ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

จบคดีพิพาทระหว่าง “สตาร์บัคส์” กาแฟยี่ห้อดังระดับโลก กับ “สตาร์บัง” กาแฟรถเข็นริมถนนพระอาทิตย์

เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2556 ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ได้นัดไต่สวน คำร้องหมายเลข คค.1/2556 ที่บริษัทสตาร์บัคส์ คอร์ปอเรชั่น ผู้ประกอบการร้านกาแฟยี่ห้อสตาร์บัคส์ ขอให้ศาลออกหมายจับกุมและกักขังนายดำรงค์ มัสแหละ หรือบัง และนายดำรัส มัสแหละ สองพี่น้องเจ้าของร้านกาแฟรถเข็นสตาร์บัง จำเลยที่ 1-2 เนื่องจากเห็นว่าทั้งสองยังไม่ปฏิบัติตามคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิจารณาคดี ที่สตาร์บัคส์ฯ ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองในคดีอาญาของศาลที่ห้ามไม่ให้ใช้เครื่องหมายการค้าเลียนแบบ หลังพบว่าจำเลยยังใช้เครื่องหมายดังกล่าวอยู่

 

โดยร้านนี้เป็นร้านที่เกิดกรณีฟ้องร้องจากบริษัทสตาร์บัคส์ คอร์ปอเรชั่น เจ้าของร้านกาแฟ สตาร์บัคส์ ดำเนินคดีฟ้องในข้อหาเลียนแบบเครื่องหมายการค้าซึ่งผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ม.109,110

 

ซึ่งในวันนี้หลังจากศาลเรียกให้ไปไกล่เกลี่ยอีกครั้ง นายดำรงค์ มัสแหละ ก็ยอมเปลี่ยนป้ายโลโก้พร้อมชื่อใหม่เป็น "น้ำตาบัง (BUNG'S TEARS)"

 

ทั้งนี้ตามข้อกำหนดของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้า ระหว่างประเทศ พ.ศ.2540 ข้อ 14 วรรคแรก กำหนดว่าให้คำสั่งอนุญาตคุ้มครองชั่วคราวที่ศาลออกให้มีผลโดยทันที ซึ่งคดีนี้ศาลมีคำสั่งห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าเลียนตั้งแต่วันที่ 12 ก.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งจำเลยต้องปฏิบัติตามคำสั่ง

 

ด้านตัวแทนประชาสัมพันธ์สตาร์บัคส์ได้ส่งคำชี้แจงผ่านสื่อมวลชนโดยระบุว่า สตาร์บัคส์ให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิในเครื่องหมายการค้าและมีความจำเป็น ที่ต้องดำเนินการตามความเหมาะสม หากมีผู้ใดละเมิดเครื่องหมายการค้าของเรา เพื่อปกป้องลูกค้าและความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับชื่อเสียงและแบรนด์ของเรา รวมถึงลักษณะบ่งเฉพาะที่เป็นเอกลักษณ์ในเครื่องหมายการค้าของสตาร์บัคส์

 

ทั้งนี้ประเด็นลิขสิทธิ์ยังคงเป็นที่ถกเถียงในระดับนานาชาติ สิ่งที่สตาร์บังกระทำนั้นถือเป็นความผิดหรือไม่ ???

 

หากอ้างอิงจาก “คู่มือการใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม” ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา มีการระบุไว้ว่า “พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ได้ให้ความคุ้มครองแก่งานลิขสิทธิ์ โดยกำหนดให้เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการแสวงหาประโยชน์จากงานสร้างสรรค์ทางสติปัญญาของคน เพื่อเป็นการตอบแทนความคิดสร้างสรรค์ของเจ้าของลิขสิทธิ์ และก่อให้เกิดแรงจูงใจในการสร้างสรรค์งานใหม่ๆ ต่อไป ขณะเดียวกันกฎหมายก็ต้องการให้สังคมได้ใช้ประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์นั้นๆ ด้วย”


       
ลิขสิทธิ์จึงเกิดขึ้นเพื่อเครื่องมือในการปกป้องผลประโยชน์ของผู้คิดค้นสิ่งนั้น แต่ในอีกมุมการบังคับใช้ก็ควรเป็นไปในลักษณะที่สังคมยังคงได้ใช้ประโยชน์จากลิขสิทธิ์นั้นด้วย เพราะลิขสิทธิ์เกิดขึ้นเพื่อทำให้เกิดแรงจูงใจในการพัฒนานวัตกรรมไม่ใช่เพื่อการครอบครอง และจำกัดสิทธิผู้อื่น
              
เมื่อมาถึงกรณีของสตาร์บังที่ทำเพื่อการพาณิชย์ ซึ่งผิดตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าไว้ดังนี้

 

“บทลงโทษในการเลียนแบบเครื่องหมายการค้า มาตรา 109 บุคคลใดเลียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายร่วมของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายร่วมของบุคคลอื่นนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"
 

ในมุมของสตาร์บัคส์การดำเนินการด้านโลโก้สินค้าเป็นมาตรฐานที่ดำเนินการในหลายประเทศทั่วโลก โดยมีทั้งที่ชนะ และแพ้คดีแตกต่างกันไป โดยมีกรณีที่ประสบความสำเร็จในปี 2006 สตาร์บัคส์ชนะคดี Xingbake ซึ่งเป็นร้านกาแฟขนาดใหญ่ในประเทศจีน ขณะที่ในปี 2005 สตาร์บัคส์แพ้คดีให้แก่ Starpreya ซึ่งเป็นเพียงร้านกาแฟขนาดเล็กในประเทศเกาหลีใต้
       


ทั้งนี้แบรนด์ระดับโลกอื่นอย่าง McDonald ก็มีการฟ้องและแพ้คดีให้แก่ McCurry ในมาเลเซีย ซึ่งโดยทั่วไปแล้วสิ่งที่เกิดขึ้นนี้หากเป็นกรณีที่บริษัทใหญ่ฟ้องร้องเอาเงินจากผู้ประกอบขนาดเล็กก็มักจะถูกมองว่าเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรมนัก โดยประเด็นการล้อเลียน หรือที่เรียกกันว่า parody logo ของสตาร์บัคส์นั้นมีเกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก

 

รู้จัก “สตาร์บัง”

  • ที่มาของชื่อ “สตาร์บัง” มาจากที่บังเริ่มขายกาแฟอยู่บริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แล้วมีนักศึกษากลุ่มหนึ่งตั้งชื่อ และเรียกบังว่า สตาร์บัง จนกลายเป็นชื่อที่ติดตัว และใช้มาจนถึงปัจจุบัน
  • ที่มาของโลโก้สตาร์บัง หลังจากที่บังย้ายมาขายย่านถนนพระอาทิตย์ ก็มีผู้หวังดีทำงานด้านออกแบบได้ลงมือออกแบบโลโก้ให้โลโก้สตาร์บัง
  • เริ่มใช้เมื่อ 10 มกราคม 2554 ซึ่งเป็นวันเกิดของบัง
  • สตาร์บัง ถูกยื่นโนติสจากสตาร์บัคส์ ให้เปลี่ยนโลโก้ในวันที่ 18 กันยายนปี 2555 บังก็ได้ทำการเปลี่ยนให้เส้นรอบโลโก้เป็นสีน้ำเงิน และเพิ่มเดือนเข้าไปในสัญลักษณ์ดาว แต่ก็ถูกยื่นโนติสอีกครั้ง จนท้ายที่สุดก็มีการฟ้องร้องเกิดขึ้น
  • เมนูที่ขายดีที่สุดของร้านคือ กาแฟ ซึ่งใช้กาแฟจากจังหวัดกระบี่

 

สรุปจากข่าวมติชน ข่าวสด ผู้จัดการ วันที่ 4 และ 22 พฤศจิกายน 2556



25/Nov/2013

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา