ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

กระทรวงแรงงานจัดทำร่างข้อตกลงการจัดส่งแรงงานไทยไปสาธารณรัฐเกาหลี , สนข.ประชาสัมพันธ์ 2 กค. 62

กระทรวงแรงงานเสนอร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดส่งแรงงานไทยไปสาธารณรัฐเกาหลี ภายใต้ระบบการจ้างแรงงานต่างชาติ (Employment Permit System : EPS) เนื่องจากบันทึกความเข้าใจฉบับเดิม ที่ได้ลงนามเมื่อปี พ.ศ. 2558 ได้ครบกำหนดระยะเวลาการบังคับใช้ เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2561 แต่โดยที่บันทึกความเข้าใจฉบับดังกล่าวระบุว่า บันทึกความเข้าใจจะยังคงมีผลใช้บังคับระหว่างที่มีการดำเนินการเพื่อต่ออายุ เว้นแต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะร้องขอให้มีการสิ้นสุดเป็นลายลักษณ์อักษรร่างบันทึกความเข้าใจฯ ที่เสนอ ครม. เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2562 ได้มีการเพิ่มรายละเอียดการนำระบบ Point System ซึ่งเป็นวิธีการคัดเลือกคนหางาน ประกอบด้วยการทดสอบความสามารถภาษาเกาหลี และการทดสอบทักษะและสมรรถภาพร่างกาย มาใช้ในการดำเนินการคัดเลือกคนงานไปทำงานในสาธารณรัฐเกาหลี 
 

คุณสมบัติผู้สมัคร ต้องมีอายุระหว่าง 18-39 ปี (ไม่เกิน 39 ปี ในวันแรกที่ลงทะเบียนสมัครสอบ) ไม่มีประวัติอาชญากรรมได้รับโทษจำคุก หรือบทลงโทษอื่นที่รุนแรงกว่า ไม่มีประวัติถูกเนรเทศหรือคำสั่งให้ออกนอกเกาหลีใต้ และไม่ถูกต้องห้ามออกนอกไทย ขั้นตอนการสอบ ได้แก่ การสอบรอบที่ 1 สอบภาษาเกาหลี การสอบรอบที่ 2 สอบภาษาทักษะ 
 

การจ้างงานและพำนักอาศัย ไม่เกิน 3 ปี นับจากวันที่เดินทางเข้าประเทศ และสามารถขยายระยะเวลาการทำงานออกไปได้อีกไม่เกิน 1 ปี 10 เดือน ทั้งนี้ ภายหลังสิ้นสุดสัญญาจ้าง แรงงานจะกลับเข้าไปทำงานได้อีกเมื่อผ่านไปแล้ว 6 เดือน การมีผลใช้บังคับ 2 ปี แต่หากครบกำหนดแล้วยังดำเนินการต่ออายุไม่แล้วเสร็จ ก็ให้บันทึกความเข้าใจฉบับนี้มีผลบังคับใช้จนกว่าจะมีการลงนามในบันทึกความเข้าใจฉบับใหม่ 



02/Jul/2019

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา