ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ต่ออายุแรงงานต่างด้าว 1.2 ล้านราย ทำงานในไทยต่อได้ถึง 30 พ.ย.63 , ประชาชาติธุรกิจ 16 เมย.63

เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2563 นายสุชาติ พรชัยวิเศษกุล อธิบดีกรมการจัดหางาน เผยความคืบหน้า การดำเนินการต่ออายุใบอนุญาตทำงาน และขออยู่ต่อในราชอาณาจักร ของแรงงานต่างด้าว ตามมติ ครม.วันที่ 20 สิงหาคม 2563 ว่า ขณะนี้มีนายจ้างหรือผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานยื่นบัญชีรายชื่อ (Name List) ต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2563 แล้วจำนวน 1,266,351 คน เป็นสัญชาติ กัมพูชา 213,461 คน ลาว 50,581 คน และเมียนมา 1,002,309 คน

 

ชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงานแล้ว 1,044,055 คน ยื่น ตท.2 แล้ว 760,837 คน ได้รับบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (บัตรชมพู) ซึ่งจะอนุญาตทำงานถึง 31 มีนาคม 2565 แล้ว 710,358 คน จำแนกเป็น กัมพูชา 105,779 คน ลาว 28,541 คน และเมียนมา 576,038 คน และมีแรงงานต่างด้าวคงเหลือที่จะต้องดำเนินการอีก จำนวน 555,993 คน

 

นายสุชาติ พรชัยวิเศษกุล อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวเพิ่มเติมว่า ถึงแม้ว่า คณะรัฐมนตรีจะมีมติเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2563 เห็นชอบผ่อนปรนให้แรงงานต่างด้าวและผู้ติดตามสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ตามมติ ครม.วันที่ 20 สิงหาคม 2563 ที่นายจ้างหรือผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานได้ยื่นบัญชีรายชื่อความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว ต่อกระทรวงแรงงานแล้วภายในวันที่ 31 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา

 

“แต่ไม่สามารถดำเนินการขออนุญาตทำงานให้แล้วเสร็จได้ตามกำหนดในช่วงระยะเวลาที่เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ให้อยู่ในราชอาณาจักรชั่วคราวและสามารถทำงานไปพลางก่อนได้ ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2563 และยกเว้นค่าเปรียบเทียบปรับการอยู่เกินกำหนด (Over Stay)”

 

แต่ขอให้นายจ้างหรือผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงาน ที่ยื่นบัญชีรายชื่อความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว ติดตามดำเนินการตามขั้นตอน เพื่อให้แล้วเสร็จตามที่กำหนด ได้แก่ การนัดหมายให้แรงงานต่างด้าวเข้ารับการตรวจสุขภาพในโรงพยาบาลของรัฐ การยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานผ่านทางระบบออนไลน์ (https://e-workpermit.doe.go.th/) และการจัดเก็บข้อมูลชีวภาพและอัตลักษณ์บุคคล (Biometrics Data)

 

และในระหว่างระยะเวลาที่ผ่อนปรนนี้ให้ใช้บัญชีรายชื่อความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว (Name List) ที่กรมการจัดหางานออกให้ และใบอนุญาตทำงานฉบับเดิม ในการเป็นหลักฐานจ้างแรงงานต่างด้าว ไปพลางก่อน



18/Apr/2020

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา