ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ประกันสังคมช่วยเหลือ ผู้ประกันตนว่างงาน จากกรณีนายจ้างแจ้งออกจากงานว่ามีความผิดตามระเบียบของบริษัท , ไทยโพสต์ 27 มีค. 64

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มีความห่วงใยลูกจ้าง ผู้ประกันตน ที่อยู่ในระบบประกันสังคมที่ได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน จึงมอบนโยบายให้สำนักงานประกันสังคม หารือต่อสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กรณีนายจ้างแจ้งสาเหตุ การออกจากงานของผู้ประกันตนว่ามีความผิดทำให้ผู้ประกันตนไม่ได้รับค่าชดเชยการออกจากงาน และประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน 

 

โดยขั้นตอนการขอรับผู้ประตนต้องร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงาน ตรวจแรงงาน หรือนำคดีสู่ศาลแรงงาน ทำให้ผู้ประกันตนที่ถูกออกจากงานดังกล่าว ได้รับความเดือดร้อนขณะว่างงาน


ต่อมานายทศพล กฤตวงศ์วิมาน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ได้สั่งการให้เร่งดำเนินการแก้ไขประกาศสำนักงานประกันสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาประโยชน์ ทดแทนกรณีว่างงาน พ.ศ. 2564 (ฉบับที่ 3) และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2564  


ทำให้ขั้นตอนการจ่ายเงินกรณีว่างงานให้ผู้ประกันตนอย่าง รวดเร็วโดยไม่ต้องรอคำพิพากษาของศาลแรงงาน เพื่อเยียวยาความเดือดร้อนของผู้ประกันตนที่ขาดรายได้จากการว่างงาน  ทั้งนี้ สำนักงานประกันสังคม โดยสำนักสิทธิประโยชน์ ได้ออกหนังสือกำชับให้สำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศ ดำเนินการพิจารณาวินิจฉัยเงินกรณีว่างงานกรณีดังกล่าวโดยเร่งด่วน และครบถ้วน 


นางสาวลัดดา แซ่ลี้ ผู้อำนวยการสำนักสิทธิประโยชน์ รองโฆษกสำนักงานประกันสังคม ลงพื้นที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5 เพื่อสอบถามผู้ประกันตน ที่ได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานตามประกาศฯ ฉบับใหม่ 


โดยนายอธิทัต เตวิภูษณะวงศ์ ลูกจ้างของบริษัทฯ แห่งหนึ่ง ซึ่งนายจ้างแจ้งการออกจากงานด้วยสาเหตุไล่ออก เนื่องจากลูกจ้างกระทำผิดกฎของบริษัท แต่ผู้ประกันตนได้มายื่นขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน ณ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5 ด้วยสาเหตุถูกเลิกจ้าง และเรื่องอยู่ระหว่างรอ   คำพิพากษาของศาลแรงงาน เจ้าหน้าที่สอบข้อเท็จจริง และบันทึกถ้อยคำจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกอบการวินิจฉัยจ่ายเงินกรณีว่างงาน โดยไม่ต้องรอคำพิพากษาของศาลแรงงาน และสามารถวินิจฉัยจ่ายเงินกรณีว่างงานให้แก่นายอธิทัตฯ จึงรับสิทธิประโยชน์ทดแทน กรณีว่างงาน ตามการแก้ไขข้อกฎหมายดังกล่าว 


ซึ่งนายอธิทัตฯ เผยว่า “ตนได้รับประโยชน์ ทดแทนกรณีว่างงาน จำนวน 60 วันแล้ว ซึ่งเจ้าหน้าที่แจ้งว่าจะได้รับเงินกรณีว่างงานทั้งสิ้น จำนวน 200 วัน ในอัตราร้อยละ 70 ของค่าจ้าง ตามกฎหมาย และต้องขอขอบพระคุณ นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และสำนักงานประกันสังคมเป็นอย่างสูง ที่ทำให้ตนได้รับเงินกรณีว่างงาน เพราะเงินที่ได้รับ ได้นำมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวันบรรเทาความเดือดร้อน ของครอบครัวในขณะที่อยู่ระหว่างการหางานทำ”



29/Mar/2021

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา