ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

อัพเดท ! สิทธิประกันสังคมสำหรับสายฟรีแลนซ์ ทำงานอิสระก็ไม่ต้องห่วง

          ข่าวดีสำหรับผู้ที่เป็น Freelance หรือประกอบอาชีพอิสระทั้งหลาย ไม่มีนายจ้างประจำ รวมไปถึงพ่อค้า แม่ค้า หาบเร่แผงลอย รับจ้างทั่วไป เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2560 คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบให้มีการเพิ่มและขยายสิทธิประโยชน์ "ประกันสังคมมาตรา 40" เรียกว่า หากใครที่อยู่ในระบบประกันสังคมมาตรานี้อยู่แล้ว ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม ก็ได้สิทธิประโยชน์มากขึ้น หรือหากใครกำลังจะสมัคร ก็มีทางเลือกให้พิจารณาเพิ่มขึ้นอีกด้วย

          ประกันสังคมมาตรา 40 เป็นสวัสดิการที่ภาครัฐต้องการให้ผู้ที่ไม่ได้เป็นมนุษย์เงินเดือน ได้มีสวัสดิการคุ้มครองตัวเอง โดยผู้ที่จะเข้าระบบประกันสังคมมาตรา 40 ตอนนี้ สามารถเลือกได้ถึง 3 ทางเลือก จากเดิมที่มีเพียง 2 ทางเลือก ดังนี้

ทางเลือกที่ 1 จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน (ผู้ประกันตนจ่ายเอง 70 บาท รัฐสนับสนุน 30 บาท)
 
 

สิทธิประกันสังคม


          ทางเลือกนี้ ผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิประโยชน์ 3 กรณี คือ กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ และกรณีเสียชีวิต 

          - กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ผู้ประกันตนมาตรา 40 จะได้รับเป็นเงินชดเชยการขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วย ซึ่งจากเดิม หากต้องนอนโรงพยาบาลอย่างน้อย 1 วัน จะได้รับเงินชดเชย 200 บาท/วัน สูงสุด 30 วัน/ปี เพิ่มเป็น 300 บาท/วัน สูงสุด 30 วัน/ปี 

          นอกจากนี้ ยังเพิ่มเงินชดเชยให้ในกรณีไม่ต้องนอนโรงพยาบาล แต่แพทย์สั่งหยุดงานพักฟื้นที่บ้าน 3 วันขึ้นไป จะได้รับเงินชดเชยวันละ 200 บาท สูงสุด 30 วัน/ปี หรือถ้าแพทย์สั่งหยุดงาน 1-2 วันขึ้นไป จะได้รับเงินชดเชยวันละ 50 บาท สูงสุด 3 ครั้ง/ปีอีกด้วย สำหรับค่ารักษาพยาบาลสามารถใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ (บัตรทอง) 30 บาท จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

          - กรณีทุพพลภาพ จะได้รับเป็นเงินชดเชยการขาดรายได้เมื่อทุพพลภาพ สิทธิประโยชน์ส่วนนี้ยังคงเหมือนเดิม คือ ได้รับเงินชดเชยตั้งแต่ 500-1,000 บาท/เดือน เป็นระยะเวลา 15 ปี โดยจำนวนเงินที่ได้รับต่อเดือนจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาจ่ายเงินสมทบก่อนกลายเป็นผู้ทุพพลภาพ

          - สำหรับกรณีเสียชีวิต จะได้รับเงินค่าทำศพ 20,000 บาท ซึ่งสิทธิประโยชน์กรณีเสียชีวิตที่เพิ่มเติมเข้ามานอกจากค่าทำศพ 20,000 บาทแล้ว ยังมีเงินสงเคราะห์ให้อีก 3,000 บาท เมื่อจ่ายเงินสมทบก่อนเสียชีวิตครบ 60 เดือน


ทางเลือกที่ 2 จ่ายเงินสมทบ 150 บาท/เดือน (ผู้ประกันตนจ่ายเอง 100 บาท รัฐสนับสนุน 50 บาท)
 

สิทธิประกันสังคม


          ได้รับความคุ้มครอง 4 กรณี คือ กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต และที่เพิ่มเติมขึ้นมาคือ กรณีชราภาพ (เงินบำเหน็จ)

          ผู้ประกันตนที่อยู่ในทางเลือกที่ 2 จะได้รับสิทธิประโยชน์ในเรื่องของเงินชดเชยกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย เงินชดเชยกรณีทุพพลภาพ เงินค่าทำศพและเงินสงเคราะห์เมื่อเสียชีวิต เหมือนผู้ประกันตนที่อยู่ในทางเลือกที่ 1 ทั้งหมดเลย

          สำหรับสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพของทางเลือกที่ 2 ยังคงเหมือนเดิมคือ ได้รับเป็นบำเหน็จเงินก้อน พร้อมผลตอบแทน (ดอกเบี้ย) โดยถ้าต้องการมีเงินก้อนใช้ยามเกษียณที่มากขึ้น สามารถจ่ายเงินสมทบเพิ่มได้สูงสุดไม่เกิน 1,000 บาท/เดือน 

ทางเลือกที่ 3 จ่ายเงินสมทบ 450 บาท/เดือน (ผู้ประกันตนจ่ายเอง 300 บาท รัฐสนับสนุน 150 บาท)
 

สิทธิประกันสังคม


          เป็นทางเลือกที่เพิ่มเข้ามาใหม่ โดยทางเลือกที่ 3 นี้ให้สิทธิประโยชน์ถึง 5 กรณีด้วยกัน คือ กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต กรณีชราภาพ (เงินบำเหน็จ) และยังมีกรณีสงเคราะห์บุตรเพิ่มเติมเข้ามาด้วย

          ความคุ้มครองในแต่ละกรณีของทางเลือกที่ 3 นี้นับว่าเพิ่มขึ้นมากจาก 2 ทางเลือกแรก มีเพียงเงินชดเชยกรณีทุพพลภาพเท่านั้นที่ได้รับ 500-1,000 บาท/เดือน เหมือนกับ 2 ทางเลือกแรก

          สำหรับความคุ้มครองที่แตกต่างหรือเพิ่มขึ้นมา คือ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย เมื่อเจ็บป่วยต้องนอนโรงพยาบาลอย่างน้อย 1 วัน จะได้รับเงินชดเชย 300 บาท/วัน สูงสุด 90 วัน/ปี หรือถ้าไม่ต้องนอนโรงพยาบาล แต่แพทย์สั่งหยุดงาน 3 วันขึ้นไป จะได้รับเงินชดเชยวันละ 200 บาท สูงสุด 90 วัน/ปี หรือถ้าแพทย์สั่งหยุดงาน 1-2 วันขึ้นไป ก็ยังได้รับเงินชดเชยนะคะ อยู่ที่วันละ 50 บาท สูงสุด 3 ครั้ง/ปี

          กรณีเสียชีวิต จะได้รับเงินค่าทำศพเพิ่มเป็น 40,000 บาท กรณีชราภาพ นอกจากบำเหน็จเงินก้อนที่ได้รับพร้อมผลตอบแทนแล้ว ถ้าส่งเงินสมทบครบ 180 เดือน จะได้รับเงินเพิ่มอีก 10,000 บาท 

          ส่วนกรณีสงเคราะห์บุตร ซึ่งมีเฉพาะทางเลือกที่ 3 นั้น จะได้รับเงิน 200 บาท/เดือน/บุตร 1 คน คราวละไม่เกิน 2 คน สามารถรับสิทธิได้ตั้งแต่บุตรแรกเกิดถึงอายุ 6 ปี สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูก ทางเลือกนี้ก็น่าสนใจนะคะ ได้รับเงินมาใช้จ่ายเป็นค่าเลี้ยงดูลูกด้วยค่ะ
 

          เรามาดูตารางสรุปสิทธิประโยชน์จากประกันสังคมมาตรา 40 ทั้ง 3 ทางเลือกกัน
 
สิทธิประกันสังคม


          สำหรับร่างกฎหมายประกันสังคมที่มีการเพิ่มและขยายสิทธิประโยชน์ รวมถึงเพิ่มทางเลือกใหม่ของมาตรา 40 นี้ คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในอีก 2 เดือนข้างหน้า ต้องคอยติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวกันให้ดี
 
          เมื่อรู้แล้วว่า ทำงานอิสระ เป็น Freelance ไม่มีนายจ้าง ก็สามารถรับสวัสดิการคุ้มครองจากภาครัฐได้ด้วยการสมัครประกันสังคมมาตรา 40 ลองศึกษาทำความเข้าใจสิทธิประโยชน์ในแต่ละทางเลือก เพื่อเลือกแพ็กเกจความคุ้มครองที่คุ้มค่าและเหมาะกับตัวเรา และขอบอกเพิ่มเติมอีกนิด นอกจากความคุ้มครองที่ได้รับจากประกันสังคมแล้ว เงินสมทบในแต่ละปี สามารถนำมาลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยใช้ใบเสร็จรับเงินที่จ่ายเงินสมทบเป็นหลักฐาน หรือขอหนังสือรับรองการชำระเงินสมทบจากสำนักงานประกันสังคมเพื่อประกอบการยื่นภาษีได้ด้วย

K-Expert Action

          • Freelance พิจารณาสมัครเข้าเป็นสมาชิกประกันสังคมมาตรา 40 เพื่อให้มีสวัสดิการคุ้มครองตัวเอง
          • เลือกทางเลือกที่เหมาะสมกับตัวเอง เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ตามที่ต้องการ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก



15/May/2017

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา