ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

คนไทยชนะคดีละเมิดสิทธิบัตร “SIRI” Apple จ่ายเต็ม 25 ล้านดอลล่าร์

เรียกได้ว่าเป็นที่ฮือฮากันไม่น้อย กับข่าวที่ทาง Apple ได้มีการละเมิดสิทธิบัตรที่เป็นที่มาของ Siri ซึ่งผู้ที่ฟ้องคือบริษัทหนึ่งในเมืองดัลลัส สหรัฐอเมริกา ชื่อ Dynamic Advances ได้ทำการฟ้องทาง Apple ในข้อหาละเมิดสิทธิบัตรตัวนี้ ที่สำคัญ 1 ในเจ้าของสิทธิบัตรนี้เป็น 1 ในอาจารย์มหาวิทยาลัยของไทยด้วย !! ซึ่งสิทธิบัตรที่เป็นที่มาของโปรแกรม Siri นั้นคือ NATURAL LANGUAGE INTERFACE USING CONSTRAINED INTERMEDIATE DICTIONARY OF RESULTS หรือระบบที่สามารถตอบคำถามได้ โดยใช้วิธีการซับซ้อนในการสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลนั่นเอง (โปรแกรม SIRI ชัด ๆ )

 

สิทธิบัตรตัวนี้ถูกจดขึ้นมาเมื่อปี ค.ศ. 2007 โดย Professor Cheng Hsu อาจารย์มหาวิทยาลัย Rensselaer Polytechnic Institute (RPI) ที่ New York และนักศึกษาปริญญาเอกของเขาในขณะนั้นคือ วีระ บุญจริง (Veera Boonjing) ซึ่งปัจจุบันคือ รศ.ดร.วีระ บุญจริง แห่งสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

 

ซึ่งคดีนี้ได้มีการฟ้องร้องกันมาแล้วประมาณ 4 ปี (เรียกได้ว่าตั้งแต่ยุคแรกที่ SIRI เกิดมาเลยก็ว่าได้) และกำลังจะขึ้นสู่การพิจารณาของศาลในนิวยอร์กในเดือนมิถุนายน 2559 นี้ แต่แล้วทาง Apple ก็ขอเป็นฝ่ายเจรจายอมความด้วยตัวเอง ซึ่งเงื่อนไขคือ ทางแอปเปิ้ลจะขอจ่ายเงินงวดแรกเป็นจำนวน 5 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ และอีกประมาณ 20 ล้านดอลล่าร์สหรัฐจะจ่ายเมื่อเงื่อนไขอื่น ๆ ได้ตกลงกันเรียบร้อยแล้ว

 

ที่มา: arstechnica | Facebook / เวบแบไต๋ 13 พฤษภาคม 2559



28/May/2016

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา