ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

มีผลแล้ว! ผู้ประกันตนรับสิทธิทำฟัน ‘อุด-ถอน-ขูดหินปูน’ เบิกได้ 900 บ.ต่อปี มติชน 2 ตค. 59

เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า เมื่อวันที่ 28 กันยายนที่ผ่านมา ประธานคณะกรรมการการแพทย์ของ สปส.ได้ลงนามในประกาศคณะกรรมการการแพทย์โดยยกเลิกบัญชีประกาศแนบท้ายหลักเกณฑ์สิทธิการรักษาทันตกรรมผู้ประกันตนของ สปส.ภายใต้วงเงินคนละ 900 บาทต่อปีแล้ว หลังจากนี้ผู้ประกันตนที่ไปใช้บริการทันตกรรมในสถานพยาบาลรัฐและเอกชนทั่วไป ก็สามารถไปใช้บริการทันตกรรมได้ แต่ต้องสำรองจ่ายเงินไปก่อนและผู้ประกันตนมายื่นเรื่องเบิกเงินกับ สปส.ภายหลัง แต่ไม่เกินคนละ 900 บาทต่อปี โดยสามารถยื่นเบิกได้ในครั้งเดียวหรือจะยื่นหลายครั้งก็ได้

 

เลขาธิการ สปส.กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกันโครงการนำร่องทำฟันโดยไม่ต้องสำรองจ่ายไปก่อนใน 30 หน่วยบริการ ก็ได้เริ่มดำเนินการแล้วตั้งแต่วันที่ 28 กันยายนที่ผ่านมา ซึ่งผู้ประกันตนที่ใช้บริการทันตกรรมในสถานพยาบาลรัฐและเอกชนในโครงการนำร่องไม่ต้องสำรองจ่ายเงินไปก่อน ทั้งนี้ ให้สถานพยาบาลรัฐและเอกชนในโครงการนำร่องมาเรียกเก็บเงินจาก สปส.โดยตรง ซึ่งมีเกณฑ์กำหนดอัตราเบิกจ่ายตามจริง แต่ไม่เกินคนละ 900 บาทต่อปี ซึ่งในส่วนของสถานพยาบาลรัฐจะยึดตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข ขณะที่สถานพยาบาลเอกชนก็จะให้แจ้งอัตราค่าบริการทันตกรรมต่างๆ ทั้งอุดฟัน ถอนฟัน ขูดหินปูน มายัง สปส. เพื่อจะได้แจ้งผู้ประกันตนให้ทราบ

IMG_2499

นพ.สุรเดชกล่าวด้วยว่า โครงการนำร่องทำฟันฯดำเนินการใน 30 หน่วยบริการ ใน 19 จังหวัด ได้แก่ กทม. สมุทรปราการ ปทุมธานี อ่างทอง ร้อยเอ็ด เชียงใหม่ ชัยภูมิ สุพรรณบุรี สมุทรสงคราม ชุมพร พังงา สตูล จันทบุรี บึงกาฬ มุกดาหาร ยโสธร แพร่ อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี โดยมีสถานพยาบาลรัฐและเอกชนที่ทำสัญญาเข้าร่วมโครงการกับ สปส. 78 แห่ง ทั้งนี้ ระยะ 3 เดือนตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงธันวาคมนี้ จะประเมินผลการดำเนินการโดยดูถึงจำนวนผู้ใช้บริการ ปัญหาและข้อร้องเรียนต่างๆ เพื่อวางแนวทางแก้ไขก่อนที่จะขยายผลโครงการนำร่องฯให้ครอบคลุมทั่วประเทศในปีหน้า



02/Oct/2016

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา