ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ประกาศใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 28) พ.ศ. 2558 บังคับใช้ตั้งแต่ 9 ตุลาคม 2558 เป็นต้นไป

โดยได้ระบุเหตุผลของการตราพระราชบัญญัตินี้ว่า

โดยที่ปัจจุบันมีคดีแพ่งที่เกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะหรือประโยชน์ของสังคม เป็นส่วนรวม เช่น คดีสิ่งแวดล้อม คดีคุ้มครองผู้บริโภค เข้าสู่การพิจารณาของศาลเป็นจํานวนมาก ซึ่งคดีเหล่านี้เป็นคดีที่มีความยุ่งยากซับซ้อน

สมควรกําหนดให้สามารถโอนคดีเหล่านี้ไปยังศาลแพ่งเป็นผู้พิจารณาพิพากษาคดี

โดยกําหนดให้ศาลแพ่งที่รับคดีไว้มีอํานาจดําเนินกระบวนพิจารณานอกเขตศาลได้ เพื่อให้องค์คณะผู้พิพากษาสามารถออกไปสืบพยานที่อยู่นอกเขตอํานาจด้วยตนเองได้

และกําหนดให้ประธานศาลฎีกาโดยความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา มีอำนาจออกข้อกําหนดเกี่ยวกับการดําเนินกระบวนพิจารณาในคดีแพ่ง อันจะช่วยให้การพิจารณาพิพากษาคดีเกิดความเป็นธรรมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้สมควรแก้ไขเพิ่มเติมการเก็บรักษาข้อมูลคดีของศาลโดยการจัดเก็บในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการส่งคําคู่ความและเอกสาร ระหว่างศาลกับคู่ความ หรือระหว่างคู่ความด้วยกัน

และกําหนดวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการส่งหมายเรียกและคําฟ้องตั้งต้นคดี ไปยังจําเลยหรือบุคคลภายนอกที่อยู่นอกราชอาณาจักรเพื่อให้มีความสะดวกรวดเร็วประหยัด เวลาและค่าใช้จ่าย

จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้



อ่านรายละเอียดฉบับเต็มได้ ที่นี่



09/Oct/2015

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา