ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

อธิบดีกรมราชทัณฑ์คาด นักโทษ 1 แสนราย เข้าเกณฑ์ตาม พ.ร.ฎ.อภัยโทษ คดี ม.112 ลดวันต้องโทษ

เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เปิดเผยว่า ภายหลังมีพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ เนื่องในโอกาสแรกนับแต่ขึ้นทรงราชย์สืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ.2559 ได้มอบหมายกรมราชทัณฑ์ ดำเนินการตามขั้นตอนการปล่อยตัวผู้ต้องขัง ที่เข้าหลักเกณฑ์ตามพระราชกฤษฎีกา พระราชทานอภัยโทษ ว่าได้สั่งการให้นายกอบเกียรติ กสิวิวัฒน์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ทำหนังสือแจ้งไปเรือนจำทุกแห่ง เพื่อให้แต่ละเรือนจำคัดกรองและตรวจสอบผู้ต้องขัง ก่อนจะนำเสนอศาลในพื้นที่ เพื่อให้ศาลพิจารณาออกหมายปล่อยต่อไป อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ตนยังไม่สามารถระบุได้ว่าในครั้งนี้จะมีผู้ต้องขังที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณได้รับพระราชทานอภัยโทษตาม พ.ร.ฎ.นี้กี่รายเนื่องจากต้องรอการตรวจสอบรายชื่อผู้ต้องขังจากทางเรือนจำก่อน

 

นายชาญเชาวน์ กล่าวด้วยว่า ได้เน้นย้ำให้ผู้บัญชาการเรือนจำทุกแห่งได้แจ้งเรื่องบริการให้กับผู้ต้อง ขังที่ได้รับการปล่อยตัวพ้นเรือนจำได้ทราบด้วย เนื่องจากจะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันทำงานแบบบูรณาการตามมติ ครม. ในการช่วยเหลือผู้ต้องขังที่ได้รับการปล่อยตัวคอยให้บริการ เช่น กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงแรงงาน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จึงอยากให้ผู้ต้องขังกลุ่มนี้ไปขอรับบริการได้ยังหน่วยงานดังกล่าว ซึ่งจะคอยให้คำปรึกษาทั้งในเรื่องการจัดหาอาชีพและสุขภาพ ทั้งนี้กรณีถ้าผู้ต้องขังรายนั้นๆ ได้รับการปล่อยตัวพ้นเรือนจำ หรือหมายลดวันต้องโทษ ซึ่งเป็นกรณีไป ยืนยันว่าผู้ต้องขังที่ได้รับการอภัยโทษในครั้งนี้ต้องเป็นผู้ต้องขังที่ อยู่ในชั้นดี ชั้นดีมาก และชั้นเยี่ยม ซึ่งเป็นกระบวนการพิจารณาและการคิดมาชั้นหนึ่งแล้ว หากเรือนจำไหนพร้อมก็สามารถปล่อยตัวทันที โดยจะไม่มีการปล่อยเป็นรอบเหมือนครั้งที่ผ่านมา

 

ด้านนายกอบเกียรติกล่าวว่า เบื้องต้นคาดว่าผู้ต้องขังประมาณ 1 แสนรายจากเรือนจำทั่วประเทศ จะได้รับสิทธิตามพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษครั้งนี้ ซึ่งหมายถึงการปล่อยตัวและลดวันต้องโทษ ซึ่งกลุ่มที่จะได้รับการปล่อยตัวพ้นเรือนจำ คาดว่าประมาณ 30,000 ราย โดยรวมถึงกลุ่มที่ลดวันต้องโทษ และครบเงื่อนไขการปล่อยตัวเหมือนครั้งที่ผ่านๆมา สำหรับกลุ่มคดีความผิดตาม ม.112 จะได้รับการลดวันต้องโทษ

 

รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับผู้ต้องขังที่เข้าข่ายที่ได้รับสิทธิตามหลักเกณฑ์พระราชกฤษฎีกาพระราช ทานอภัยโทษ จะมีทั้งสิ้นประมาณ 1 แสนราย จากเรือนจำทั่วประเทศ เป็นผู้ต้องขังตั้งแต่ชั้นดี – ชั้นเยี่ยม ลดวันต้องโทษ ตามชั้นนักโทษ ส่วนผู้ต้องขังที่ได้รับการปล่อยตัวจะเป็นกลุ่ม ไปตามมาตรา 5 คือ ผู้ต้องกักขัง ผู้ทํางานบริการสังคมหรือทํางานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับ และผู้ได้รับการปล่อยตัวคุมประพฤติ นอกจากนี้ยังมีผู้ต้องขังที่ได้รับการลดวันต้องโทษ ตามมาตรา 7 ซึ่งผู้ต้องขังความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา 112 จะได้รับการลดวันต้องโทษ ตามพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษฉบับนี้ด้วย ซึ่งกำหนดให้ผู้ต้องขังชั้นดี – ชั้นเยี่ยม ได้ลดวันต้องโทษ ตามลำดับชั้น ซึ่งชั้นเยี่ยมจะได้ลดวันต้องโทษครึ่งหนึ่ง หรือ 1 ใน 2 ในโทษที่เหลืออยู่ ส่วนชั้นดีมากได้ลดวันต้องโทษ 1 ใน 3 ชั้นดี ได้ 1 ใน 4

 

คลิกอ่านรายละเอียดทั้งหมดที่นี่

 

ที่มา มติชนออนไลน์



11/Dec/2016

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา