ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

นโยบายประธานศาลฎีกาประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗ – ๒๕๕๘

“อำนวยความยุติธรรมให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล”

คุณธรรมของศาลยุติธรรม “ซื่อสัตย์สุจริต ปราศจากอคติ เป็นกลาง เที่ยงธรรม”

 

๑. ด้านการคุ้มครองสิทธิของประชาชน

๑.๑ มุ่งอำนวยความยุติธรรมเพื่อคุ้มครองสิทธิของประชาชนให้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ได้โดยง่าย สะดวก รวดเร็ว และทั่วถึง

๑.๒ พัฒนากระบวนพิจารณาพิพากษาคดีของศาลยุติธรรมทั้งคดีแพ่ง คดีอาญา และคดีพิเศษ ให้เป็นไปอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม

๑.๓ พัฒนาระบบการพิจารณาพิพากษาคดีเพื่อประโยชน์สาธารณะ อาทิ คดีผู้บริโภค คดีสิ่งแวดล้อม และคดีเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมตามลักษณะแห่งคดี

๑.๔ ส่งเสริมการระงับข้อพิพาททางเลือก อาทิ การไกล่เกลี่ยและอนุญาโตตุลาการ อันเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีทางเลือกเพื่อระงับหรือยุติข้อพิพาทด้วยความพึงพอใจของทุกฝ่าย

๑.๕ เร่งรัดการพิจารณาคดีในศาลสูง และส่งเสริมระบบการพิจารณาคดีแบบต่อเนื่องและครบองค์คณะ

๑.๖ ดำเนินการจัดตั้งศาลเพื่อกระจายความยุติธรรมให้ประชาชนได้อย่างทั่วถึง

๑.๗ สร้างและปรับปรุงอาคารศาลให้เพียงพอต่อการรองรับภารกิจในการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน

 

๒. ด้านการพัฒนาบุคลากร และระบบงานของศาลยุติธรรม

๒.๑ สร้างจิตสำนึกของบุคลากรในการอำนวยความยุติธรรม โดยคำนึงถึงเป้าหมายเพื่อประโยชน์สาธารณะ รวมถึงการสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่และส่งเสริมให้มีการพัฒนาตนเองโดยการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงในการยกระดับการอำนวยความยุติธรรมให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล

๒.๒ สนับสนุนให้ผู้พิพากษามีทักษะและความรู้เชี่ยวชาญ เข้าใจบริบทของสังคม เศรษฐกิจและการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้สามารถปรับใช้กฎหมายเพื่อรักษาสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้อย่างเหมาะสม

๒.๓ เสริมสร้างการบริหารงานบุคคลเพื่อให้บุคลากรมีคุณธรรมและจริยธรรม และมีความก้าวหน้าในอาชีพ (Career Path)

๒.๔ ปรับปรุงโครงสร้างและอัตรากำลังข้าราชการศาลยุติธรรมให้สอดคล้องกับภารกิจของศาลยุติธรรม

๒.๕ นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการบริหารจัดการทั่วทั้งองค์กร สร้างระบบเครือข่ายเชื่อมโยงข้อมูลทั้งภายในและภายนอก พร้อมพัฒนาเพิ่มศักยภาพบุคลากรในการใช้เทคโนโลยีเพื่อให้ศาลยุติธรรมสามารถอำนวยความยุติธรรมและให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

๒.๖ ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพคุ้มค่า และบรรลุเป้าหมาย

๒.๗ ปรับปรุงกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการอำนวยความยุติธรรม เร่งรัดการออกระเบียบข้อบังคับ ข้อกำหนด เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย รวมถึงการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้

๒.๘ เสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของศาลในจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่ออำนวยความยุติธรรมสู่ประชาชน

 

๓. ด้านการพัฒนาเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในระดับสากล

๓.๑ เสริมสร้างความร่วมมือทางการศาล การยุติธรรม ความร่วมมือทางวิชาการและกฎหมายทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาคอาเซียน และระดับนานาชาติ รวมถึงการยกระดับสถานะและบทบาทของศาลยุติธรรมในเวทีระหว่างประเทศ

๓.๒ พัฒนากฎหมายและกระบวนการยุติธรรมเพื่อความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงบริบทด้านการต่างประเทศ รวมถึงการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน



22/Nov/2013

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา