ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ยืนยันการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไปครั้งที่ 25 ของประเทศ และเป็นครั้งที่ 3 ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดให้มีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 ตามความในพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2556 ที่ให้ยุบสภาผู้แทนราษฎร ณ วันที่ 9 ธันวาคม 2556

 

โดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง กำหนดการรับสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อ ในวันที่ 23-27 ธันวาคม 2556 ระหว่าง 08.30 น. ถึง 16.30 น. ณ อาคารกีฬาเวสน์ 2 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร และการรับสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ในวันที่ 28 ธันวาคม 2556 - 1 มกราคม 2557 ระหว่าง 08.30 น. ถึง 16.30 น. ณ สถานที่ที่ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งกำหนด

 

การเลือกตั้งครั้งนี้ คณะกรรมการการเลือกตั้ง จัดให้มีการเลือกตั้งในวันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 ณ ที่เลือกตั้งกลางในเขตเลือกตั้ง

 

และกำหนดให้เลือกตั้งล่วงหน้า วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม 2557 ณ ที่เลือกตั้งกลางนอกเขตจังหวัด โดยกำหนดลงคะแนนตั้งแต่เวลา 8.00 - 15.00 นาฬิกา

 

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยในครั้งนี้ แบบแบ่งเขตในครั้งนี้มีรูปแบบการลงคะแนนเป็นแบบ "เขตเดียวเบอร์เดียว" คือ การแบ่งเขตเลือกตั้งนั้นจะแบ่งเป็น 375 เขต โดยยึดหลักให้แต่ละเขตนั้นมีจำนวนประชากรที่ใกล้เคียงกันให้มากที่สุด ดังนั้นในแต่ละเขตจะมีผู้แทนได้เขตละ 1 คนอย่างเท่าเทียมกัน และผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง สามารถกาบัตรเลือกผู้สมัครได้เพียงคนเดียว

 

และในการเลือกตั้งครั้งนี้มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนเขตเลือกตั้งจากครั้งการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรปี พ.ศ. 2554 ใน 2 จังหวัด ได้แก่จังหวัดนนทบุรีที่เดิมมี 6 เขตเลือกตั้ง เพิ่มเป็น 7 เขตเลือกตั้ง และจังหวัดสุโขทัยเขตเลือกตั้งลดลงจาก 4 เขตเลือกตั้ง เป็น 3 เขตเลือกตั้ง

 

แต่ละจังหวัด มีจำนวนเขตเลือกตั้งดังต่อไปนี้

 

กรุงเทพมหานคร 33 เขต

 

จังหวัดนครราชสีมา 15 เขต

 

จังหวัดอุบลราชธานี 11 เขต

 

จังหวัดเชียงใหม่, จังหวัดขอนแก่น 10 เขต

 

จังหวัดอุดรธานี, จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดบุรีรัมย์  9 เขต

 

จังหวัดชลบุรี, จังหวัดร้อยเอ็ด, จังหวัดศรีสะเกษ, จังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดสงขลา 8 เขต

 

จังหวัดชัยภูมิ, จังหวัดเชียงราย, จังหวัดนนทบุรี, จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดสกลนคร 7 เขต

 

จังหวัดนครสวรรค์, จังหวัดสุราษฎร์ธานี, จังหวัดปทุมธานี,จังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดกาฬสินธุ์ 6 เขต

 

จังหวัดกาญจนบุรี, จังหวัดนครปฐม, จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดมหาสารคาม, จังหวัดราชบุรี และจังหวัดสุพรรณบุรี 5 เขต

 

จังหวัดกำแพงเพชร, จังหวัดฉะเชิงเทรา, จังหวัดตรัง, จังหวัดนครพนม, จังหวัดนราธิวาส, จังหวัดปัตตานี, จังหวัดระยอง, จังหวัดลพบุรี, จังหวัดลำปาง, จังหวัดเลย และจังหวัดสระบุรี  4 เขต

 

จังหวัดกระบี่, จังหวัดจันทบุรี, จังหวัดชุมพร, จังหวัดตาก, จังหวัดน่าน, จังหวัดประจวบคีรีขันธ์, จังหวัดปราจีนบุรี, จังหวัดพะเยา, จังหวัดพัทลุง, จังหวัดพิจิตร, จังหวัดอุตรดิตถ์, จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดแพร่, จังหวัดยโสธร, จังหวัดยะลา, จังหวัดสมุทรสาคร, จังหวัดสระแก้ว, จังหวัดสุโขทัย, จังหวัดหนองคาย และจังหวัดหนองบัวลำภู  3 เขต

 

จังหวัดชัยนาท, จังหวัดภูเก็ต, จังหวัดมุกดาหาร, จังหวัดลำพูน, จังหวัดสตูล จังหวัดอ่างทอง, จังหวัดอำนาจเจริญ, จังหวัดอุทัยธานี และจังหวัดบึงกาฬ 2 เขต

 

จังหวัดตราด, จังหวัดนครนายก, จังหวัดพังงา, จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดระนอง, จังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดสมุทรสงคราม 1 เขต

 

อนึ่ง การเลือกตั้งครั้งนี้ อดีตกรรมการบริหารพรรคที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี จากพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทยพัฒนา และพรรคมัชฌิมาธิปไตย (บ้านเลขที่ 111 บ้านเลขที่ 109) ได้รับสิทธิทางการเมืองกลับคืนมาทั้งหมด

 

ข้อมูลจากวิกิพีเดีย



22/Dec/2013

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา