12/05/24 - 06:29 am


แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - phol.p.md

หน้า: [1]
1
จากข้อสามผมอาจจะถามไม่ตรงจุดครับ
จริงๆผมแค่อยากทราบว่า สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
กฎหมายกำหนดให้คิดดอกเบี้ยอย่างไรครับ

แพทย์หลายๆคนไม่ค่อยรู้กฎหมายครับ
เลยมักมีการทึกทีกกันเอาเองในหมู่แพทย์ว่า
การเป็นลูกจ้างพาร์ทไทม์จะถูกให้ออกเมื่อไรก็ได้
บางคนถูกนายจ้างเอาเปรียบก็ไม่คิดจะทวงสิทธิ์ของตัวเอง

ยังไงก็ขอบคุณมากเลยครับที่กรุณาให้ความรู้ครับ

2
สวัสดีครับ
ทางตัวผมทำงานเป็นแพทย์ ทำหน้าที่ตรวจรักษาอยู่. ณ คลินิกแห่งหนี่ง โดยตกลงกันด้วยวาจาว่าทำงานที่แห่งนี้สัปดาห์ละ 2 วัน
เริ่มงานตั้งแต่ 12.00-20.00 (ทีแรกนายจ้างจะให้มาเริ่มงานเวลา 11 น.แต่ผมปฏิเสธขอเป็น 12.00)
เริ่มตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม ซึ่งระยะแรกผมได้มาทำงานสัปดาห์ละสามวันเนื่องจากมีแพทย์ท่านอื่นลาหยุด
ต่อมาวันที่ 25 มีนาคมได้มีการส่องข้อความมาแจ้งเลิกจ้างและให้มีทันที

ผมขอปรึกษาถามดังนี้ครับ

1.สินจ้างแทนกการบอกกล่าวล่วงหน้า ผมควรจะคิดจากว่าในหนึ่งสัปดาห์ผมทำงาน 2 วันต่อสัปดาห์(คิดเป็นจำนวน 64,000 บาทต่อเดือน)ตามที่ตกลง หรือคิดจากเดือนปัจจุบันที่ถูกเลิกจ้างซึ่งทำงานที่นี่สัปดาห์ละ 3 วันต่อสัปดาห์(96,000 บาทต่อเดือน)

2.ในวันที่ 27 มีนาคม นายจ้างโอนเงินมาให้โดยคิดเป็นจำนวน 6 วัน แต่ก็ไม่ครบจำนวน 48,000 บาท(8,000 * 6)เนื่องจากอ้างว่าหักมาสาย ซึ่งตามกฎหมายห้ามมิให้หักค้าจ้างโดยอ้างการมาทำงานสาย โดยโอนมาเป็นจำนวน 32,016 บาท ขาดไปเป็นจำนวน 15,984 บาท
เงินจำนวน 15,984 บาทถือเป็นค่าจ้างคงค้างใช่หรือไม่

3.หากนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างคงค้างพร้อมดอกเบี้ยเพิ่มร้อยละ 15 จากเงินคงค้างจ่าย และทบจากเงินต้นทุกๆ 7 วัน หมายถึงหลังจากที่นายจ้างโอนเงินมาให้ผม(27 มีนาคม) หรือ 7 วันหลักจากรอบการจ่ายเงินตามปกติของแพทย์คนอื่นๆครับ(ทุกๆวันที่ 30 ของทุกเดือน)

4.สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ถือเป็นค่าจ้างคงค้างจ่ายที่ต้องบวกดอกเบี้ยตามคำถามข้อที่ 3 หรือไม่ครับ ควรจะดำเนินการหลังถูกเลิกจ้างกี่วัน
หากไม่ใช่สามารถคิดดอกเบี้ยได้หรือไม่อย่างไรครับ

5.ในวันที่นายจ้างนัดสัมภาษณ์และมีการตกลงการจ้างงานนั้น ผมได้มีการแจ้งแก่นายจ้างไปแล้วว่า ไม่ว่าการจ้างงานจะมีการเซ็นสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร หรือปากเปล่าก็ตาม ทำงานไม่ว่าจะเป็นฟูลไทม์หรือพาร์ทไทม์ก็ตาม กฎหมายแรงงานก็คุ้มครองลูกจ้างตามที่กฎหมายระบุไว้อยู่แล้ว และแจ้งด้วยว่าไม่ว่าผมจะทำงานที่นี่สัปดาห์ละกี่วัน หากเลิกจ้าง ยังไงก็ต้องบอกก่อนครบกำหนดรอบชำระค่าจ้างไม่ต่ำกว่า 1 รอบ และหากมีสัญญาที่ขัดต่อกฎหมาย สัญญานั้นก็บังคับใช้ไม่ได้ ทุกอย่างต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ทางนายจ้างไม่ได้ตอบรับใดๆและแจ้งว่าไม่เคยเลิกจ้างหรือไล่ใครออกกะทันหันในลักษณะนี้อยู่แล้ว
ผมจะฟ้องร้องยังไงให้ศาลเชื่อว่านายจ้างมีเจตนาละเมิดกฎหมาย ทั้งๆที่รู้กฎหมายอยู่แล้ว ถึงแม้ไม่รู้ แต่ผมก็ได้มีการแจ้งข้อกฎหมายแต่ทีแรกเอาไว้แล้ว
และหากพิสูจน์ได้ว่านายจ้างมีเจตนาละเมิดกฎหมายจริงๆ จะเป็นผลดีต่อทางแรงงานหรือไม่อย่างไรครับ

ขอบคุณมากครับ

หน้า: [1]