอมจ่ายค่ายอมความเป็นเงินรวมทั้งสิ้น 3.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 118 ล้านบาท)

      

เมื่อวันศุกร์ที่ 19 ธ.ค. 2557 เลสลีย์ โคบายาชิ ผู้พิพากษาศาลแขวงสหรัฐฯ ได้พิพากษาให้โกลบัลฮอริซอนส์ แพ้คดี

      

แอนนา พัค ทนายความของอีอีโอซี ระบุว่า ทางหน่วยงานรู้สึกพอใจกับคำตัดสินของศาล แต่ก้าวถัดไปคือการทำให้โกลบัลฮอริซอนส์ ยอมจ่ายเงิน

      

ก่อนหน้านี้ โคบายาชิเคยพิพากษาว่า บริษัทจัดหางานเจ้านี้ต้องรับผิดต่อกรณีการเลือกปฏิบัติอย่างมีอคติต่อเชื้อ ชาติ และการทารุณแรงงาน

 

คณะกรรมาธิการเพื่อความเท่าเทียมของโอกาสในการจ้างงานระบุว่า บริษัทนี้จงใจปล่อยให้คนไทย ซึ่งเป็นชนชาติที่ถูกเหมารวมว่าเป็นคนไม่มีปากมีเสียง และยอมคน ต้องใช้ชีวิตอย่างอัตคัดขัดสน ทั้งที่ได้เรียกเก็บค่านายหน้าจากคนไทยเป็นเงินตั้งแต่ 9,500-26,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 310,000-850,000 บาท) และปล่อยให้พวกเขานอนบนเตียงเต็มไปด้วยตัวเรือดในบ้านซึ่งมีสภาพแออัด ขณะที่แรงงานบางคนต้องประดิษฐ์ “หนังสติ๊กขึ้นมาเพื่อจับไก่กิน”

 

               

ทั้งนี้ผู้พิพากษาโคบายาชิสั่งให้มีการชดเชยเงินโจทก์ทั้ง 82 คน เป็นเงินคนละ 150,000 ดอลลาร์ (ราว 4.9 ล้านบาท) โดยเป็นเงินที่มาจากกองทุนสินไหมทดแทนมูลค่า 3.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ของไร่เกษตร 6 แห่งในฮาวาย และอีก 8.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่โกลบัลฮอริซอนส์ต้องแสดงความรับผิด เธอพบว่า ไร่เกษตรแห่งสุดท้ายที่ยังไม่ยอมชดใช้ค่าเสียหายคือ บริษัท “เมาอีไพแนปเพิล” ซึ่งมีส่วนต้องรับผิดร่วมกับโกลบัลฮอริซอนส์ ด้วยการออกค่าเสียหายเป็นเงิน 8.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 266.6 ล้านบาท) จากทั้งสิ้น 8.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

      

แคลร์ แฮนัสซ์ ทนายความซึ่งเป็นตัวแทนของแรงงานกลุ่มใหญ่ เพื่อดูแลจัดการเรื่องการเข้าเมืองให้พวกเขากล่าวถึงคำตัดสินว่า “คำถามก็คือเงินหลายล้านดอลลาร์ก้อนนี้จะตกไปถึงมือพวกเขาบ้างไหม ... กระนั้น ดิฉันก็ยังประประหลาดใจว่าบริษัทไม่มีเงินจ่ายจริงๆ หรือ ไม่เช่นนั้นพวกเขาก็ปกปิดอำพรางไว้ได้แนบเนียนมาก”

      

ฆาเวียร์ โลเปซ เปเรซ ทนายของโกลบัลฮอริซอนส์ระบุว่า บริษัทเจ้านี้ไม่มีสินทรัพย์ และไม่มีเงินจ่ายค่าสู้คดี จึงยอมให้ผู้พิพากษาโคบายาชิ ตัดสินให้คู่ความชนะคดี โดยไม่ไปขึ้นศาล ขณะที่กิจการนี้วางแผนจะอุทธรณ์คำตัดสินภายหลัง

      

แฮนัสซ์ชี้ว่า เงินก้อนนี้จะช่วยพลิกชีวิตของแรงงานกลุ่มนี้ ซึ่งจำนวนมากยังคงยึดอาชีพเกษตรกรต่อไป

      

 “ขณะที่ดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้เสียหายจะได้รับเงินทั้งหมดที่ควรจะได้ ดิฉันคิดก็ว่า พวกเขาจะมีความสุขที่ศาลพิพากษาให้พวกเขาชนะคดี” เธอกล่าวทิ้งท้าย

 

      

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์               

23 ธันวาคม 2557



28/Dec/2014

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา