ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ขณะนี้กฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเล พ.ศ.2557 อยู่ระหว่างรอการประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อบังคับใช้ต่อไป

สาระสำคัญของกฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเล คือ ห้ามจ้างลูกจ้างอายุต่ำกว่า 18 ปี, ให้ความคุ้มครองลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปในเรือประมงทุกลำ ให้จัดเวลาพักไม่น้อยกว่า 10 ชั่วโมง ในระหว่างการทำงาน 24 ชั่วโมง และไม่น้อยกว่า 77 ชั่วโมงต่อสัปดาห์, ให้จัดทำทะเบียนลูกจ้าง เอกสารการจ่ายค่าจ้างและค่าทำงานในวันหยุดเป็นภาษาไทย, ให้ทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือ, ให้ลูกจ้างมีการรายงานตัวต่อพนักงานตรวจแรงงานปีละครั้ง และให้จัดสวัสดิการน้ำดื่ม ห้องส้วม เวชภัณฑ์

 

ทั้งนี้การแก้กฎกระทรวงดังกล่าวเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์และมุ่งหวังให้ ประเทศสหรัฐอเมริกาพิจารณาปรับไทยพ้นจากกลุ่มประเทศที่มีสถานการณ์การค้า มนุษย์ในระดับเลวร้ายที่สุด (ระดับ Tier 3)

 

กฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเล พ.ศ. ….

 

สาระสำคัญของกฎกระทรวง

 

1. ให้ยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2541) โดยยกเลิกข้อยกเว้นที่มิให้ใช้บังคับตามกฎกระทรวงกรณีที่มีลูกจ้างน้อยกว่า 20 คน และเรือที่ไปประจำอยู่นอกราชอาณาจักรติดต่อกันตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไป และยกเลิกข้อกำหนดที่ให้นายจ้างสามารถจ้างเด็กอายุต่ำกว่า 16 ปี ทำงานในเรือประมงได้ โดยกำหนดให้ห้ามนายจ้างรับเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีทำงาน ในเรือประมง รวมทั้งกำหนดให้มีการคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเลให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ ในกฎกระทรวงนี้

 

2. กำหนดให้มีชั่วโมงพักการทำงานในระหว่างเวลาการทำงาน

 

3. กำหนดให้นายจ้างจัดทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือ และให้นายจ้างนำลูกจ้างไปรายงานตัวต่อพนักงานตรวจแรงงานปีละหนึ่งครั้งนับ แต่วันที่ทำสัญญาจ้าง รวมทั้งให้นายจ้างจัดทำทะเบียนลูกจ้าง เอกสารเกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้างและค่าทำงานในวันหยุด

 

4. กำหนดให้นายจ้างจัดสวัสดิภาพ สร้างความปลอดภัยและสุขอนามัย และการป้องกันอุบัติเหตุในการทำงานของแรงงานที่ทำงานบนเรือประมง โดยกำหนดให้นายจ้างจัดสวัสดิการ น้ำดื่ม ห้องส้วม เวชภัณฑ์และยา ในจำนวนที่เพียงพอ และจัดให้ลูกจ้างมีความรู้เกี่ยวกับสภาพการทำงาน การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัยบนเรือก่อนทำงาน

 

ดูกฎกระทรวงทั้งฉบับได้ที่นี่ครับ click ตรงนี้ครับ



28/Dec/2014

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา