ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ค่าปรับแทนกักขัง 500 บาท/วัน บังคับใช้แล้วเมื่อวันที่ 8 เม.ย.

โฆษกศาลยุติธรรมเผยรายละเอียด พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 25) พ.ศ.2559 เพิ่มอัตราค่าปรับแทนการกักขังจากวันละ 200 บาท เป็น 500 บาท กักขังได้ สูงสุด 2 ปี ให้มีผลย้อนหลังถึงผู้ต้องโทษที่กำลังถูกกักขังด้วย เริ่มบังคับใช้แล้วเมื่อวันที่ 8 เม.ย. 2559 ที่ผ่านมา  
 
9 เม.ย. 2559 สำนักข่าวไทย รายงานว่านายสืบพงษ์ ศรีพงษ์กุล โฆษกศาลยุติธรรม เปิดเผยรายละเอียด พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 25) พ.ศ.2559 ที่ได้ประกาศลงราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ 7 เม.ย. 2559  และมีผลบังคับใช้ในวันที่ 8 เม.ย. 2559 ที่ผ่านมาว่า
 
กฎหมายดังกล่าวสาระสำคัญ  คือ มีการแก้ไขอัตราเงินในการกักขัง แทนค่าปรับจาก 200 บาท/วัน เป็น 500 บาท/วัน และห้ามกักขังเกินกำหนด 1 ปี เว้นแต่ในกรณีที่ศาลพิพากษาให้ปรับตั้งแต่ 200,000 บาทขึ้นไป จะสั่งกักขังแทนค่าปรับเกินกว่า 1 ปีได้ แต่ไม่เกิน 2 ปี
 
นายสืบพงศ์ กล่าวว่านอกจากนี้ประเด็นสำคัญในบทเฉพาะกาลมาตรา 10 กำหนดให้นำหลักเกณฑ์ดังกล่าวไปใช้บังคับแก่ผู้ที่ถูกกักขังแทนค่าปรับอยู่ในวันที่กฎหมายนี้บังคับใช้ด้วย และเมื่อคำนวณระยะเวลาการกักขังแทนค่าปรับตามอัตราใหม่แล้ว ปรากฏว่าผู้นั้นถูกกักขังมาเกินกำหนด 1 ปีแล้ว ให้ปล่อยตัวทันที ดังนั้น ในวันที่ 8 เม.ย. 2559 นี้ ศาลชั้นต้น ต้องนำหมายกักขังแทนค่าปรับที่ออกไว้ก่อนวันดังกล่าว ซึ่งผู้ต้องโทษยังถูกกักขังอยู่ มาคำนวณหาจำนวนวันที่ผู้ต้องโทษจะต้องถูกกักขังแทนค่าปรับ โดยใช้อัตราใหม่ คือ 500 บาท/วัน
 
ผลลัพธ์ที่ได้ คือ จำนวนวันทั้งหมดที่ผู้ต้องโทษจะต้องถูกกักขัง และเมื่อนับถึงวันที่ 8 เม.ย. 2559 ผู้ต้องโทษรายใดถูกกักขังมาแล้วเกินกว่าหรือครบจำนวนวันที่คำนวณได้แล้ว ก็ต้องออกหมายปล่อยผู้นั้นทันที
 
นายสืบพงศ์ กล่าวว่าสำหรับรายได้ที่ยังกักขังไม่ครบก็ต้องออกหมายกักขังใหม่ โดยแก้ไขจำนวนวันที่ต้องกักขัง ให้ตรงกับที่คำนวณได้ใหม่ และในกรณีที่ศาลพิพากษาไม่ถึง 200,000 บาท หากผู้ต้องโทษถูกกักขังมาเกินกำหนด 1 ปีแล้ว ต้องปล่อยตัวไปทันที ดังนั้นโดยสรุปบทเฉพาะกาลมาตรา 10 มีผลย้อนหลังในทางที่เป็นคุณแก่ผู้ต้องโทษที่ถูกกักขังแทนค่าปรับอยู่ในวัน ที่กฎหมายนี้ใช้บังคับโดยระยะเวลาที่ผู้นั้นถูกกักขังผ่านมาแล้วจะต้องคิด คำนวณหักค่าปรับในอัตรา 500 บาท/วันด้วย
 
 
ประชาไท 9 เมษายน 2559


10/Apr/2016

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา