ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

กฎกระทรวงว่าด้วยรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคนที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร กับ ในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร

เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2558 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่กฎกระทรวงว่าด้วยรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน ที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 (2) (3) และ (10) แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2542 และมาตรา 5 (14) แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2547

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

       
ข้อ 1 กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป


       
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 6 แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคนที่จดทะเบียน ในเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2550 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

 

“ข้อ 6 รถยนต์รับจ้างต้องไม่ติดตั้งระบบป้องกันการเปิดประตูรถจากภายในและกระจกกัน ลมทุกด้านต้องเป็นกระจกที่โปร่งใสสามารถมองเห็นสภาพภายในรถและสภาพการจราจร ภายนอกรถได้ชัดเจน และห้ามมิให้นําวัสดุอื่นใดมาติดหรือบังส่วนหนึ่งส่วนใดของกระจก เว้นแต่เป็นการติดเครื่องหมาย หรือเอกสาร ตามที่กฎหมายกําหนด หรือการติดวัสดุสําหรับบังหรือกรองแสงแดดที่กระจกกันลมด้านหน้าตามที่กรมการ ขนส่งทางบกประกาศกําหนด”


       
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 9 แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคนที่จดทะเบียน ในเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2550 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

 

“ข้อ 9 รถยนต์รับจ้างต้องมีและใช้เครื่องสื่อสารตามกฎหมายว่าด้วยวิทยุคมนาคมตามแบบ หรือชนิดที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือเครื่องสื่อสารประเภทอื่น ที่กรมการขนส่งทางบกให้ความเห็นชอบ”


       
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 10 แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคนที่จดทะเบียน ในเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2550


       
ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 14 แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคนที่จดทะเบียน ในเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2550 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

 

“ข้อ 14 รถยนต์รับจ้างตามกฎกระทรวงนี้ ให้มีอายุการใช้งานได้ไม่เกินเก้าปี นับแต่วันที่รถยนต์นั้นจดทะเบียนครั้งแรก ในกรณีที่รถยนต์รับจ้างครบอายุการใช้งานตามวรรคหนึ่ง ให้เจ้าของรถมีหน้าที่ส่งคืนแผ่นป้ายทะเบียนรถต่อนายทะเบียนและนําใบคู่มือ จดทะเบียนรถมาแสดงต่อนายทะเบียนเพื่อบันทึกหลักฐาน การระงับทะเบียนหรือเปลี่ยนประเภทรถภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ครบอายุการใช้งาน”


       
ข้อ 6 ให้ยกเลิกความในข้อ 15 แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคนที่จดทะเบียน ในเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2550 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

 

“ข้อ 15 ให้รัฐมนตรีมีอํานาจกําหนดอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารสําหรับรถยนต์รับจ้าง และค่าบริการอื่น ดังต่อไปนี้

(1) ค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารให้กําหนดโดยถือเกณฑ์ระยะทาง 2 กิโลเมตรแรกไม่เกิน 50 บาทและกิโลเมตรต่อๆไป ไม่เกินกิโลเมตรละ 12 บาท ในกรณีที่ไม่สามารถเคลื่อนที่หรือเดินรถต่อไปได้ตามปกติวิสัยในอัตรานาทีละ ไม่เกิน 3 บาท

(2) ค่าบริการอื่น ให้กําหนด ดังต่อไปนี้

(ก) กรณีการจ้างผ่านศูนย์บริการสื่อสารหรือระบบสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ รับจ้างกําหนดได้ไม่เกิน 50 บาท

(ข) กรณีการจ้างจากท่าอากาศยานหรือสถานที่ที่กระทรวงคมนาคมประกาศกําหนด โดยรถยนต์รับจ้างนั้นจอดรอคนโดยสารอยู่ในสถานที่ดังกล่าว ณ จุดที่ได้จัดไว้เป็นการเฉพาะกําหนดได้ไม่เกิน 100 บาท

การกําหนดอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารและค่าบริการอื่นตามวรรคหนึ่ง ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา การเรียกเก็บค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารให้เรียกเก็บตามจํานวนเงินรวมที่แสดงไว้ ในมาตรค่าโดยสาร ส่วนในกรณีที่มีการเรียกเก็บค่าบริการอื่น ให้เรียกเก็บเพิ่มขึ้นจากค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารที่แสดงไว้ในมาตรค่าโดยสารดังกล่าว”


       
ข้อ 7 รถยนต์รับจ้างที่จดทะเบียนไว้ก่อนวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ให้มีอายุ การใช้งาน ดังต่อไปนี้

(1) รถยนต์รับจ้างที่จดทะเบียนตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 ถึงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ให้มีอายุการใช้งานสิบสองปีนับแต่วันที่รถยนต์นั้นจดทะเบียนครั้งแรก

(2) รถยนต์รับจ้างที่จดทะเบียนตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ถึงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ให้มีอายุการใช้งานต่อไปได้จนถึงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2560
       

ให้ไว้ ณ วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

 

download กฎกระทรวงได้ที่นี่


       
นอกจากนี้ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษายังได้ออกประกาศกฎกระทรวงว่าด้วยรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคนที่จดทะเบียนในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2558

 

โดยมีเนื้อหาที่แตกต่าง อาทิ ข้อ 3 ในกฎกระทรวงนี้ “รถยนต์รับจ้าง” หมายความว่า รถยนต์รับจ้างประเภทรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสาร ไม่เกินเจ็ดคน (TAXI-METER) ข้อ 4 กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับแก่รถยนต์รับจ้างที่จดทะเบียนในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร


       
ข้อ 5 รถยนต์รับจ้างต้องเป็นเก๋งสองตอน รถเก๋งสองตอนแวน รถเก๋งสามตอน รถเก๋งสามตอนแวน รถยนต์นั่งสองตอน รถยนต์นั่งสองตอนแวน รถยนต์นั่งสามตอน รถยนต์นั่งสามตอนแวน หรือรถลักษณะอื่นตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกให้ความเห็นชอบ

 

ทั้งนี้ต้องมีประตูไม่น้อยกว่าสี่ประตู ความกว้างไม่เกิน 2.50 เมตร ความยาวไม่เกิน 6 เมตร ความสูงไม่เกิน 2 เมตรและเครื่องยนต์ต้องมีความจุของกระบอกสูบรวมกันไม่ต่่ำกว่า 1,500 ลูกบาศก์เซนติเมตร

 

ในกรณีที่รถยนต์รับจ้างเป็นรถยนต์นั่งสองตอน รถยนต์นั่งสองตอนแวน รถยนต์นั่งสามตอนหรือรถยนต์นั่งสามตอนแวน เบาะนั่งต้องมีระยะห่างจากพื้นถึงส่วนบนสุดของเบาะนั่งไม่น้อยกว่า 25 เซนติเมตร และมีระยะห่างจากส่วนต่ำสุดของเบาะนั่งถึงเพดานไม่น้อยกว่า 85 เซนติเมตร


       
ข้อ 7 รถยนต์รับจ้างอาจติดตั้งอุปกรณ์กั้นระหว่างที่นั่งผู้ขับรถกับคนโดยสารภายในห้องโดยสารก็ได้ ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองความ ปลอดภัยในชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินของผู้ขับรถหรือคนโดยสาร ให้นายทะเบียนมีอํานาจกําหนดให้รถยนต์รับจ้างตามข้อ 5 ประเภทใดต้องติดตั้งอุปกรณ์ตามวรรคหนึ่งได้

 

ทั้งนี้โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาคุณลักษณะ วิธีการติดตั้ง และแบบของอุปกรณ์ตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กรมการขนส่งทางบกกําหนดหรือให้ความเห็นชอบ


       
ข้อ 8 รถยนต์รับจ้างต้องมีและใช้มาตรค่าโดยสาร โดยติดตั้งไว้ด้านซ้ายของผู้ขับรถมาตรค่าโดยสารตามวรรคหนึ่งต้องเป็นแบบหรือ ชนิดที่แสดงจํานวนเงินค่าโดยสารได้ตามอัตราระยะทาง และระยะเวลาที่กําหนดไว้ในข้อ 17 และได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก
       


ข้อ 9 รถยนต์รับจ้างอาจมีและใช้เครื่องสื่อสารตามกฎหมายว่าด้วยวิทยุคมนาคมตามแบบ หรือชนิดที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือเครื่องสื่อสารประเภทอื่นที่กรมการขนส่งทางบก ให้ความเห็นชอบก็ได้รถยนต์รับจ้างที่มีและใช้เครื่องสื่อสารตามวรรคหนึ่ง ต้องแสดงเครื่องหมายการใช้เครื่องสื่อสาร ณ ที่ที่คนโดยสารเห็นได้ชัดเจน ทั้งนี้ ตามลักษณะ ขนาด และตําแหน่งตามที่นายทะเบียนประกาศกําหนด
       


ข้อ 10 รถยนต์รับจ้างให้ใช้สี ดังต่อไปนี้

 

(1) รถยนต์รับจ้างของบุคคลธรรมดา ให้ใช้สีแดงและสีเหลืองเป็นสีของตัวถังรถ ดังต่อไปนี้ (ก) สีแดงให้เริ่มตั้งแต่ด้านล่างสุดของตัวถังรถจนถึงที่ปิดเปิดประตูเป็นแนว ขนานกับพื้นตลอดรอบตัวรถ (ข) สีเหลืองให้เริ่มถัดต่อจากสีแดงตาม (ก) จนถึงด้านบนของหลังคารถ

 

(2) รถยนต์รับจ้างของนิติบุคคล ให้ใช้สีน้ำเงินและสีเหลืองเป็นสีของตัวถังรถ ดังต่อไปนี้ (ก) สีน้ำเงินให้เริ่มตั้งแต่ด้านล่างสุดของตัวถังรถจนถึงที่ปิดเปิดประตูเป็น แนวขนานกับพื้นตลอดรอบตัวรถ (ข) สีเหลืองให้เริ่มถัดต่อจากสีน้ำเงินตาม (ก) จนถึงด้านบนของหลังคารถ การแก้ไขทะเบียนเปลี่ยนประเภทรถยนต์รับจ้างเป็นรถยนต์ประเภทอื่นต้องเปลี่ยน สีของตัวถังรถ และต้องไม่มีลักษณะเหมือนกับที่กําหนดไว้ในวรรคหนึ่ง


       
ข้อ 11 รถยนต์รับจ้างต้องมีเครื่องหมายเป็นอักษรโรมันว่า “TAXI-METER” อยู่ภายในกรอบสีเหลือง ขนาดไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร × 15 เซนติเมตร ติดตรึงไว้แนวนอนบนหลังคารถ ให้เห็นได้จากทางหน้ารถ ตัวอักษรคําว่า “TAXI-METER” ให้ใช้สีดํามีขนาดสูงไม่น้อยกว่า 7 เซนติเมตรเส้นของตัวอักษรหนาไม่น้อยกว่า 1.20 เซนติเมตร และให้มีแสงไฟพร้อมด้วยกรอบที่บังคับแสงให้เห็นเครื่องหมายนี้ได้ชัดเจนใน เวลากลางคืน และเครื่องหมายอื่น ตามลักษณะ ขนาด และตําแหน่งตามระเบียบที่อธิบดีกรมการขนส่งทางบกกําหนดการแก้ไขทะเบียน เปลี่ยนประเภทรถยนต์รับจ้างเป็นรถยนต์ประเภทอื่นต้องนําเครื่องหมาย ตามวรรคหนึ่งออก
       


ข้อ 12 ในกรณีที่ผู้ขับรถยนต์รับจ้างไม่ประสงค์จะทําการรับจ้างบรรทุกคนโดยสารใน ช่วงระยะเวลาใด ให้แสดงเครื่องหมายงดรับจ้างบรรทุกคนโดยสารไว้ที่หน้ารถด้านซ้ายของผู้ขับรถ โดยให้สามารถมองเห็นได้ชัดเจนจากภายนอกรถทั้งในเวลากลางวันและกลางคืนของช่วงระยะเวลานั้น

 

เครื่องหมายงดรับจ้างบรรทุกคนโดยสารตามวรรคหนึ่ง ต้องมีลักษณะเป็นแผ่นป้ายรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีพื้นสีขาวขนาดไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร × 22 เซนติเมตร และมีเส้นกรอบสีแดงหนาไม่น้อยกว่า 0.5 เซนติเมตร ตรงกลางมีตัวอักษรสีแดงคําว่า “งดรับจ้าง” ขนาดสูงไม่น้อยกว่า 5 เซนติเมตรและเส้นของตัวอักษรหนาไม่น้อยกว่า 0.6 เซนติเมตร
      


ข้อ 13 รถยนต์รับจ้างตามกฎกระทรวงนี้ ให้มีอายุการใช้งานได้ไม่เกินเก้าปีนับแต่วันที่รถยนต์นั้นจดทะเบียนครั้ง แรกในกรณีที่รถยนต์รับจ้างครบอายุการใช้งานตามวรรคหนึ่ง ให้เจ้าของรถมีหน้าที่ส่งคืนแผ่นป้ายทะเบียนรถต่อนายทะเบียนและนําใบคู่มือ จดทะเบียนรถมาแสดงต่อนายทะเบียนเพื่อบันทึกหลักฐานการระงับทะเบียนหรือ เปลี่ยนประเภทรถภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ครบอายุการใช้งาน


       
ข้อ 14 ให้รัฐมนตรีมีอํานาจกําหนดอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารสําหรับรถยนต์รับจ้าง และค่าบริการอื่น ดังต่อไปนี้

 

(1) ค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารให้กําหนดโดยถือเกณฑ์ระยะทาง ๒ กิโลเมตรแรกไม่เกิน 100 บาท และกิโลเมตรต่อๆ ไป ไม่เกินกิโลเมตรละ 20 บาท ในกรณีที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ หรือเดินรถต่อไปได้ตามปกติวิสัยในอัตรานาทีละไม่เกิน 5 บาท

 

(2) ค่าบริการอื่น ให้กําหนด ดังต่อไปนี้ (ก) กรณีการจ้างผ่านศูนย์บริการสื่อสารหรือระบบสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ของผู้รับจ้าง กําหนดได้ไม่เกิน 50 บาท (ข) กรณีการจ้างจากท่าอากาศยานหรือสถานที่ที่กระทรวงคมนาคมประกาศกําหนด โดยรถยนต์รับจ้างนั้นจอดรถรอคนโดยสารอยู่ในสถานที่ดังกล่าว ณ จุดที่ได้จัดไว้เป็นการเฉพาะกําหนดได้ไม่เกิน 150 บาท (ค) กรณีการจ้างในเวลากลางคืนตามที่กระทรวงคมนาคมประกาศกําหนด กําหนดได้ไม่เกิน 100 บาท

 

การกําหนดอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารและค่าบริการอื่นตามวรรคหนึ่งให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา การเรียกเก็บค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารให้เรียกเก็บตามจํานวนเงินรวมที่แสดงไว้ ในมาตรค่าโดยสาร ส่วนในกรณีที่มีการเรียกเก็บค่าบริการอื่น ให้เรียกเก็บเพิ่มขึ้นจากค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารที่แสดงไว้ในมาตรค่าโดยสารดังกล่าว
       


ข้อ 15 ให้เจ้าของรถยนต์รับจ้างติดอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารและค่าบริการอื่นตาม ข้อ 14 ในรถ ณ ที่ที่คนโดยสารเห็นได้ชัดเจน ทั้งนี้ ตามลักษณะ ขนาด และตําแหน่งที่นายทะเบียนประกาศกําหนด
       


ข้อ 16 ให้รถยนต์รับจ้างที่จดทะเบียนก่อนวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ให้มีอายุการใช้งาน ดังต่อไปนี้ (1) รถยนต์รับจ้างที่จดทะเบียนตั้งแต่วันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2546 ถึงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ให้มีอายุการใช้งานสิบสองปีนับแต่วันที่รถยนต์นั้นจดทะเบียนครั้งแรก (2) รถยนต์รับจ้างที่จดทะเบียนตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ถึงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ให้มีอายุการใช้งานต่อไปได้จนถึงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2560

 

ข้อ 17 กฎกระทรวงนี้มิให้ใช้บังคับแก่รถยนต์รับจ้างที่จดทะเบียนไว้ก่อนวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2537 เว้นแต่เจ้าของรถยนต์รับจ้างนั้นมีความประสงค์จะปฏิบัติตามข้อกําหนดในกฎ กระทรวงนี้ให้ยื่นคําขอจดทะเบียนเป็นรถยนต์รับจ้างตามกฎกระทรวงนี้


       
ข้อ 18 บรรดาประกาศ ระเบียบ หรือคําสั่งที่ออกตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 21 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ให้คงใช้บังคับต่อไปเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎกระทรวงนี้ จนกว่าจะมีประกาศ ระเบียบ หรือคําสั่งตามกฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ

 

download กฎกระทรวงได้ที่นี่

 



09/Aug/2015

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา