ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

30 ล้านทุกขลาภ! รปภ.ดวงเฮง VS เมีย ไข ก.ม. สรุปใครเป็นเจ้าของ!?

หลังจากที่ ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ ได้นำเสนอเรื่อง ภัยใกล้ชิดมิตรไม่คุ้นหน้า!! รวมทุกขลาภคนดวงเฮง ถูกหวยรวยอื้อเจอรุมทึ้ง ซึ่ง ได้รวบรวมทุกขลาภของคนดวงเฮงที่ถูกลอตเตอรี่รวยแบบทันตาเห็น โดยยังไม่ทันได้ตั้งตัวก็ได้มีญาติสนิทมิตรสหายเข้ามารุมล้อมกันจนเรียกได้ ว่าหัวบันไดบ้านไม่แห้งกันไปแล้วนั้น

 

ล่าสุด ได้มีอีกกรณีหนึ่งเกิดขึ้นมา ซึ่งเป็นข่าวดังมากในปัจจุบัน โดยเรื่องราวมีอยู่ว่า นายธรรมรงค์ หรือยงยุทธ แก้วสวนจิก อายุ 41 ปี ชาวบ้าน ต.หนองบ่อ อ.หนองหาน จ.อุดรธานี พนักงานรักษาความปลอดภัยหนุ่มดวงดี ถูกลอตเตอรี่งวดวันที่ 16 กันยายน 2558 จำนวน 5 ใบ เป็นเงิน 30 ล้านบาท แต่เคลียร์กับภรรยาไม่ลงตัวเรื่องส่วนแบ่งเงินรางวัล เพราะทั้งคู่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส แต่อยู่กินฉันสามีภรรยาจนมีลูกด้วยกัน

 

ก่อนที่ฝ่ายภรรยาจะอุ้มลูกเข้าร้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พร้อมกับขอทวงสิทธิ์เพราะเป็นคนให้เงินสามี 400 บาท เพื่อไปซื้อลอตเตอรี่ ซึ่งทั้งสองฝ่ายยังคงเคลียร์กันไม่ลงตัวว่า แท้จริงแล้วใครเป็นเจ้าของลอตเตอรี่ทั้ง 5 ใบ และเงินรางวัล 30 ล้านบาท จะตกอยู่ที่ใคร วันนี้ ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ มีนักกฎหมายผู้เชี่ยวชาญจากสภาทนายความ อาสามาไขคำตอบให้กระจ่าง...

 

อยู่กินฉันสามี-ภรรยา ไม่จดทะเบียนสมรส รายได้ถือเป็นทรัพย์สินร่วม!

 

นายนิวัติ แก้วล้วน เลขาธิการสภาทนายความ อธิบายข้อกฎหมายให้กับทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ฟังว่า สำหรับเรื่องดังกล่าวจะต้องแยกประเด็นข้อกฎหมายออกเป็นเรื่องๆ โดยถ้าไม่จดทะเบียนสมรส จะเข้าหลักกฎหมาย ‘การทำมาหาได้ร่วมกันจากหุ้นส่วนไม่จดทะเบียน’ ซึ่งหากทั้งคู่อยู่กินกันฉันสามีภรรยา และมีลูกด้วยกัน รวมทั้ง สามีทำงานได้เงิน ภรรยาทำงานได้เงิน และเอาเงินมาใช้ร่วมกันในครอบครัว

 

กระทั่งวันหนึ่งสามีเอาเงินส่วนนี้ไปซื้อลอตเตอรี่ ปรากฏว่าถูกรางวัล หากสามีพิสูจน์ได้ว่า เงินที่ซื้อลอตเตอรี่เป็นเงินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน ตามกฎหมายจะถือว่า เป็นรายได้ที่ได้มาจากการเป็นหุ้นส่วน หรือ ทรัพย์สินร่วม เพราะฉะนั้น ส่วนแบ่งเงินรางวัลต้องแบ่งคนละครึ่ง

 

ขณะที่ ศาลจะพิสูจน์ได้ว่า เงินที่ไปซื้อลอตเตอรี่ไม่ได้เกี่ยวกับภรรยา เป็นเงินของสามีเอง ซึ่งการสู้กันในศาลจะยุ่งยากกว่าการที่เป็นสามีภรรยาโดยจดทะเบียนสมรส เพราะหากมีการจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย เงินที่ได้ส่วนนี้จะถือเป็นสินสมรส เพราะไม่ต้องพิสูจน์อะไร ถือว่าเป็นการทำมาหาได้ร่วมกันระหว่างสมรส

 

สามีสู้ต่อ! ใช้เงินตัวเองซื้อลอตเตอรี่ จะแบ่งหรือไม่ก็ได้

 

เมื่อทีมข่าวฯ ถามต่อว่า สามีโอนเงินรางวัลทั้งหมดเข้าบัญชีของตัวเองผิดหรือไม่ เลขาธิการสภาทนายความ ให้คำตอบว่า “ไม่ได้ผิด เพียงแต่ว่าเมื่อโอนเข้าไปแล้ว ถ้าภรรยาเรียกร้องให้แบ่ง แต่สามีไม่แบ่ง จึงเป็นข้อโต้แย้งที่จะใช้สิทธิ์ทางศาล”

 

ทั้งนี้ ภรรยาสามารถยื่นฟ้องต่อศาลให้แบ่งทรัพย์สินได้ โดยบอกว่าทรัพย์สินดังกล่าวเป็นทรัพย์สินรวมที่เกิดจากการทำมาหาได้ร่วมกัน ระหว่างที่อยู่กินกันฉันสามีภรรยา ให้แบ่งครึ่ง หลังจากนั้นต้องไปพิสูจน์กันต่อว่า ถ้าสามีพิสูจน์ว่าเงินที่ซื้อลอตเตอรี่เป็นเงินของตัวเองไม่เกี่ยวกับภรรยา ฉะนั้น ฝ่ายสามีจะแบ่งหรือไม่แบ่งทรัพย์สินส่วนนั้นให้ภรรยาก็ได้

 

ภรรยา ตอกกลับ! ใช้-จ่ายด้วยกัน เป็นเจ้าของลอตเตอรี่ร่วม

 

กรณีต่อไป ฝ่ายภรรยา ต้องต่อสู้ให้ได้ว่าตั้งแต่อยู่กินด้วยกันมา เมื่อไปทำงานได้เงินมาก็ต้องเอามารวมกันและก็ต้องใช้ร่วมกัน ฉะนั้น เงินที่ไปซื้อลอตเตอรี่อาจจะเป็นรายได้ของสามีหรือรายได้ของภรรยาก็ตาม ถือว่าเป็นทรัพย์สินร่วมกัน

 

คนที่เป็นเจ้าของลอตเตอรี่ก็จะเป็นร่วมกันทั้งสองคน เรียกว่า เป็นทรัพย์สินรวมที่ได้มาระหว่างอยู่กินฉันสามีภรรยา หรือเป็นหุ้นส่วนไม่จดทะเบียน

 

“ไม่ได้มีกฎหมายโดยตรงแต่จะมีคำพิพากษาอยู่หลายเรื่อง เช่น สามีภรรยาอยู่ร่วมกันโดยไม่ได้จดทะเบียนแล้วไปซื้อที่ดินในขณะที่อยู่ร่วม กัน พิสูจน์ได้ว่าเป็นการเอาเงินทั้งสองฝ่ายไปซื้อที่ดิน แต่ใส่ชื่อไว้คนเดียวว่าเป็นฝ่ายสามี ศาลก็วินิจฉัยว่าเป็นทรัพย์สินร่วมกัน” เลขาธิการสภาทนายความ ยกตัวอย่างคำพิพากษาศาล

 

โดย ไทยรัฐออนไลน์ 16 ต.ค. 2558



17/Oct/2015

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา