ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

พระราชกฤษฎีกา กำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบ ประเภทของประโยชน์ทดแทน ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทน ของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖

เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2556 สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน มีการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบประเภทของประโยชน์ทดแทน ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556

สาระสำคัญ คือ

1. สำนักงานประกันสังคมได้ดำเนินการประกันสังคมมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2554 โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนแรงงานนอกระบบที่สมัครใจเข้าเป็นผู้ประกันตน สามารถเลือกส่งเงินสมทบ เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ 2 ทางเลือก จากนโยบายของรัฐบาลที่ประสงค์จะให้ประชาชนแรงงานนอกระบบมีการออม เพื่อเป็นหลักประกันรายได้เมื่อสูงอายุ


ประกอบกับบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 กำหนดให้มีสิทธิเงินบำเหน็จและบำนาญชราภาพแก่ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม ซึ่งผู้ประกันตนภาคบังคับที่เป็นลูกจ้างในสถานประกอบการจะเริ่มได้สิทธิ ในเดือนธันวาคม 2556 แต่ผู้ประกันตนซึ่งเป็นแรงงานนอกระบบได้รับสิทธิเงินบำเหน็จชราภาพตามทางเลือกที่ 2 เพียงกรณีเดียว


2. ดังนั้นเพื่อมิให้เกิดความเหลื่อมล้ำในระหว่างผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม จึงเห็นสมควรให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาฯ ให้สิทธิเงินบำนาญชราภาพ ตามความเหมาะสม แก่ผู้ประกันตนซึ่งเป็นแรงงานนอกระบบ และเป็นไปตามข้อเสนอของประชาชนแรงงานนอกระบบ


โดยการปรับปรุงสิทธิประโยชน์เดิม และเพิ่มทางเลือกที่ 3 ในระบบประกันสังคมมาตรา 40 ซึ่งมีหลักการจัดเก็บเงินสมทบจาก 2 ฝ่าย ได้แก่ ผู้ประกันตนและรัฐบาลในอัตราเดือนละ 200 บาท (ผู้ประกันตนจ่าย 100 บาท/เดือน และรัฐบาลสมทบ 100 บาท/เดือน) เพื่อให้ได้รับสิทธิเงินบำนาญชราภาพ ซึ่งจะส่งผลให้มีหลักประกันความมั่นคงในชีวิต


3. กลุ่มเป้าหมาย กำหนดให้ประชาชนทั่วไป เช่น เกษตรกร ผู้ขับรถรับจ้าง ค้าขาย หาบเร่ แผงลอย ฯลฯ ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 15-60 ปีบริบูรณ์ สามารถสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40


และมีบทเฉพาะกาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาฯ มีผลใช้บังคับ หากในวันที่ประชาชนสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตน ผู้ใดมีอายุเกิน 60 ปี ให้มีสิทธิเป็นผู้ประกันตนได้ และสามารถจ่ายเงินสมทบย้อนหลังได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2555 เพื่อเป็นของขวัญให้แก่แรงงาน ซึ่งขาดโอกาสในการสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตนในช่วงที่ประเทศประสบอุทกภัย สามารถสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ได้


4. สิทธิประโยชน์ มีการปรับปรุงเป็น 3 ทางเลือก ดังนี้


ทางเลือก 1 จ่าย 100 บาท (สมทบจากผู้ประกันตน 70 บาทและจากรัฐบาล 30 บาท)


- กรณีเจ็บป่วย เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาล ตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป วันละ 200 บาท ปีหนึ่งไม่เกิน 30 วัน (บริการทางการแพทย์ใช้สิทธิสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ)
- กรณีทุพพลภาพ เงินทดแทนการขาดรายได้ระหว่างเดือนละ 500 บาท ถึง 1,000 บาท เป็นระยะเวลา 15 ปี (ขึ้นอยู่กับระยะเวลาส่งเงินสมทบ)
- กรณีตาย เงินค่าทำศพ 20,000 บาท (กรณีถึงแก่ความตายจ่ายเงินสมทบเพียง 1 เดือน)


ทางเลือก 2 จ่าย 150 บาท (สมทบจากผู้ประกันตน 100 บาท และจากรัฐบาล 50 บาท)

- ประโยชน์เช่นเดียวทางเลือกที่ 1 และเพิ่มเงินบำเหน็จกรณีชราภาพ
- จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพ ประกอบด้วยเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่าย และผลประโยชน์ตอบแทนรายปี คืนให้แก่ผู้ประกันตน เมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์และลาออกจากการเป็นผู้ประกันตน


ทางเลือก 3 จ่าย 200 บาท (สมทบจากผู้ประกันตน 100 บาทและจากรัฐบาล 100 บาท) ให้ความคุ้มครองเฉพาะกรณีชราภาพเท่านั้น


- ผู้สมัครต้องมีอายุ 15-60 ปีบริบูรณ์ (มีบทเฉพาะกาลในปีแรก ผู้อายุเกิน 60 ปี ขึ้นไป มีสิทธิสมัครและจ่ายเงินสมทบย้อนหลังได้)
- ประโยชน์ทดแทน 1 กรณี คือ กรณีชราภาพ โดยผู้ประกันตนจะได้รับบำเหน็จหรือบำนาญตามเงื่อนไขการเกิดสิทธิ เมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และแจ้งสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน


ทั้งนี้ เปิดโอกาสให้ผู้ประกันตนมีทางเลือก ได้แก่ เลือกชุดที่ 1 หรือ ชุดที่ 2 หรือ ชุดที่ 3 อย่างใดอย่างหนึ่ง เลือกชุดที่ 1 และ 3 หรือเลือกชุดที่ 2 และ 3


อ่านพระราชกฤษฎีกาทั้งฉบับได้
ที่นี่ ครับ

 

 



16/Nov/2013

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา