ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

เคลียร์ชัดประกันสังคมฉีดวัคซีนโควิด เงื่อนไขอย่างไร? , กรุงเทพธุรกิจ 15 พค. 64

ตอบคำถามคาใจเรื่อง 'ประกันสังคมฉีดวัคซีนโควิด' แก่ผู้ประกันตนม.33 ว่าจะฉีดเมื่อไหร่ ฉีดยี่ห้ออะไร และไม่ฉีดได้ไหม?


การระบาดโรคโควิด-19 อยู่กับคนไทย และคนทั่วโลกมาเป็นระยะเวลา 2 ปีแล้ว ในช่วงแรกของแผนการจัดการโรคระบาดคือการควบคุมการแพร่เชื้อในวงกว้าง และระยะต่อมาคือการฉีดวัคซีนป้องกัน และสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย 

 

สำหรับประเทศไทย วันที่ 14 พฤษภาคม 2564 ศบค. รายงานข้อมูลจำนวนผู้ที่ได้รับฉีดวัคซีนโควิด-19 สะสมรวม รวม 2,124,732 โดส ใน 77 จังหวัด แบ่งเป็น 


จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 : 1,416,432 ราย


จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 : 708,300 ราย 


หากนับตัวเลข และเทียบกับประชากรทั้งประเทศ จำนวนผู้ที่ได้รับวัคซีนยังน้อยกว่าในหลายๆ ประเทศที่เดินหน้าฉีดวัคซีนไปแล้วมากกว่า 50% 


แต่ถึงอย่างไรก็ตาม พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็เร่งแผนปูพรมฉีดวัคซีนให้ทั่วถึง 


แผนฉีดวัคซีนของผู้ประกันตน ม.33


ล่าสุดนอกกจากกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ กลุ่มผู้สูงอายุที่ลงทะเบียนในแอพพลิเคชั่นหมอพร้อมแล้ว ยังเพิ่มกลุ่มอาชีพเสี่ยงเพื่อให้ได้รับวัคซีนก่อน และถัดมาก็คือกลุ่มของผู้ประกันตนม.33 


เมื่อวันที่ 12 พ.ค. 64 ที่ผ่านมา รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าจากที่ประชุมร่วมกันระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ภาคเอกชน เห็นชอบว่าจะเพิ่มกลุ่มคนทำงานที่มีอยู่ในระบบ "ประกันสังคม" ทั้งหมด 16 ล้านคน เป็นกลุ่มเป้าหมายต่อไปในการฉีดวัคซีนโควิด-19


เคลียร์ชัดตอบคำถามคาใจผู้ประกันตน ม.33


เพื่อให้เกิดความเข้าใจโดยทั่วกัน สำนักงานประกันสังคมได้ตอบคำถามเกี่ยวกับ การฉีดวัคซีนโควิด-19 ของผู้ประกันตนม.33 ดังนี้

 

1. พนักงานใหม่/ผู้ประกันตนใหม่ ที่เพิ่งเข้าระบบประกันสังคมมีสิทธิไหม (ถ้านับอายุผู้ประกันตน นับจากวันที่เท่าไหร่)

 

ตอบ : กรณีผู้ประกันตนใหม่ นายจ้างไม่พบข้อมูลในระบบ E-service  ขอให้นายจ้าง เพิ่มจำนวนผู้ประกันตนได้ แต่ให้ใช้วิธีการ อัพโหลดไฟล์ แทน การบันทึกรายคน


2. ผู้ประกันตนที่เพิ่งลาออก ว่างงาน หรืออื่นๆ ที่ขาดการนำส่ง แต่ยังขาดส่งไม่เกิน 6 เดือน ยังมีสิทธิรักษาพยาบาล ฉีดได้ไหม


ตอบ :  การสำรวจครั้งนี้ สำรวจเฉพาะ ผู้ประกันตน 33 กรณีไม่ได้เป็นผู้ประกันตน33ในสำนักงานประกันสังคมแล้ว ไม่ต้องแจ้งชื่อ
 

3. รัฐบาลจะฉีดให้เมื่อไหร่ มีแผนอย่างไร


ตอบ :  รอแนวทางที่ชัดเจนอีกครั้ง


4. ถ้าไม่ลงทะเบียนรอบนี้ แล้วจะมีโอกาสลงทะเบียนอีกไหม


ตอบ :  เร่งรัดให้ส่งข้อมูลภายในวันที่ 14 พ.ค 64


5.แจ้งความประสงค์แล้ว จะได้ฉีดเมื่อใด ที่ไหน ยี่ห้อใด


ตอบ : การสำรวจครั้งนี้เป็นการรวบรวมข้อมูลความต้องการเพื่อใช้ในการพิจารณาจัดทำแผนการกระจายวัคซีนของกระทรวงสาธารณสุขให้ครอบคลุมทุกกลุ่ม


6.ผู้ประกันตนต่างด้าวสามารถแจ้งความประสงค์ในการสำรวจครั้งนี้ได้หรือไม่


ตอบ : แจ้งได้ โดยกรอกเลขบัตรประกันสังคมแทนเลขบัตรประชาชน

  
7.ลงทะเบียนหมอพร้อมแล้ว แจ้งความประสงค์ในการสำรวจกับสำนักงานประกันสังคมได้หรือไม่


ตอบ : ได้ เพราะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะนำข้อมูลตรวจสอบกับของหมอพร้อมอีกครั้ง


ที่มา : สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน

 



15/May/2021

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา