ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ประกันสังคมจ่ายแน่เดือนละ 5,045-9,300 บาท ลูกจ้างต้องส่งสมทบครบ 6 เดือน, ประชาชาติธุรกิจ 17 เมย.63

หลังจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2563 มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงานเสนอร่างกฎกระทรวงการได้รับผลประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน เนื่องจากมี “เหตุสุดวิสัย” อันเกิดจากการระบาดของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

 

ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยถึงขนาดที่นายจ้างต้องหยุดประกอบกิจการ ไม่ว่าบางส่วนหรือทั้งหมดเป็นการชั่วคราว ไม่ว่าจะหยุดกิจการเอง หรือหยุด-ปิดเพราะคำสั่งของราชการ ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนที่มีสิทธิ์ได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน ไม่สามารถทำงานได้ และไม่ได้รับค่าจ้างในระหว่างนั้น

 

ให้ลูกจ้างได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานในอัตราร้อยละ 62 ของค่าจ้างรายวัน โดยให้ได้รับตลอดระยะเวลาที่นายจ้างหยุดประกอบกิจการแต่ไม่เกิน 90 วัน

 

ขณะนี้สำนักงานประกันสังคมมีเงินในส่วนกองทุนว่างงานอยู่ 164,000 ล้านบาท ที่จะนำมาดูแลผู้ประกันตนตามมาตรา 33 คาดว่ามีผู้ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 และได้รับเงินชดเชยประมาณ 1 ล้านคน โดยเงินชดเชยที่จะจ่ายให้เดือนละ 5,045-9,300 บาท คาดว่าในช่วง 3 เดือนนี้จะใช้เงินจากกองทุนประกันสังคมจ่ายชดเชยให้ผู้ว่างงาน ประมาณ 20,000 ล้านบาท

 

เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2563 ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่าสำหรับผู้ประกันตนที่จะได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานมี 2 ประเภท คือ 1) เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยตรงจนต้องหยุดกิจการ ทำให้ว่างงาน หรือไม่สามารถทำงานได้ตามปกติได้

 

และ 2) ผู้ประกันตนจะต้องมีการส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคมไม่น้อยกว่า 6 เดือน ส่วนกรณีที่จัดส่งเงินสมทบไม่ต่อเนื่อง ให้พิจารณาการส่งเงินในรอบ 15 เดือน ว่ารวมแล้วจะต้องส่งเงินสมทบไม่ต่ำกว่า 6 เดือน

 

ส่วนบางสถานประกอบการที่แม้จะหยุดการทำงาน แต่ยังคงจ่ายเงินให้กับแรงงานเพื่อรักษาสถานภาพลูกจ้างเอาไว้ ถือเป็นผู้ประกันตนที่ “ไม่เข้าข่าย” ได้รับการเยียวยาจากประกันสังคม เพราะเท่ากับว่าธุรกิจยังมีสภาพคล่อง เพียงแค่รอให้สถานการณ์การะบาดของโรคคลี่คลายลงก่อน จึงจะกลับมาดำเนินกิจการต่อไป

 

“การผลักดันให้ประกันสังคมเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 นั้น เนื่องจากเราเห็นความเดือดร้อนของผู้ว่างงานที่มีอยู่จำนวนมาก ซึ่งในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลไม่ต้องการให้สถานประกอบการต่าง ๆ ปิดกิจการ เพราะจะมีคนตกงานเพิ่มขึ้นอีกมาก”

 

นายสุทธิ สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงาน ระบุว่า ผู้ประกันตนในขณะนี้มียอดรวมทั้งสิ้น 11 ล้านราย แต่บางกิจการก็ไม่ได้รับผลกระทบจากกรณีการระบาดของโควิด-19 และยังดำเนินการตามปกติ เมื่อลองประเมินจากจำนวนดังกล่าวพบว่าจะมีผู้เข้าข่ายราว 7 ล้านคน แต่ไม่ได้หมายความว่าผู้ประกันตนในจำนวนนี้จะเข้ามาลงทะเบียนเพื่อขอรับการเยียวยาทั้งหมด ซึ่งคาดว่าจะมีผู้ประกันตนประมาณ 1 ล้านคนที่จะได้รับการเยียวยา

 

สำหรับสถานะของกองทุนประกันว่างงานในขณะนี้มีเงินกองอยู่ราว 164,000 ล้านบาท ที่สามารถนำมาดูแลผู้ประกันตนตามมาตรา 33 รวม 1 ล้านคนได้ โดยจะจ่ายเงินชดเชยให้ประมาณ 5,045-9,300 บาท รวมระยะเวลา 3 เดือน ซึ่งคาดว่าจะใช้เงินรวม 20,000 ล้านบาท

 

“ในบอร์ดประกันสังคมที่หารือกัน เราไม่ต้องการให้มีการเทเงิน 164,000 ล้านบาท ออกมาใช้ทั้งหมด การจ่ายเงินจะต้องอยู่บนฐานที่กฎหมายกำหนดไว้ คือ 62% ของฐานเงินเดือนที่ต่ำสุดคือ 10,500 บาท เพื่อให้ผู้ประกันตนได้รับเงินเยียวยาไม่ต่ำกว่า 5,000 บาท ตัวเลขเหล่านี้เป็นการประเมินการณ์ของบอร์ดเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี”



18/Apr/2020

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา