ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

การพิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการก่อสร้างที่ได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนแรงงานอันเนื่องมาจากการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท

เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2556 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการก่อสร้างตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน  และให้กระทรวงมหาดไทย (มท.) นำมาตรการนี้ไปใช้บังคับในการจัดจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย โดยอนุโลม 

 

สาระสำคัญของหลักเกณฑ์และเงื่อนไข มีดังนี้

 

1. การให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการก่อสร้างเท่านั้น

 

2. การขยายระยะเวลา

 

(1) ผู้ประกอบการก่อสร้างที่มีสิทธิได้รับการพิจารณาขยายระยะเวลาก่อสร้าง ต้องเป็นคู่สัญญาที่ได้ลงนามทำสัญญาจ้างก่อสร้างกับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ  และหน่วยงานอื่นของรัฐ โดยบังคับใช้กับสัญญาจ้างก่อสร้างที่ได้ลงนามไว้กับหน่วยงานก่อนวันที่ 1 มกราคม 2556 หรือสัญญาจ้างก่อสร้างที่ได้ลงนามไว้กับหน่วยงาน ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2556 ถึงวันที่ 22 เมษายน 2556 ซึ่งสัญญาดังกล่าว ณ วันที่ 1 มกราคม 2556 ถึงวันที่ 22 เมายน 2556 ยังมีนิติสัมพันธ์อยู่และยังมิได้มีการส่งมอบงานงวดสุดท้าย หรือสัญญาดังกล่าวยังมีนิติสัมพันธ์อยู่ แต่ได้มีการส่งมอบงานงวดสุดท้ายในช่วงระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2556 ถึงวันที่ 22 เมษายน 25566 ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาที่ให้ความช่วยเหลือฯ ยกเว้นสัญญาที่หน่วยงานได้พิจารณาก่อนวันที่ 1 มกราคม 2556 แล้วว่า จะบอกเลิกสัญญา เนื่องจากคู่สัญญาปฏิบัติผิดสัญญา กรณีสัญญาดังกล่าวไม่เข้าเกณฑ์ที่จะได้รับความช่วยเหลือตามมติคณะรัฐมนตรีนี้

 

(2) สัญญาจ้างก่อสร้างที่อยู่ในหลักเกณฑ์ตามข้อ (1) ให้หน่วยงานขยายระยะเวลาออกไปอีก จำนวน 150 วัน ในกรณีอายุสัญญาจ้างก่อสร้างน้อยกว่า 150 วัน ก็ให้ขยายระยะเวลาได้เท่ากับอายุสัญญาเดิม

 

(3) สัญญาจ้างก่อสร้างที่ได้รับการขยายระยะเวลาออกไปตามข้อ (2) ให้หน่วยงานดำเนินการดังนี้

(3.1) กรณีสัญญาจ้างก่อสร้างได้ดำเนินการล่วงเลยกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จตามสัญญา และได้ถูกปรับไว้ในช่วงก่อนหน้าวันที่ 1 มกราคม 2556 ยังคงเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการที่ต้องรับผิดชอบในส่วนของค่าปรับในช่วงก่อนหน้าที่จะได้รับการช่วยเหลือฯ แต่จะได้รับการลดหรืองดค่าปรับเฉพาะในช่วงระยะเวลาที่ได้รับการช่วยเหลือตามมาตรการนี้เท่านั้น

(3.2) กรณีสัญญาจ้างก่อสร้างที่ยังอยู่ภายในระยะเวลาตามสัญญา ให้ขยายระยะเวลา โดยนับจากวันสิ้นสุดระยะเวลาตามสัญญาเดิม

 

(4) กรณีสัญญาจ้างก่อสร้างที่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะได้รับความช่วยเหลือฯ หากการขยายระยะเวลาออกไป มีผลทำให้ผู้รับจ้างไม่ถูกปรับ ก็ให้งดลดค่าปรับ หรือคืนเงินค่าปรับ ตามความเป็นจริง แล้วแต่กรณี

 

(5) กรณีสัญญาจ้างก่อสร้างที่ได้รับความช่วยเหลือหากสัญญาจ้างก่อสร้างดังกล่าวมีการจ้างเอกชนควบคุมงาน ค่าจ้างควบคุมงานและหรือค่าจ้างที่ปรึกษา ให้ผู้รับจ้างเป็นผู้รับภาระค่าจ้างควบคุมงาน และหรือค่าจ้างที่ปรึกษาสำหรับระยะเวลาที่ได้ขยายออกไป เนื่องจากผู้รับจ้างได้รับประโยชน์จากการได้รับการขยายระยะเวลาดังกล่าวแล้ว

 

(6) ผู้ประกอบการก่อสร้างที่ประสงค์จะขอรับความช่วยเหลือจะต้องยื่นคำร้องขอต่อหน่วยงานคู่สัญญาภายใน 60 วัน นับถัดจากวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ

 

(7) กรณีคู่สัญญาใดเห็นว่า การได้รับความช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์ข้างต้น ยังไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้และมีเหตุผลอันสมควร ให้หน่วยงานพิจารณาและหากเห็นสมควรขยายระยะเวลา ก็ให้เสนอต่อคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุเพื่อพิจารณาเป็นกรณีๆ ไป

 

3. การพิจารณาไม่ลงโทษเป็นผู้ทิ้งงาน

 

หากในกรณีที่หน่วยงานได้มีการบอกเลิกสัญญาจ้างก่อสร้างไปแล้ว สืบเนื่องจากผู้รับจ้างได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนแรงงาน อันเนื่องมาจากการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ซึ่งได้บอกเลิกสัญญาในช่วงระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2556 ถึงวันที่ 22 เมษายน 2556 ให้ถือว่าไม่เป็นผู้ทิ้งงาน

 

4. ให้คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติในการพิจารณาให้ความช่วยเหลือฯ ดังกล่าว

 

5. เพื่อความเป็นธรรมในการพิจารณาให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการก่อสร้างของหน่วยงานภาครัฐในภาพรวม จึงเห็นควรนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา และมีมติแจ้งเวียนให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐถือปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน

 

6. มอบให้กระทรวงมหาดไทยนำมาตรการนี้ไปใช้บังคับในการจัดจ้างก่อสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย โดยอนุโลม

 

สำหรับประเด็นการขอใช้ค่าปรับรายวันในอัตราตายตัวร้อยละ 0.01 ของราคาพัสดุที่ยังไม่ได้รับมอบ และการขอประกันผลงานของตนเอง เมื่อผลงานก่อสร้างนั้นก่อสร้างแล้วเสร็จไปแล้ว 6 เดือน โดยไม่ต้องใช้หนังสือค้ำประกันจากธนาคารนั้นเป็นประเด็นเรื่องหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาที่ผู้รับจ้างจะต้องนำหลักประกันสัญญามาวางในขณะทำสัญญาตามอัตราที่ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมกำหนด และผู้ว่าจ้างจะคืนให้แก่ผู้รับจ้างเมื่อพ้นจากข้อผูกพันตามสัญญา โดยสัญญาดังกล่าวจะต้องประกันความชำรุดบกพร่องไม่น้อยกว่า 2 ปี ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2536 แจ้งตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร 0202/ ว 1 ลงวันที่ 3 มกราคม 2537 เรื่อง มาตรการป้องกันหรือลดโอกาสในการสมยอมกันในการเสนอราคา คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุเห็นว่า เนื่องจากทั้ง 2 ประเด็นดังกล่าว ยังมีข้อมูลไม่ชัดเจนเพียงพอ จึงเห็นควรให้ กค. โดยคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ ศึกษารายละเอียดและความเหมาะสมเพื่อปรับปรุงแก้ไขในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป



25/Nov/2013

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา