ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

แจงแรงงานข้ามชาติถูกก.ม.ได้สิทธิคุ้มครองเท่าแรงงานไทย , เดลินิวส์ 3 กุมภาพันธ์ 63

เมื่อวันที่ 3 ก.พ. นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน ชี้แจงถึงกรณีที่นายฮวน ซานทานเดอร์ รองผู้แทนองค์การยูนิเซฟประเทศไทย กล่าวถึงสิทธิเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติในไทยขาดหลักประกันสุขภาพว่า คนต่างด้าวที่เดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมายจะได้รับการคุ้มครองด้านสวัสดิการในการทำงาน และด้านสุขภาพ เช่น การประกันสังคม การประกันสุขภาพ โดยการคุ้มครองดังกล่าว ใช้กฎหมายฉบับเดียวกันกับแรงงานที่เป็นคนไทย ดังนั้น จึงถือว่าได้รับสิทธิเท่าเทียมกันกับคนไทย

 

นายไพโรจน์ กล่าวต่อว่า ส่วนเรื่องระบบ MOU นั้น คือ ระบบการรับ -ส่งแรงงานระหว่างรัฐบาลประเทศผู้รับกับรัฐบาลประเทศผู้ส่ง ซึ่งเป็นการกำหนดเฉพาะเรื่องแรงงานเท่านั้น โดยวัตถุประสงค์ของแรงงานที่เข้ามาก็เป็นการชั่วคราว เพื่อการทำงานหารายได้ มิใช่เป็นการย้ายถิ่นฐานเพื่อเข้ามาอยู่อาศัยหรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ ทั้งนี้ กรณีดังกล่าวก็เป็นไปตามหลักสากลเช่นเดียวกันกับแรงงานไทยที่ไปทำงานต่างประเทศก็ไม่สามารถนำผู้พึ่งพิงติดตามไปอยู่ด้วยได้ 


หากผู้พึ่งพิง (ภรรยาและบุตรของแรงงาน) มีความต้องการเดินทางมาพบกับแรงงาน ก็ไม่ได้มีข้อห้ามกำหนดไว้ แต่กระบวนการที่จะเข้ามาในราชอาณาจักรก็ต้องเป็นไปตามหลักกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
 

กรณีแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย หากมีบุตรที่เกิดในราชอาณาจักรไทย ก็สามารถแจ้งเกิดและได้รับสิทธิการอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว เช่นเดียวกันกับบิดาหรือมารดา ตามกฎกระทรวงกำหนดฐานะและเงื่อนไข การอยู่ในราชอาณาจักรไทยของผู้เกิดในราชอาณาจักรไทยซึ่งไม่ได้สัญชาติไทย พ.ศ.2560 ที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ


ส่วนประเด็นเรื่องค่ารักษาพยาบาลแพงนั้น แรงงานต่างด้าวมีประกันสุขภาพอยู่แล้วก็สามารถใช้สิทธิประกันสุขภาพได้ตามปกติ 

 

ส่วนประเด็นเรื่องพื้นที่ในการรักษาพยาบาล ก็สามารถแจ้งย้ายได้หากแรงงานเปลี่ยนไปทำงานในพื้นที่อื่น หรือเปลี่ยนไปทำงานกับนายจ้างรายอื่นๆ ซึ่งไม่ได้อยู่ในพื้นที่เดิม รวมถึงผู้ติดตามก็สามารถทำประกันสุขภาพได้ตั้งแต่แรกเกิด ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว พ.ศ. 2562 โดยกระทรวงสาธารณสุขกำหนดค่าประกันสุขภาพ ดังนี้ 1. แรงงานต่างด้าว ค่าประกันสุขภาพ 2 ปี ราคา 3,200 บาท 2. ผู้ติดตาม (บุตร) อายุเกิน 7 ปี แต่ไม่เกิน 18 ปี ค่าประกันสุขภาพ 2 ปี  ราคา 3,200 บาท 3) ผู้ติดตาม (บุตร) อายุไม่เกิน 7 ปี ค่าประกันสุขภาพ 2 ปี ราคา 730 บาท



03/Feb/2020

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา