ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

สถานการณ์แย่! นายจ้างแบกรับไม่ไหว หยุดกิจการชั่วคราว หลายแห่งปิดถาวร ลูกจ้างตกงาน, PPTV Online 29 ต.ค. 2562

29 ต.ค.2562  นายมนัส โกศล  ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย  ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีนี้ว่า สถานการณ์แรงงานไทยไม่ดีขึ้น  เห็นได้จากช่วงที่ผ่านมามีทั้ง  “เลิกจ้าง”  “เออร์รี่ รีไทร์” 

 

และการมาใช้ มาตรา 75  พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551  ในเรื่องให้สิทธินายจ้างหยุดกิจการระหว่างไม่มีคำสั่งซื้อสินค้า แต่ต้องจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างในระหว่างรอหยุดกิจการชั่วคราวไม่น้อยกว่าอัตราร้อยละ75 ซึ่งกรณีแบบนี้น่าจะพบเห็นเรื่อยๆ แต่ปัญหาคือ กังวลว่า จะมีการเลิกจ้างในที่สุด เพราะหลายอุตสาหกรรมไม่สามารถอุ้มกิจการให้เดินต่อไปได้

 

นายมนัส กล่าวว่า ช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2562 บางสถานประกอบการจะใช้มาตรา 75 พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 ที่กำหนดให้มีการจ่ายชดเชยไม่น้อยกว่า ร้อยละ 75 ให้กับลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบว่างงาน บางแห่งใช้นาน 6 เดือน บางแห่งใช้ 2 เดือน และบางแห่งก็ประกาศอย่างเป็นทางการ บางแห่งประกาศเป็นการภายใน 

 

ซึ่งถ้าเทียบระหว่างปี 2561 กับปี 2562 ถือว่าปีนี้มีการใช้มาตรา 75 มากกว่าปีที่แล้วถึงร้อยละ 40 

 

อย่างไรก็ตาม ปัญหาของการใช้มาตรา 75 เพราะต้องการจะรอออเดอร์เข้ามา ถ้าไม่มีก็คือต้องเลิกจ้าง แล้วถ้าไม่มีออเดอร์ต่อก็ปิดกิจการ ซึ่งเกิดขึ้นแล้ว แต่อาจจะไม่ได้เป็นข่าว บางโรงงานแรงงานก็สมัครใจลาออก และได้รับค่าชดเชยมากกว่ากฎหมายกำหนด ตัวเลขว่างงานเลยไม่มีการขยับขึ้น

 

“จากการติดตามการใช้สิทธิรับเงินชดเชยกรณีว่างงาน พบว่ามีเงินกองทุนที่มีอยู่ประมาณเกือบ 2 แสนล้านบาท ไม่มีการไหลออกเลย ก็ไม่รู้ทำไมคนว่างงานถึงไม่ไปใช้สิทธิรับเงินทดแทนการว่างงานตรงนี้ กรณีเลิกจ้างจะได้ชดเชยร้อยละ 50 ของเงินเดือนติดต่อกันนาน 6 เดือน ถ้าลาออกจะได้ ร้อยละ 30 นาน 3 เดือน เป็นต้น 

 

ดังนั้นตนพยายามตามเรื่องเดิมที่เคยยื่นต่อม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล รมว.แรงงาน ให้ดำเนินการแก้ไขเรื่องการจ่ายชดเชยทุกกรณีว่างงานต้องจ่ายให้ร้อยละ 75 ของเงินเดือน เพราะต่อให้คนที่ถูกไล่ออก เขาก็ยังเป็นคนที่ส่งเงินสมทบอยู่ ถ้าให้แค่ร้อยละ 30 เท่ากับว่าเขาไม่ได้ใช้เงินที่เขาสมทบมาเลย” 

 

 กลุ่มที่มีการใช้มาตรา 75 มากสุดคือกลุ่มยานยนต์ แล้วกรณีสมัครใจลาออกก็เป็นกลุ่มยานยนต์ ส่วนกลุ่มสิ่งทอนั้นเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2561 แล้ว 

 

นอกจากนี้ยังมีกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยตอนนี้เรื่องการปิดกิจการถาวรก็มี แต่ยังไม่เห็นตัวเลขชัดเจน ส่วนสถานการณ์ปี 2563 ตนยังไม่มีตัวเลขในมือ แต่ในเครือสภาพัฒน์ที่ตนดูอยู่นั้นไม่มีการปิดกิจการ แต่กลุ่มอื่นๆ ต้องดูตัวเลขส่วนกลาง เพราะไม่มั่นใจว่าที่มีปัญหาจากสหรัฐอเมริกาตัดจีเอสพีนั้นจะรวนมาถึงปี 2563 หรือไม่ หากรัฐบาลแก้เกมไม่ได้ 

 

แต่แน่นอนที่สุดเรามองดูจีนว่าเป็นคู่ค้ารายใหญ่ของไทย ใหญ่กว่าอเมริกา โดยเฉพาะกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ทุนใหญ่ของจีน 1 ใน 3 อยู่ที่ประเทศไทย หากจีนกับอเมริกามีปัญหามากขึ้น จีนอาจจะมีการย้ายฐานการผลิตบางส่วนที่อเมริกามาอยู่ที่ไทยก็ได้ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นก็จะทำให้เกิดการจ้างงานในประเทศไทยมากขึ้น สิ่งสำคัญ สภาฯ จะผลักดันให้มีการปรับเพิ่มอัตราเงินทดแทนว่างงานทุกกรณีต้องจ่าย 75%ของค่าจ้าง

 

อนึ่ง ปัจจุบันการจ่ายเงินกรณีว่างงาน จะแบ่งเป็น 

 

1.กรณีถูกเลิกจ้าง ลูกจ้างจะได้รับเงินทดแทนในระหว่างการว่างงาน 50% ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 180 วัน  

 

2.กรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน ลูกจ้างได้รับเงินทดแทนในระหว่างการว่างงาน 30% ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วัน 

 

และ3.กรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย  ซึ่งมีผลกระทบต่อสาธารณชนและถึงขนาดผู้ประกันตนไม่สามารถทำงานได้หรือนายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติได้รับเงินทดแทน ลูกจ้างจะได้รับเงินทดแทน 50% ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 180 วัน



03/Nov/2019

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา