ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

รู้ยัง? กทม.ประกาศส่งหลักฐานขับขี่-จอดรถบน “ทางเท้า” ได้ส่วนแบ่งค่าปรับ 50% - มติชนออนไลน์ 16 เมษายน 2560

เมื่อวันที่ 16 เมษายน นายณัฐนันท์ กัลยาศิริ รองโฆษกกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประชาชนผู้ใดพบผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 มาตรา 17 ห้ามมิให้ผู้ใด (2) จอด หรือ ขับขี่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือล้อเลื่อน บนทางเท้า เว้นแต่เป็นการจอดหรือขับขี่เพื่อเข้าไปในอาคารหรือมีประกาศของเจ้าพนักงานจราจรผ่อนผันให้จอดหรือขับขี่ได้และมีบทกำหนดโทษอยู่ในมาตรา 56 ที่ว่า

 

ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 17 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท สามารถส่งเบาะแสไปยังเจ้าหน้าที่เทศกิจในเขตท้องที่นั้นๆ หรือผ่านทางศูนย์รับเรื่องร้องเรียน กทม.1555 ได้ทันที โดยใช้หลักฐาน อาทิ รูป หรือ คลิปวีดีโอที่มองเห็นเลขทะเบียนรถชัดเจน เพื่อใช้เป็นหลักฐาน และหากเป็นมอเตอร์ไซด์รับจ้าง ต้องเห็นหมายเลขเสื้อและวินที่สังกัด เพื่อนำไปเป็นหลักฐานให้เจ้าหน้าที่ นำไปสู่การจับกุมผู้กระทำความผิดเพื่อเปรียบเทียบปรับได้ ซึ่งเมื่อมีการเปรียบเทียบปรับผู้กระทำผิดแล้ว เขตจะทำหนังสือไปยังประชาชนที่แจ้งข้อมูลดังกล่าวเข้ามาเพื่อรับค่านำจับจำนวนครึ่งหนึ่งของค่าปรับต่อไปตามมาตรา 48 วรรคสาม

 

“ที่ผ่านมา ประชาชนอาจยังไม่ทราบว่า หากแจ้งเจ้าหน้าที่พร้อมกับมีหลักฐานที่ชัดเจน เพื่อนำไปสู่กับจับกุมผู้กระทำความผิดนั้นจะได้รับค่านำจับด้วยครึ่งหนึ่ง จึงเป็นลักษณะของการร้องเรียนโดยไม่ได้มีหลักฐานเป็นส่วนใหญ่ จึงไม่ได้รับค่านำจับ และในส่วนของค่าปรับนั้นต้องเข้าใจว่า ไม่ใช่จับครั้งแรกแล้วปรับ 5,000 บาททันที แต่จะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่เทศกิจ ซึ่งเจ้าหน้าที่จะมีการบันทึกประวัติผู้กระทำผิดไว้ หากทำผิดครั้งแรกอาจจะปรับ 1,000 บาท ครั้งที่ 2 ปรับ 2,000 บาท ครั้งที่ 3 อาจเพิ่มเป็น 5,000 บาท เป็นต้น” นายณัฐนันท์ กล่าว



17/Apr/2017

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา