ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ไม่มีขึ้นทะเบียน "แรงงานต่างด้าว" อีกรอบตามข่าวลือ เตือนรีบมาศูนย์รับแจ้งฯ ทำลูกจ้างเถื่อนให้ถูก กม. - MGR Online 21 ก.ค.60

ก.แรงงานยันไม่มีเปิดขึ้นทะเบียน "แรงงานต่างด้าว" อีกตามข่าวลือ ขอให้รีบมาแจ้งการทำงานของคนต่างด้าวในวันที่ 24 ก.ค. - 7 ส.ค. ก่อนเอาจริงบังคับใช้บทลงโทษ 1 ม.ค. 61 พร้อมแจงขั้นตอนยิบการรับแจ้งการทำงานคนต่างด้าว 3 สัญชาติ
       
       วันนี้ (21 ก.ค.) ม.ล.ปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมจัดตั้งศูนย์รับแจ้งการทำงานของคนต่างด้าววันแรกวันที่ 24 ก.ค.นี้ ว่า การแจ้งการทำงานของคนต่างด้าวจะต้องใช้แบบฟอร์มมายื่น พร้อมบัตรประชาชนของนายจ้าง สำเนาการรับรองการเป็นนิติบุคคล และรูปถ่ายลูกจ้างขนาด 2 นิ้ว จำนวน 3 รูป โดยสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่เว็บไซต์ www.doe.go.th ใช้เวลาประมาณ 15 นาที หรือหากไม่สะดวกเดินทางไปยื่นที่ศูนย์เฉพาะกิจฯ ก็สามารถยื่นเรื่องได้ทางเว็บไซต์ได้ ขอให้นายจ้างดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 7 ส.ค.นี้ และเดินหน้าสู่ขั้นตอนที่ 2 คือการตรวจสอบความเป็นนายจ้างลูกจ้างจริงหรือไม่ ซึ่งจะดำเนินการตั้งแต่วันที่ 8 ส.ค. - 6 ก.ย.
       
       “ส่วนความคืบหน้าการปรับแก้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง 39 ฉบับ รวมถึงเรื่อง 39 อาชีพสงวนของคนไทย ที่จะต้องมาดูใหม่ว่าอะไรที่จะปรับให้แรงงานต่างด้าวทำได้หรือไม่นั้น ตอนนี้ฟอร์มทีมขึ้นทำแต่ละเรื่องแล้ว โดยหลักเรื่องไหนเกี่ยวกับใครบ้างก็จะมีการรับฟังความเห็น แต่การปรับแก้จริงๆ จะใช้ทีมกฎหมายของกระทรวง ตอนนี้ยังบอกไม่ได้ว่ามีเรื่องอะไรบ้าง” ม.ล.ปุณฑริก กล่าว 
 
ไม่มีขึ้นทะเบียน แรงงานต่างด้าว อีกรอบตามข่าวลือ เตือนรีบมาศูนย์รับแจ้งฯ ทำลูกจ้างเถื่อนให้ถูก กม.
        ด้าน นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน ในฐานะโฆษก ก.แรงงาน กล่าวว่า ศูนย์รับแจ้งการทำงานของคนต่างด้าวจะมีการเปิด 101 แห่งทั่วประเทศ โดยจังหวัดที่มีแรงงานต่างด้าวเกิน 5 หมื่นคน จะเปิด 4-5 ศูนย์ ส่วนข่าวลือว่านายจ้างไม่ต้องไปยื่นแจ้งการทำงานของแรงงานต่างด้าวที่เปิดให้แจ้งในช่วง 15 วันนี้ เพราะจะมีการเปิดจดทะเบียนอีก ขอยืนยันว่า ตามคำสั่ง คสช. ระบุชัดเจนว่า ชะลอการบังคับใช้บทลงโทษ 4 มาตราถึง 31 ธ.ค.นี้เท่านั้น โดยวันที่ 1 ม.ค.2561 จะมีการจับกุม ลงโทษนายจ้างและแรงงานต่างด้าวที่ทำผิดกฎหมายทันที ดังนั้น อย่านิ่งนอนใจ ขอให้รีบมาแจ้งการทำงานภายในวันที่กำหนด เพราะหลังวันที่ 7 ส.ค. จะไม่มีการขยายเวลารับแจ้งการทำงานให้อีก และจะไม่มีการเปิดขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวอีก
       
       นายอนันต์ชัย กล่าวว่า สำหรับขั้นตอนตรวจสอบความเป็นนายจ้างลูกจ้าง ทั้งนายจ้างและลูกจ้างต้องเดินทางมาพร้อมกันเพื่อรับการตรวจสอบ และยืนยันว่าเป็นนายจ้างลูกจ้างกันจริง โดยหลักขอให้เป็นนายจ้างลูกจ้างกันก่อนวันที่ 23 มิ.ย. 2560 และยังดูว่าเป็นแรงงานเด็กหรือไม่ ทั้งนี้ จะมีการตรวจสอบตามรูปแบบเช็กลิสต์ซึ่งเป็นมาตรฐานเดียวกัน ยืนยันว่าไม่มีการเปิดช่องให้เจ้าหน้าที่ใช้ดุลพินิจที่อาจจะนำไปสู่การเรียกรับผลประโยชน์เพื่อให้รับรองสถานะการทำงานให้ตามที่มีความกังวลกัน แต่ไม่ขอเปิดเผยรายละเอียดในเช็กลิสต์ที่จะใช้ ทั้งนี้ เมื่อได้รับการรับรองแล้วเจ้าหน้าที่จะออกเอกสารรับรองการออกนอกพื้นที่ให้กับแรงงานต่างด้าวเพื่อไปดำเนินการพิสูจน์สัญชาติก่อนขอใบอนุญาตทำงานต่อไป
       
       "ขั้นตอนการพิสูจน์สัญชาติ ขอให้แรงงานสัญชาติพม่าไปที่เคาน์เตอร์เซอร์วิสชำระค่าธรรมเนียม 300 บาท บวกค่าบริการ 10 บาท เพื่อรับวันนัดหมายในการพิสูจน์สัญชาติ ซึ่งมี 5 ศูนย์คือ สมุทรสาคร สมุทรปราการ ระนอง อ.แม่สอด จ.ตาก และ อ.แม่สาย จ.เชียงใหม่ ส่วนสัญชาติกัมพูชาให้ไปชำระค่าธรรมเนียมที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส 2,350 บาท บวกค่าดำเนินการ 10 บาท ก่อนรับใบนัดหมายวันที่จะต้องไปพิสูจน์สัญชาติ ซึ่งไปดำเนินการได้ที่ศูนย์พิสูจน์สัญชาติ จ.ระยอง ซึ่งศูนย์พิสูจน์สัญชาติทั้งพม่าและกัมพูชา จะเป็นวันสต็อปเซอร์วิส คือ ให้บริการประทับตราวีซ่าเสียค่าธรรมเนียม 500 บาท การตรวจสุขภาพและซื้อประกันสุขภาพโดยกระทรวงสาธารณสุข มีค่าใช้จ่าย 1,000 บาท และขอรับใบอนุญาตทำงานโดยกระทรวงแรงงาน มีค่าธรรมเนียม 550 บาทได้เลย โดยอนุญาตให้ทำงานถึง 31 มี.ค.2561" นายอนันต์ชัย กล่าว
       
       นายอนัต์ชัย กล่าวว่า สำหรับแรงงานชาวลาวต้องเดินทางกลับไปที่ประเทศต้นทาง เพื่อทำหนังสือเดินทางให้ถูกต้อง โดยขั้นตอนให้ไปติดต่อสถานทูตลาวใน กทม. และสถานกงสุลที่ จ.ขอนแก่น เพื่อรับหนังสือออกนอกประเทศ ซึ่งก่อนผ่าน ตม.ให้ใช้เอกสารรับรองการออกนอกพื้นที่ที่กระทรวงแรงงานออกให้ไปแสดงด้วย ไม่มีค่าใช้จ่าย หากมีเอกสารนี้แล้วยังถูกเรียกรับเงินให้แจ้งมาที่กระทรวงแรงงานได้ทุกช่องทาง หรือแจ้งไปที่ คสช.ได้ ซึ่งตรงนี้นายกรัฐมนตรี และรมว.แรงงานให้ความสำคัญมากว่าต้องไม่มีการทุจริต เรียกรับผลประโยชน์ หากมีจะต้องถูกลงโทษอย่างหนักทั้งทางวินัยและอาญา ทั้งนี้ เมื่อได้เอกสารเดินทางที่ประเทศต้นทางออกให้แล้ว ให้กลับเข้ามาที่ ตม.ประทับตราวีซ่า มีค่าใช้จ่าย 500 บาท ไปรพ.รัฐเพื่อตรวจสุขภาพ และซื้อประกันสุขภาพรวม 1,000 บาท และไปขอออนุญาตทำงานมีค่าใช้จ่าย 550 บาท 
 
ไม่มีขึ้นทะเบียน แรงงานต่างด้าว อีกรอบตามข่าวลือ เตือนรีบมาศูนย์รับแจ้งฯ ทำลูกจ้างเถื่อนให้ถูก กม.
        
 
ไม่มีขึ้นทะเบียน แรงงานต่างด้าว อีกรอบตามข่าวลือ เตือนรีบมาศูนย์รับแจ้งฯ ทำลูกจ้างเถื่อนให้ถูก กม.
        
 
ไม่มีขึ้นทะเบียน แรงงานต่างด้าว อีกรอบตามข่าวลือ เตือนรีบมาศูนย์รับแจ้งฯ ทำลูกจ้างเถื่อนให้ถูก กม.
        


21/Jul/2017

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา