ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

พ.ร.บ.กองทุนยุติธรรม 2558 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ 27 ตุลาคม 58 บังคับใช้อีก 180 วันหลังจากวันประกาศ

เมื่อวันที่ 27 ต.ค.2558 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่พระราชบัญญัติ กองทุนยุติธรรม พ.ศ. 2558 โดยมีพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ มีเนื้อหา 43  มาตรา

 

โดยมีหมายเหตุระบุไว้ด้วยว่า เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่กองทุนยุติธรรมตามระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยกองทุนยุติธรรม พ.ศ. 2553 มีงบประมาณที่จํากัด ประกอบกับไม่มีความคล่องตัวในการปฏิบัติงานทำให้กองทุนไม่สามารถช่วยเหลือ ประชาชนในการดําเนินคดี และให้ความคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนได้อย่างทั่วถึง เสมอภาค และเป็นธรรม ทําให้เกิดความเหลื่อมล้ําของประชาชน ดังนั้น สมควรกําหนดให้กองทุนมีฐานะเป็นนิติบุคคล เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนสําหรับช่วยเหลือประชาชนในการดําเนินคดี การขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจําเลย การถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน และการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

 

สำหรับสาระสำคัญบางมาตรา มีดังนี้

 

มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

 

มาตรา 5 ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งในสํานักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม เรียกว่า “กองทุนยุติธรรม” มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนสําหรับใช้จ่ายเกี่ยวกับ การช่วยเหลือประชาชนในการดําเนินคดี การขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจําเลย การถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน และการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน

 

มาตรา 9 เงินกองทุนให้ใช้จ่ายเพื่อกิจการ ดังต่อไปนี้

(1) การช่วยเหลือประชาชนในการดําเนินคดี

(2) การขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจําเลย

(3) การช่วยเหลือผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน

(4) การให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน

(5) การดําเนินงานกองทุนหรือการบริหารกองทุน และกิจการอื่นที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องกับ การจัดกิจการของกองทุน

 

มาตรา 13 ให้มีคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม ประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นรองประธานกรรมการ ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทน กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ผู้แทนสํานักงบประมาณ ผู้แทนสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ผู้แทนสํานักงาน ศาลยุติธรรม ผู้แทนสํานักงานอัยการสูงสุด ผู้แทนสภาทนายความ และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจาก ผู้มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ในด้านการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน จํานวนหกคน เป็นกรรมการ ให้รองปลัดกระทรวงยุติธรรมซึ่งได้รับมอบหมายจากปลัดกระทรวงยุติธรรมเป็น กรรมการ และเลขานุการ และให้ปลัดกระทรวงยุติธรรมแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของสํานักงานกองทุนยุติธรรม จํานวนสองคน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ

 

ในหมวด 3 การขอรับความช่วยเหลือจากกองทุน

 

มาตรา 26 บุคคลอาจขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนในการดําเนินคดี การขอปล่อยชั่วคราว การถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือการได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน ตลอดจน การสนับสนุนโครงการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยื่นคําขอ แบบคําขอ การพิจารณาให้ความช่วยเหลือ ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกําหนด

 

มาตรา 27 การช่วยเหลือประชาชนในการดําเนินคดี ประกอบด้วยค่าจ้างทนายความ ค่าฤชาธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการดําเนินคดี หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการให้ความช่วยเหลือ ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกําหนด

 

มาตรา 28 การพิจารณาให้ความช่วยเหลือประชาชนในการดําเนินคดี และการให้ความช่วยเหลือ ผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน คณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือ หรือคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือประจําจังหวัดต้องคํานึงถึงหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

(1) พฤติกรรมและข้อเท็จจริงของผู้ที่จะได้รับความช่วยเหลือจากกองทุน

(2) ฐานะของผู้ที่จะได้รับความช่วยเหลือจากกองทุน

(3) โอกาสที่ผู้ที่จะได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนจะได้รับการช่วยเหลือหรือบรรเทาความเสียหาย ตามกฎหมายอื่น

 

มาตรา 29 การพิจารณาให้ความช่วยเหลือในการขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจําเลย ให้คํานึงถึงว่าหากได้รับการปล่อยชั่วคราวแลว้ ผู้ต้องหาหรือจําเลยจะหลบหนี จะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือจะไปก่อเหตุภยันตรายประการใดหรือไม่

 

มาตรา 30 การขอปล่อยชั่วคราวให้แก่ผู้ต้องหาหรือจําเลย กองทุนอาจมอบอํานาจให้แก่ พนักงานของกองทุนหรือเจ้าหน้าที่ของกระทรวงยุติธรรมเป็นผู้ยื่นคําร้องขอ ปล่อยชั่วคราวและเป็นผู้ลงนาม ในสัญญาประกันก็ได้

 

มาตรา 43 บรรดาระเบียบ ประกาศ คําสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรีที่ออกตามระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยกองทุนยุติธรรม พ.ศ. 2553 ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ยังคงใช้ บังคับได้ต่อไปเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าจะมีระเบียบหรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

 

อ่านรายละเอียดทั้ง 43 มาตรา  ได้ที่นี่

 

รูปจากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ



28/Oct/2015

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา