ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

คดีตัวอย่าง! ศาลสั่งผู้ขาย-ผลิต รับคืนรถมีปัญหาจากผู้ซื้อ

จากกรณีนางนุชนารถ ราชภุชงค์ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง และนายนนท์ชัย ราชภุชงค์ สามี ได้ยื่นฟ้องบริษัทผู้จำหน่ายรถยนต์ยี่ห้อดังแห่งหนึ่งของนครศรีธรรมราช ซึ่งตั้งอยู่ย่านถนนพัฒนาการคูขวาง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จ.นครศรีธรรมราช

 

และได้เข้าเรียกร้องกับบริษัทขอคืนรถยนต์กระบะตอนเดียว ที่ซื้อด้วยเงินดาวน์ กว่า 1 แสนบาท และได้นำรถยนต์คันนี้ไปประท้วง ขอคืนรถและเรียกเงินดาวน์คืน ที่หน้าบริษัทเมื่อกว่า 1 ปีที่ผ่านมา

 

ขณะที่บริษัทผู้จำหน่ายรับเพียงซ่อมแซมให้เท่านั้น โดยปฏิเสธที่จะรับคืนรถและคืนเงินดาวน์ หลังจากนั้นผู้ซื้อได้ยื่นฟ้องบริษัทผู้จำหน่ายรถยนต์ บริษัทผู้ผลิต และบริษัทไฟแนนซ์ผู้ถือกรรมสิทธิ์ให้นางนุชนารถ เช่าซื้อ

 

ต่อมาศาลชั้นต้นได้พิจารณายกฟ้อง ขณะที่นางนุชนารถได้ยื่นอุทธรณ์ และขอถอนฟ้องจำเลยที่ 3 คือบริษัทไฟแนนซ์ที่ให้เช่าซื้อเนื่องจากเห็นว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง มีสถานะเป็นเพียงบริษัทผู้ให้เช่าซื้อ ที่รับโอนกรรมสิทธิ์มาจากบริษัทผู้จัดจำหน่าย

 

ล่าสุดผู้สื่อข่าวรายงานว่า (26 มี.ค.) ศาลอุทธรณ์ภาค 8 แผนกคดีผู้บริโภค ได้รับอุทธรณ์ และพิจารณาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยสาระสำคัญของคำพิพากษา สรุปความได้ว่า ที่จำเลยที่ 1 (ตัวแทนจำหน่าย) และที่ 2 (บริษัทผู้ผลิต) โฆษณาไว้จึงเป็นการชำรุดบกพร่อง ที่เสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์ของโจทย์ในอันมุ่งจะใช้เป็นปกติ

 

โจทย์จึงชอบที่จะบอกเลิกสัญญาโดยคืนรถยนต์แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยหาจำต้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 เปลี่ยนชิ้นส่วนบกพร่องนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 472

 

"พิพากษากลับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันรับคืนรถยนต์คันพิพาทจากโจทก์ และร่วมกันชำระเงิน 191,868 บาท แก่โจทย์ พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องคดี เป็นต้นไปจนกว่าชำระเสร็จแก่โจทย์ และร่วมกันชำระเงินค่าเช่าซื้อที่โจทย์ชำระแก่จำเลยที่ 3 ไปโดยหักเป็นค่าใช้ทรัพย์เดือนละ 5 พันบาท นับแต่วันทำสัญญาเช่าซื้อไป จนกว่าโจทก์จะส่งมอบรถยนต์แก่จำเลยที่ 1 หรือที่ 2

 

และให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันชำระค่าเช่าซื้อที่เหลือแก่จำเลยที่ 3 ในนามโจทก์ กับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันชำระค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาล ที่ได้รับการยกเว้นทั้งหมดในนามโจทย์ มาวางต่อศาลและชำระค่าทนายความรวม 8 พันบาท"

 

สำหรับกรณีดังกล่าว สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 6 พ.ย.57 หลังจาก นายนนท์ชัย ราชภุชงค์ นำรถยนต์กระบะตอนครึ่ง ที่ซื้อมาเพียง 3 เดือน และส่งซ่อมแล้วถึง 3 ครั้ง แต่ทางศูนย์แก้ปัญหาให้ไม่ได้ จึงนำมาจอดหน้าศูนย์บริการของบริษัทรถยนต์แห่งหนึ่ง ใน จ.นครศรีธรรมราช เป็นรถยนต์กระบะเครื่องยนต์เบนซิน ติดตั้งระบบแก๊สเอ็นจีวีจากโรงงานผู้ผลิต

 

หลังประสบปัญหาใช้ระบบแก๊สไม่ได้ บางครั้งทั้งระบบแก๊ส และน้ำมันทำงานพร้อมกัน และเข้าเกียร์ถอยหลังไม่ได้ จึงมาเจรจากับบริษัท จนในที่สุดได้ยื่นฟ้องศาลและศาลอุทธรณ์ได้พิพากษา ให้บริษัทผู้จำหน่ายและผู้ผลิตรับคืนรถยนต์คันนี้

 

Sanook! News 27 มีนาคม 2559



27/Mar/2016

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา