ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม(สปส.) แจงหลังกฤษฎีกามีคำวินิจฉัย กรณีลูกจ้างที่เข้าโครงการสมัครใจลาออกให้ถือเป็นการเลิกจ้างรับสิทธิเต็ม

(9ก.ค.59) นายโกวิท สัจจวิเศษ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม(สปส.) กระทรวงแรงงาน กล่าวกับนักข่าว matichonoonilne ถึงกรณีเกิดคำถามในสังคมออนไลน์มีการเผยแพร่คำวินิจฉัยของ คณะกรรมการกฤษฎีกา ถึงกรณีลูกจ้างที่เข้าร่วมโครงการสมัครใจลาออกหรือเกษียณก่อนกำหนด (เออร์ลี่รีไทร์) จะได้รับสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานเพราะเหตุการณ์เลิกจ้างไม่ใช่เป็นการลาออก ว่า คำวินิจฉัยดังกล่าวมีขึ้นเมื่อประมาณ 5 – 6 ปีก่อน ช่วงที่นายปั้น วรรณพินิจ เป็นเลขาธิการสปส. ส่วนตนขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการกองนิติการ เนื่องมาจากความเห็นที่ไม่ตรงกันระหว่างหน่วยงานภายในของสปส.เอง โดยกองนิติการเห็นว่า

 

กรณีลูกจ้างเข้าโครงการสมัครใจลาออกควรถือเป็นการเลิกจ้าง ขณะที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติมองว่าเป็นการลาออกเอง ดังนั้น กองนิติการจึงยื่นเรื่องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความเพื่อให้ประเด็นนี้ได้ ข้อยุติและปฏิบัติให้ตรงกัน เมื่อคณะกรรมการกฤษฎีกามีคำวินิจฉัยออกมาว่า กรณีลูกจ้างที่เข้าโครงการสมัครใจลาออกให้ถือเป็นการเลิกจ้างเพราะไม่ใช่ เป็นลาออกเองของลูกจ้างตามปกติ เพราะเป็นโครงการที่สถานประกอบการจัดขึ้นโดยมีการจ่ายเงินชดเชยตามอายุงาน ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า และอำนาจการตัดสินใจให้ลูกจ้างเข้าร่วมโครงการอยู่ที่สถานประกอบการไม่ได้ อยู่ที่ตัวลูกจ้าง ทำให้ประเด็นนี้ได้ข้อยุติโดยทุกฝ่ายทั้งสปส. นายจ้างและลูกจ้างต่างยอมรับและเข้าใจตรงกัน

 

นายโกวิท กล่าวด้วยว่า ดังนั้นสปส.จึงยึดการปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกามาโดยตลอด โดยสปส.จะจ่ายเงินสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานให้แก่ลูกจ้างที่เข้าโครงการ สมัครใจลาออกหรือเกษียณก่อนกำหนด โดยให้ถือเป็นกรณีถูกเลิกจ้าง โดยจะได้รับเงินชดเชยกรณีว่างงานร้อยละ 50 ของค่าจ้าง เป็นเวลา 6 เดือน ทั้งนี้ กรณีของหนักงานรับเหมาค่าแรง(ซับคอนแทรค)ของบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด(มหาชน) ที่เข้าร่วมโครงการจากกันด้วยใจก็เข้าข่ายดังกล่าวด้วย



17/Jul/2016

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา