ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

18 มกราคม 2559 ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกักขังตามประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 ห้ามใช้เครื่องพันธนาการ เพิ่มสิทธิผู้ต้องกักขังหญิงที่ตั้งครรภ์ตรวจสุขภาพฝากครรภ์นอกเรือนจำ พักรักษาโรงพยาบาลไม่เกิน 7 วัน ห้ามขัดขวางผู้ต้องกักขังหญิงให้นมบุตร

พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกักขังตามประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ click อ่านกฎหมายทั้งฉบับ

 

วันที่19 ม.ค.59 มีรายงานว่า ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกักขังตามประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 โดยให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป โดยความน่าสนใจของกฎหมายฉบับดังกล่าว เช่น มาตรา 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 5/1และมาตรา 5/2 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกักขังตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2506


       
       “มาตรา ๕/๑ ห้ามมิให้ใช้เครื่องพันธนาการแก่ผู้ต้องกักขัง เว้นแต่ (๑) มีพฤติการณ์ที่จะทำอันตรายต่อชีวิตหรือร่างกายของตนเองหรือผู้อื่น (๒) มีพฤติกรรมหรืออาการส่อว่าเป็นบุคคลวิกลจริตซึ่งอาจจะทำอันตรายต่อชีวิตหรือ ร่างกายของตนเองหรือผู้อื่น (๓) เมื่อถูกควบคุมตัวไปนอกสถานที่กักขังและมีพฤติการณ์ว่าจะหลบหนีเครื่อง พันธนาการและหลักเกณฑ์การใช้ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวงโดยให้คำนึงถึงผู้ต้องกักขังที่พิการด้วย


       
       ทั้งนี้ ต้องมิใช่ตรวนหรือเครื่องพันธนาการอื่นที่หนักกว่าเมื่อมีเหตุตามวรรคหนึ่ง พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เป็นหัวหน้าบังคับบัญชาสถานที่กักขังอาจสั่งให้ใช้ เครื่องพันธนาการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามวรรคสอง โดยให้บันทึกเหตุผลหรือความจำเป็นไว้ด้วยและให้เพิกถอนการใช้เครื่อง พันธนาการเมื่อเหตุดังกล่าวนั้นสิ้นสุดลง


       
       มาตรา ๕/๒ เพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจตรวจสอบจดหมาย เอกสาร พัสดุภัณฑ์ หรือสิ่งสื่อสารอื่นหรือสกัดกั้นการติดต่อสื่อสารทางโทรคมนาคมหรือโดยทางใด ๆ ซึ่งมีถึงหรือจากผู้ต้องกักขัง ทั้งนี้ตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดความสงบเรียบร้อยตามวรรคหนึ่งให้หมายความ เฉพาะการป้องกันเหตุร้าย และรักษาความสงบเรียบร้อยของสถานที่กักขัง”


       มาตรา ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๘/๑ และมาตรา ๘/๒ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกักขังตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๕๐๖


       
       “มาตรา ๘/๑ ผู้ต้องกักขังหญิงที่ตั้งครรภ์ต้องได้รับการช่วยเหลือและการดูแลทางการแพทย์ ที่เหมาะสมและต้องได้รับการตรวจสุขภาพโดยแพทย์ให้นำผู้ต้องกักขังหญิงที่ ตั้งครรภ์ออกไปทำการฝากครรภ์ ณ โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลในท้องที่ที่สถานที่กักขังนั้นตั้งอยู่ พร้อมกับพิจารณาอนุญาตให้ออกไปคลอดบุตรได้ตามความจำเป็นเมื่อคลอดบุตรแล้ว ให้ผู้ต้องกักขังหญิงผู้คลอดบุตรอยู่พักรักษาต่อไปภายหลังการคลอดบุตรได้ไม่ เกินเจ็ดวันนับแต่วันคลอด ในกรณีที่จำเป็นต้องพักรักษาตัวนานกว่านี้ ให้เสนอความเห็นของแพทย์ผู้ทำการคลอดเพื่อขออนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ เป็นหัวหน้าบังคับบัญชาสถานที่กักขัง ทั้งนี้ โดยนับระยะเวลาที่อยู่นอกสถานที่กักขังเป็นระยะเวลากักขังด้วย ในกรณีที่ระยะเวลากักขังของผู้ต้องกักขังหญิงสิ้นสุดลงในระหว่างระยะเวลาตาม วรรคสองให้ปล่อยตัวผู้ต้องกักขังหญิงนั้นไป
       


       มาตรา ๘/๒ สถานที่กักขังต้องจัดให้ผู้ต้องกักขังหญิงที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรได้รับ คำแนะนำทางด้านสุขภาพและโภชนาการ โดยต้องจัดอาหารที่เพียงพอและในเวลาที่เหมาะสมให้แก่ผู้ต้องกักขังหญิงที่ ตั้งครรภ์ ทารก เด็ก และมารดาที่ให้นมบุตร ทั้งนี้ ต้องไม่ขัดขวางผู้ต้องกักขังหญิงจากการให้นมบุตรและการดูแลบุตร เว้นแต่มีเหตุผลทางด้านสุขภาพ”


       
       มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกักขังตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๕๐๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน


       
       “ผู้ต้องกักขังผู้ใดไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติในวรรคหนึ่งโดยไม่มีเหตุ หรือข้อแก้ตัวอันสมควรต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”


       
       มาตรา ๖ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกักขังตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๕๐๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน


       
       “มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทำการดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือนหรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ(๑) เข้าไปในสถานที่กักขังโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ (๒) นำ ทิ้ง หรือกระทำด้วยประการใดให้เข้ามา หรือให้ออกไปจากสถานที่กักขังซึ่งเงินตราหรือสิ่งของต้องห้ามตามที่กำหนดใน กฎกระทรวง (๓) ครอบครองหรือใช้ในสถานที่กักขัง ซึ่งเงินตราหรือสิ่งของต้องห้ามตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (๔) รับจากหรือส่งมอบแก่ผู้ต้องกักขัง ซึ่งเงินตราหรือสิ่งของต้องห้ามตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ความในวรรคหนึ่ง (๑) ไม่ใช้บังคับแก่ผู้ต้องกักขังถ้าผู้กระทำผิดเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่หรือเป็น ข้าราชการกรมราชทัณฑ์ให้ลงโทษทวีคูณเงินตราและสิ่งของต้องห้ามที่มีการ ฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรานี้ ให้ริบเสียทั้งสิ้น”


       
       มาตรา ๗ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๐/๑ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกักขังตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๕๐๖


       
       “มาตรา ๑๐/๑ ในกรณีที่ผู้ต้องกักขังแทนค่าปรับได้กระทำความผิดอาญาขึ้นภายในสถานที่กัก ขังซึ่งเป็นความผิดลหุโทษ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เป็นหัวหน้าบังคับบัญชาสถานที่กักขังมีอำนาจ วินิจฉัยลงโทษฐานผิดวินัยผู้ต้องกักขังได้ โดยให้แสดงเหตุผลประกอบการวินิจฉัยสั่งการด้วยเมื่อมีการลงโทษฐานผิดวินัย ตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้คดีอาญานั้นเป็นอันเลิกกัน”


       
       มาตรา ๘ บรรดากฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งที่ออกตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกักขังตามประมวล กฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๕๐๖ ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าจะมีกฎกระทรวง ระเบียบ หรือคำสั่ง ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกักขังตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๕๐๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ


       
       มาตรา ๙ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้


       
       ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       นายกรัฐมนตรี”


       
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกักขังตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๕๐๖ ใช้บังคับเป็นเวลานานแล้ว ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องแก้ไขเพื่อให้การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและการปฏิบัติต่อผู้ต้อง กักขังได้มาตรฐานสอดคล้องกับหลักการทางด้านสิทธิมนุษยชน ถูกต้องเหมาะสม และบังคับใช้กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นจึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

 

ข้อมูลบางส่วนจากหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ  วันที่ 19 มค. 59



21/Jan/2016

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา