ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ศาลยุติธรรมสรุปผลงาน ปี58 ทำคดีเสร็จ 1.3 ล้านคดี

เลขาธิการศาลยุติธรรมสรุปผลงานปี58 ศาลชั้นต้นทั่วประเทศทำคดีเสร็จ 1.3 ล้านคดี ไกล่เกลี่ยนับแสนคดี

นายอธิคม อินทุภูติ เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม แถลงสรุปสถิติคดีที่เข้าสู่การพิจารณาศาลชั้นต้นทั่วประเทศว่า ปี 2558 มีคดีรับใหม่ 1,331,060 คดี โดยมีค้างเก่า 184,153 คดี ขณะที่ศาลชั้นต้น สามารถพิจารณาเสร็จสิ้น 1,316,639 คดี ที่คิดเป็นร้อยละ 98.92 ของคดีรับใหม่ 

 

ขณะที่นายสืบพงษ์ ศรีพงษ์กุล โฆษกศาลยุติธรรม กล่าวว่า โดยปี 2558 คดีอาญาที่เข้าสู่การพิจารณาของศาลฎีกา ซึ่งเป็นศาลสูง 5 อันดับแรก ยังเป็นไปตามลำดับเดิมเหมือนปี 2557 อันดับ 1 คือ คดีที่เกี่ยวกับความผิดต่อชีวิต 1,016 คดี 2.คดีเกี่ยวกับอาวุธปืน 946 คดี 3.คดีลหุโทษ 886 คดีซึ่ง 3 อันดับแรกมีปริมาณลงลดจากปี 2557

 

ส่วนอันดับ 4.คือ คดียาเสพติด 553 คดี และ 5.ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ 393 คดี ขณะที่คดียาเสพติดในปี 2557 จะอยู่ที่อันดับ 5 จำนวน 242 คดี ส่วนคดีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ในปี 2557 อยู่อันดับ 4 จำนวน 507 คดีเท่านั้น 

 

โดยคดีแพ่ง ที่เข้าสู่ศาลฎีกา 5 อันดับแรก ได้แก่ 1.เรื่องละเมิด 1,175 คดี 2.เรื่องที่ดิน 676 คดี 3.เรื่องขับไล่ 568 คดี 4.เรื่องประกันภัย 435 คดี และ 5.เรื่องยืม 346 คดี ซึ่งการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นทั้งคดีแพ่ง คดีผู้บริโภค คดีสิ่งแวดล้อม และคดีอาญา ที่เข้าสู่การไกล่เกลี่ยมีทั้งสิ้น 264,845 คดี มีการไกล่เกลี่ยสำเร็จ 196,585 คดี คิดเป็นร้อยละ 74.23 

 

นายสืบพงษ์ ยังกล่าวถึงสถิติคดีค้ามนุษย์ของศาลชั้นต้นด้วยว่า ในปี 2558 มีคดีรับใหม่ 213 คดี ซึ่งมีคดีค้างเก่า 313 คดี โดยศาลพิจารณาเสร็จไป 232 คดี ซึ่งส่วนใหญ่ใช่เวลาพิจารณาไม่เกิน 2 ปี

 

ส่วนคดีความมั่นคงที่เกี่ยวกับ 3 จังหวัดชายแดนใต้ จนถึงวันที่ 30 ก.ย.58 ศาลจังหวัดนราธิวาส มีคดีค้างพิจารณาอยู่ 6 คดี ศาลจังหวัดนาทวี 3 คดี ศาลจังหวัดปัตตานี 16 คดี และศาลจังหวัดยะลา 9 คดี โดยมีศาลเยาวชนนราธิวาสอีก 1 คดี จากสถิติจะเห็นได้ว่าศาลยุติธรรมมีการบริหารจัดการคดีได้รวดเร็วขึ้นเพราะมีการพิจารณาคดีเป็นไปอย่างต่อเนื่อง 

 

ทั้งนี้ นายอธิคม อินทุภูติ เลขาธิการศาลยุติธรรม ยังกล่าวถึงการดำเนินแผนงานของศาลยุติธรรมด้วยว่า ศาลยุติธรรม ได้เสนอให้พิจารณา ร่างพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีเจ้าหน้าที่รัฐทุจริต ที่จะให้มีการพิจารณา 2 ชั้นศาล โดยใช้ระบบไต่สวนเหมือนคดีทุจริตของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ ป.ป.ช.ฟ้อง หรือลักษณะเดียวกับศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเข้ามาใช้

 

ซึ่งคดีเมื่อได้รับการพิจารณาไป 2 ศาลแล้วถือเป็นที่สิ้นสุด หากจะฎีกาต้องได้รับอนุญาตให้ฎีกาก่อน โดยการอุทธรณ์นั้นจะต้องมีตัวจำเลยมารายงานตัวต่อศาลเองด้วย สำหรับอายุความจะนับตั้งแต่จับกุมตัว คือหากมีคดีทุจริตแล้วจะหนี ต้องหนีไปตลอดชีวิต 

 

อย่างไรก็ดี การพิจารณาคดีตาม ร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวนี้ จะเป็นการพิจารณาคดีจำเลยที่เป็นข้าราชการ ส่วนศาลที่รับพิจารณาจะเป็นศาลอาญา และศาลชั้นต้นในภูมิภาคทั่วประเทศ แต่ถ้าหากอุทธรณ์คดี จะต้องอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์กลาง ขณะที่ ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้กำลังอยู่ระหว่างเตรียมพัฒนาให้เป็นศาลพิเศษ 

 

นายอธิคม ยังได้กล่าวถึงร่าง กฎหมายที่จะมีการนำกำไรอิเล็คทรอนิก สวมข้อเท้าเพื่อใช้สำหรับจำเลยที่ได้รับการปล่อยชั่วคราวระหว่างพิจารณาคดี ด้วยว่า ร่างกฎหมายนี้ ผ่านการพิจารณาของ สนช.แล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างรอการประกาศราชกิจจานุเบกษา

 

ส่วนความพร้อมที่จะนำมาใช้ได้จริงนั้น อยู่ระหว่างการศึกษารวบรวมข้อมูลการจัดซื้อเครื่องมือและฐานระบบควบคุม อุปกรณ์อยู่ การที่มีการเสนอให้มีการนำกำไลอิเล็คทรอนิกมาใช้นั้น

 

สิ่งที่เราคำนึงไม่ใช่เรื่องการปล่อยชั่วคราวมากที่สุด แต่เราคำนึงว่าทำอย่างไรให้คนเหล่านี้ไม่สามารถหลบหนีระหว่างประกันตัว ที่นอกเหนือจากหลักทรัพย์ จะเป็นการตอบโจทก์ อย่างบางคนที่สมควรได้รับการปล่อยชั่วคราวแต่ไม่มีทรัพย์มาเป็นหลักประกันก็จะมีการใช้มาตรการนี้มาประกอบ รวมถึงจะเป็นมาตรการป้องกันในการหลบหนีออกนอกประเทศด้วย 

 

เมื่อถามว่าจะมีการนำกฎหมายมาใช้บังคับใช้กับทุกรายที่ได้ปล่อยชั่วคราว หรือคดีนักการเมืองที่ส่วนมากเป็นผู้มีอิทธิพลและมีการหนีออกนอกประเทศก่อน ฟังคำพิพากษาหรือไม่

 

นายอธิคม กล่าวว่า ระบบกำไรนี้ จะนำมาใช้ทุกศาล ส่วนเรื่องการปล่อยชั่วคราวนั้นจะต้องคำนึงถึงหลักสิทธิของจำเลย การปล่อยหรือกำหนดเงื่อนไขใดบ้างจะต้องเงื่อนไขหลายปัจจัยเป็นกรณีไป แต่เบื้องต้นการใช้กำไรอิเล็คทรอนิกนี้ ต้องคำนึงถึงความคุ้มทุนเป็นส่วนประกอบด้วย อย่างคดีที่มีอัตราโทษต่ำก็ไม่จำเป็นต้องใช้ ต้องดูพฤติการณ์ในคดีเป็นส่วนประกอบด้วย 

 

นอกจากนี้ ศาลยุติธรรม ยังได้เสนอให้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดบทการรอการลงโทษด้วย ที่เดิมกำหนดว่าต้องเป็นอัตราโทษไม่เกิน 2-3 ปีถึงจะรอลงอาญาได้ ก็ให้ปรับเป็นถ้าตัดสินโทษไม่เกิน 5 ปีก็มีสิทธิ์ได้รับการพิจารณาให้รอลงอาญา รวมถึงการรอลงอาญาในโทษค่าปรับ

 

เนื่องจากเห็นว่าจะเป็นการแก้ไขปัญหานักโทษล้นเรือนจำโดยให้เป็นดุลยพินิจของศาลที่จะพิจารณาในเรื่องการเยียวยา และให้มีการคิดค่าปรับแทนการกักขังจากวันละ 200 บาทเป็น 400 บาทเพื่อช่วยผู้ต้องโทษกักขังที่ขาดแคลนด้านทุนทรัพย์ ซึ่งกฎหมายดังกล่าวอยู่ระหว่าง สนช.พิจารณา 

 

ทั้งนี้ นายอธิคม ยังได้กล่าวถึงปัญหาคดีค้ามนุษย์ด้วย ว่า การตั้งแผนกคดีค้ามนุษย์ขึ้นมานั้น จะเป็นมาตรการที่จะช่วยให้การพิจารรามีประสิทธิภาพมีผู้พิพากษาเชี่ยวชาญ เฉพาะด้านเข้ามาดูแลทำให้คดีมีการพิจาณาอย่างรวดเร็วมีประสิทภาพและเชื่อว่า จะสร้างความเชื่อมั่นแก่ต่างชาติได้มากขึ้น ซึ่งในสมัยก่อนนั้น คดีค้ามนุษย์จะมีปัญหาในเรื่องการปล่อยชั่วคราวแล้วจำเลยหนีไม่มาฟังคำพิพากษา แต่พอมีการกวดขันออกกฏหมายในเรื่องนี้มาก็มีการกำหนดมาตรการที่จะให้คดีค้ามนุษย์เป็นคดีที่พิจารณาการปล่อยชั่วคราวให้รอบคอบ

 

โดยกำหนดให้คดีมีการนับอายุความหยุดลงหากผู้ต้องหาหรือจำเลยหลบหนี ต่างจากคดีทั่วไปที่จะนับอายุความเมื่อศาลพิพากษาหรือหนีคดีก่อนที่จะมี พิพากษา และการยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาในคดีนี้จะต้องมีตัวจำเลยมาแสดงตัวที่ศาล ทำให้จำเลยต้องคิดหนักหากจะมีการหลบหนี

 

ขณะที่เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ได้กล่าวถึงการแสดงความคิดเห็นตาม รัฐธรรมนูญด้วยว่า รัฐธรรมนูญทุกฉบับให้สิทธิเสรีภาพของประชาชนในการพูดเขียน รับฟัง และสื่อมวลชน เปรียบเสมือนกระจกสะท้อนการทำงานของฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติแม้แต่ฝ่ายตุลาการเองต้องได้รับความคุ้มครอง เป็นประเพณีการปกครอง แต่ไม่มีสิทธิเสรีภาพใดที่ใช้ได้ไม่มีการจำกัด ดังนั้นการจะจำกัดสิทธิสื่อมวลชนเป็นเรื่องของระดับนโยบาย แต่ในส่วนตัวตนเห็นว่าสื่อมวลชนก็พึงไม่ใช้สิทธิเสรีภาพจนเกินเลยหรือไม่ ละเมิดคนอื่นเช่นกัน

 

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2558



02/Dec/2015

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา