ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ก.แรงงาน แจงผู้จบป.ตรี อาชีวอนามัยฯ เป็นทางเลือกแรก ที่นายจ้างสรรหาเป็นจป.วิชาชีพ , กสร. 15 พย. 61

กระทรวงแรงงาน โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน แจงผลหารือผู้เกี่ยวข้องกรณีคุณสมบัติ จป.วิชาชีพ ตามร่างกฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. …. ให้ผู้จบปริญญาตรีด้านอาชีวอนามัยฯเป็นทางเลือกแรกของการจ้างจป.วิชาชีพ

 

นายวิวัฒน์ ตังหงส์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยถึงกรณีสถาบันการศึกษาที่มีการเรียนด้านอาชีวอนามัยฯ ได้เสนอขอให้มีแก้ไข ร่างกฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. .…

 

โดยขอให้ตัดคุณสมบัติจป.วิชาชีพ ข้อ 13 (4) ที่กำหนดให้ผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีและมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการไม่น้อยกว่า 5 ปี ที่ผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพและผ่านการประเมินให้สามารถเป็นจป.วิชาชีพได้ ออกจากร่างกฎกระทรวงฯว่า พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าว เนื่องจากเป็นร่างกฎกระทรวงที่ผ่านกระบวนการพิจารณามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 จนถึงปัจจุบันและขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา จึงได้จัดให้มีการหารือและรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมาอย่างต่อเนื่อง

 

และเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ได้มีการจัดประชุมหารือและรับฟังความคิดเห็นร่วมกันระหว่างผู้แทนสภาองค์กรนายจ้าง ผู้แทนสภาองค์กรลูกจ้าง และผู้แทนสถาบันการศึกษาที่มีการเรียนการสอนในสาขาอาชีวอนามัยฯ ซึ่งในที่ประชุมได้เห็นพ้องต้องกันว่าบุคคลที่สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี สาขาอาชีวอนามัย และความปลอดภัยหรือเทียบเท่า บุคคลที่สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีและได้ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูงมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรจป.วิชาชีพ และบุคคลที่เคยเป็นจป.วิชาชีพตามกฎกระทรวงฉบับเดิม เป็นบุคคลที่นายจ้างต้องสรรหาเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพในลำดับแรก

 

อย่างไรก็ดีทางฝ่ายผู้ประกอบการได้ขอทางเลือกซึ่งเป็นมาตรการชั่วคราวที่มีระยะเวลาดำเนินการเพียง 5 ปี กรณีที่ไม่สามารถสรรหาบุคคลดังกล่าวเข้ามาทำงานได้ ให้สามารถสรรหาจากผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการไม่น้อยกว่า 5 ปี รวมทั้งผ่านการฝึกอบรมและผ่านการประเมินตามหลักสูตรจป.วิชาชีพ นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้เสนอให้ฝ่ายสถาบันการศึกษาและฝ่ายนายจ้างเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตรและหลักเกณฑ์การประเมินเพื่อให้บุคคลกลุ่มนี้เป็นจป.วิชาชีพ เพื่อเป็นหลักประกันด้านความรู้และความพร้อมในการดูแลความปลอดภัยในการทำงานตามกฎหมาย

 

นายวิวัฒน์ กล่าวต่อว่า กสร.จะได้นำเสนอผลการหารือดังกล่าวให้คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และแจ้งความเห็นไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อพิจารณาต่อไป



17/Nov/2018

เกาะติดข่าวกฎหมาย

2 มีค. 67 : 2 มีค. 67 : "ผู้ประกันตนเจ็บป่วย" ประกันสังคม ครอบคลุมทุกโรค จนสิ้นสุดการรักษา , กรุงเทพธุรกิจ

นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม  กระทรวงแรงงาน ย้ำ สิทธิการรักษาพยาบาลในระบ...

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา