ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

6 เมษายน 2565 : แก้ปัญหาขาดแรงงานต่างด้าว 2 มิติ MOU นำเข้าเพิ่ม-ผ่อนผันอยู่ต่อ , ประชาชาติธุรกิจ

กรมการจัดหางานยันไทยมีความพร้อมแก้แรงงานต่างด้าวขาดแคลน ส่งดีมานด์นำเข้าตาม MOU แล้วเกือบ 1.5 แสนคน และผ่อนผันให้แรงงานเดิมอยู่ต่อ


วันที่ 6 เมษายน 2565 จากกรณีแรงงานต่างด้าวลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย เป็นเหตุให้ประชาชนมีความกังวลในเรื่องการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รวมทั้งการตั้งขอสังเกตถึงกระบวนการนำเข้าแรงงานข้ามชาติว่ามีความพร้อมและความรวดเร็วเพียงพอหรือไม่ เกี่ยวกับเรื่องนี้ นายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน เปิดเผยว่า กระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางาน มีการบริหารจัดการอย่างป็นระบบ และคำนึงถึงปัญหาขาดแคลนแรงงานของนายจ้าง สถานประกอบการ และความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19


1. การเปิดให้นำเข้าแรงงานข้ามชาติ 3 สัญชาติ (เมียนมา กัมพูชา และลาว) มาทำงานกับนายจ้างในประเทศตาม MOU


ล่าสุดมีการยื่นดีมานด์ขออนุญาตจ้างคนต่างด้าวคนตามระบบ MOU แล้ว 167,961 คน โดยแบ่งเป็นนายจ้างที่มีความต้องการจ้างแรงงานสัญชาติเมียนมา 117,029 คน กัมพูชา 38,933 คน และลาว 11,999 คน มีการอนุญาตตามคำร้องและส่งให้ประเทศต้นทางรวม 144,709 คน ซึ่งแรงงานสัญชาติกัมพูชาและลาวมีการทยอยเข้ามามาทำงานตาม MOU แล้วอย่างต่อเนื่องแล้วกว่า 6 พันคน


อย่างไรก็ดีแรงงานข้ามชาติสัญชาติเมียนมาซึ่งเป็นที่ต้องการของนายจ้างมากที่สุด ยังคงติดอุปสรรคด้านความพร้อมในการจัดส่งแรงงานจากผลกระทบความไม่สงบภายในประเทศเมียนมา ซึ่งการนำเข้าแรงงานข้ามชาติถือเป็นความร่วมมือ 2 ฝ่าย ทั้งประเทศไทย และประเทศต้นทางของแรงงาน ดังนั้น ฝ่ายไทยไม่สามารถแก้ไขให้ได้


2. การผ่อนผันอนุญาตให้แรงงานข้ามชาติ 3 สัญชาติ (เมียนมา กัมพูชา และลาว) ที่อยู่ในประเทศไทย ซึ่งมีจำนวน 2,132,469 คน สามารถขออนุญาตทำงานและขออยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ต้องเดินทางกลับประเทศ


เป็นทั้งการรักษาจำนวนแรงงานที่มีอยู่ในประเทศ และเพิ่มจำนวนแรงงานไปพร้อมกัน ส่วนการตั้ง One Stop Service ณ ประเทศต้นทาง เป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อนขณะนี้ยังไม่สามารถทำได้ เพราะเกี่ยวข้องถึงการบริหารจัดการของรัฐบาลทั้ง 3 ประเทศ


นายไพโรจน์กล่าวด้วยว่า ขอความร่วมมือนายจ้างหรือสถานประกอบการที่คิดจ้างแรงงานผิดกฎหมาย ให้คำนึงถึงความปลอดภัยด้านสุขภาพของคนในประเทศ ลดความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยไม่จ้างแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาโดยผิดกฏหมาย


“กรมการจัดหางานมีกระบวนการนำแรงงานต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศตาม MOU อย่างเป็นระบบ รวมทั้งมาตรการใช้กำลังแรงงานที่มีอยู่ในประเทศเป็นลำดับแรก โดยมีการวางแผนให้ประเทศไทยมีแรงงานต่างด้าวในระบบการทำงานได้ถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566


ซึ่งคนต่างด้าวที่ได้รับผ่อนผันตามมติคณะรัฐมนตรีในวาระต่าง ๆ หากดำเนินการตามขั้นตอนภายในระยะเวลาที่กำหนด ก็จะสามารถอยู่ในราชอาณาจักรและทำงานในประเทศไทยได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ต้องหลบซ่อน มีสวัสดิการและสิทธิตามกฎหมายแรงงานไม่ต่างจากคนไทย” อธิบดีกรมการจัดหางานกล่าว

 



25/Apr/2022

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา