ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

กสร.แจงลูกจ้างทำงานที่บ้านเลี่ยงฝุ่น PM 2.5 ขึ้นอยู่กับประเภทงาน , ประชาชาติ 1 กพ. 62

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน แจงกรณีลูกจ้างขอทำงานที่บ้านเพื่อป้องกันอันตรายจากฝุ่นละอองขนาดเล็กสามารถทำได้ขึ้นอยู่กับสภาพและลักษณะงานที่ทำ หากสภาพการทำงานไม่กระทบและนายจ้างอนุญาตให้ลูกจ้างทำงานที่บ้านได้

 

นายสมบูรณ์ ตรัยศิลานันท์ รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยถึงกรณีกระแสข่าวลูกจ้างขอทำงานที่บ้านเพื่อป้องกันสุขภาพในช่วงที่มีภาวะฝุ่นละอองขนาดเล็กครอบคลุมพื้นที่ในกรุงเทพฯและจังหวัดที่มีปริมาณฝุ่นละอองหนาแน่นว่า กสร.เห็นว่าแนวทางดังกล่าวเป็นแนวทางที่เป็นประโยชน์ อย่างไรก็ตามกรณีที่จะให้ลูกจ้างทำงานอยู่ที่บ้านได้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับลักษณะงานหรือประเภทของสถานประกอบกิจที่ลูกจ้างทำว่าสามารถนำงานกลับไปทำที่บ้านได้หรือไม่ กรณีที่เป็นงานเกี่ยวกับการผลิต ประกอบ หรือต้องทำงานเกี่ยวข้องกับเครื่องจักรการให้ลูกจ้างทำงานที่บ้านคงไม่สามารถดำเนินการได้ หากลักษณะงานที่ลูกจ้างทำเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับเอกสาร หรืองานอื่น ๆ ที่ไม่จำเป็นต้องมาปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน นายจ้างก็สามารถให้ลูกจ้างทำงานที่บ้านได้

 

นายสมบูรณ์ กล่าวต่อว่า หากนายจ้างหรือสถานประกอบการพิจารณาว่างานที่ลูกจ้างทำสามารถให้ลูกจ้างนำกลับไปทำงานที่บ้านได้และส่งผลดีกับสุขภาพอนามัยของลูกจ้างก็สามารถตกลงและกำหนดแนวทางหรือวิธีการปฏิบัติงานร่วมกันเพื่อประโยชน์ของลูกจ้างขณะเดียวกันก็ไม่กระทบกับการดำเนินธุรกิจของนายจ้าง ซึ่งกสร.ก็ยินดีที่จะสนับสนุนแนวทางการดำเนินการดังกล่าว สำหรับสถานประกอบกิจการที่ไม่สามารถให้ลูกจ้างทำงานที่บ้านได้ กสร.ขอให้นายจ้างจัดหน้ากากอนามัยที่สามารถกรองฝุ่นละอองขนาดเล็กได้ให้ลูกจ้างสวมใส่ตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน รวมถึงระหว่างการเดินทางไปกลับจากที่พักและที่ทำงานด้วย และขอให้ลูกจ้างสวมใส่หน้ากากอนามัยที่นายจ้างจัดให้ และปฏิบัติตามคำแนะนำของทางราชการอย่างเคร่งครัดเพื่อความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยที่ดีของลูกจ้างเอง



03/Feb/2019

เกาะติดข่าวกฎหมาย

2 มีค. 67 : 2 มีค. 67 : "ผู้ประกันตนเจ็บป่วย" ประกันสังคม ครอบคลุมทุกโรค จนสิ้นสุดการรักษา , กรุงเทพธุรกิจ

นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม  กระทรวงแรงงาน ย้ำ สิทธิการรักษาพยาบาลในระบ...

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา