ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ด่วน!! กรมการจัดหางานผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวเมียนมา ลาว กัมพูชา ยื่นรายงานตัวเพื่อขอรับบัตรใหม่ ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน - ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๙

กรมการจัดหางานเปิดให้แรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชาที่ถือบัตรอนุญาตทำงานชั่วคราว (บัตรสีชมพู) และอยู่ระหว่างการรอพิสูจน์สัญชาติ ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ อาศัยและทำงานอยู่ในประเทศไทยได้เป็นระยะเวลา ๒ ปี โดยนายจ้างนำแรงงานต่างด้าวหรือแรงงานต่างด้าวมาด้วยตนเองพร้อมใบอนุญาตทำงานบัตรสีชมพูมารายงานตัวตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน – ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๙ เพื่ออนุญาตทำงานใหม่


นายอารักษ์ พรหมณี อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวสัญชาตเมียนมา ลาว และกัมพูชา ที่ถือบัตรอนุญาตทำงานชั่วคราวหรือบัตรสีชมพู และอยู่ระหว่างการขอพิสูจน์สัญชาติจากประเทศต้นทางซึ่งจากเดิมจะครบกำหนดในวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ สามารถอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและทำงานอยู่ในประเทศไทยต่อได้เป็นระยะเวลา ๒ ปี ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๑

 

โดยนายจ้างจะต้องนำแรงงานต่างด้าวหรือแรงงานต่างด้าวมาด้วยตนเองพร้อมใบอนุญาตทำงานชั่วคราวหมดอายุไปตรวจสุขภาพ ทำประกันสุขภาพและมารายงานตัวเพื่อจัดทำทะเบียนประวัติและขออนุญาตทำงาน (บัตรสีชมพู) ใหม่ภายในเวลา ๑๒๐ วัน ระหว่างวันที่ ๑ เมษายน - ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๙ ซึ่งใบอนุญาตทำงานใหม่นี้มีอายุ ๒ ปี

 

โดยแรงงานต่างด้าวในกลุ่มที่สามารถยื่นขอรับบัตรใหม่ ได้แก่

๑. กลุ่มที่จดทะเบียน (บัตรชมพู) ตามนโยบาย คสช. เมื่อปี ๒๕๕๗

๒. กลุ่มที่มีบัตรชมพูซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙

๓. ผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของแรงงานต่างด้าวที่อายุไม่เกิน ๑๘ ปี

๔. กลุ่มที่มีเอกสารที่ใช้แทนหนังสือเดินทางชั่วคราว/เอกสารรับรองบุคคลของประเทศต้นทาง ๓ สัญชาติซึ่งกำลังจะหมดอายุ

ทั้งนี้ยกเว้นไม่รวมแรงงานต่างด้าวกลุ่มที่เข้ามาทำงานในรูปแบบ MOU และที่จดทะเบียนในกิจการประมงทะเล และแปรรูปสัตว์น้ำใน ๒ ระยะที่ผ่านมา


กรมการจัดหางานจึงขอประชาสัมพันธ์ให้นายจ้างนำแรงงานต่างด้าวหรือแรงงานต่างด้าวต้องมารายงานตัวตามวัน เวลาที่กำหนด เนื่องจากระหว่างที่แรงงานต่างด้าวยังไม่มีใบอนุญาตทำงานนายจ้างจะจ้างแรงงานต่างด้าวทำงานไม่ได้ ซึ่งนายจ้างที่ลักลอบจ้างแรงงานต่างด้าวโดยไม่มีใบอนุญาตทำงานจะมีความผิด ตามพระราชบัญญัติการทํางานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ มีความผิดปรับสูงสุดถึง ๑๐๐,๐๐๐ บาทต่อคนต่างด้าวที่จ้างหนึ่งคน

 

ส่วนแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบทํางานโดยไม่ได้รับอนุญาตจะมีความผิดจําคุกไม่เกิน ๕ ปี หรือปรับสูงสุดถึง ๑๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด สำนักจัดหางานกรุงเทพเขตพื้นที่ ๑-๑๐ หรือสายด่วนกรมการจัดหางาน โทร. ๑๖๙๔



04/Mar/2016

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา