06/05/24 - 00:07 am


แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - ทนายพร

หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 50
61
ถามสั้นๆแต่ได้ใจความดี... ;D

ก่อนที่จะตอบคำถามต้องมาตีความเงิน "Service Charge" ก่อนว่า เงินดังกล่าวเป็น "ค่าจ้าง" ตามมาตรา ๕ แห่งราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ หรือไม่?
โดยเงิน Service Charge คือเงินที่นายจ้างเรียกเก็บจากลูกค้า แล้วนำมาจัดสรรให้แก่ลูกจ้างเพื่อจูงใจให้พนักงานให้บริการลูกค้า

ซึ่งได้มีแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๔๘๕๒-๔๘๕๓/๒๕๖๐ หรือคำพิพากษาศาลฏีกาที่ ๑๒๒๙๒/๒๕๕๘ ได้วินิจฉัยไว้ในทำนองเดียวกันว่า เงิน Service Charge นั้น "มิใช่ค่าจ้าง"

เมื่อไม่ใช่ค่าจ้าง นายจ้างจึงไม่ต้องจ่ายในวันที่ลูกจ้างลาป่วย เว้นแต่ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือมีเงื่อนไขการจ้างว่าแม้ว่าลูกจ้างลาป่วยก็มีสิทธิได้รับ กรณีเช่นนี้นายจ้างก็ต้องจ่ายด้วย

ส่วนคำถามอื่นคงไม่ต้องตอบแล้วล่ะมั่งนะ... ;)

ทนายพร.

62
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: โดนย้ายหน้างาน
« เมื่อ: มกราคม 14, 2022, 01:02:12 am »
เท่าที่อ่านก็น่าเห็นใจนะครับ

จริงๆแล้วเรื่องอย่างนี้เกิดขึ้นกับหลายๆคน โดยเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่ เมื่อหัวถูกเปลี่ยน หางมักจะได้รับผลกระทบ

แน่นอนว่า เมื่อคนใหม่มารับตำแหน่งก็มักจะติดสอยห้อยเอาลูกน้องเก่ามาด้วย ซึ่งก็ส่งผลไปถึงผู้ที่นั่งเก้าอี้เดิมจะต้องถูกบีบ ถูกกด จนกว่าจะทนไม่ไหวและลาออกไป หรือถ้าไม่ลาออกก็ต้องถูกย้ายไป หากพอมีพักพวกอยู่บ้างก็คงจะพอถูๆไถๆทำงานต่อได้ แต่ถ้าแผนกนั้นก็ไม่เอา แผนกนี้ก็ไม่โอเค ทีนี้แหละปัญหามักจะตามมา...

เอาเป็นว่า โดยกฎหมายแล้ว การโยกย้ายหน้าที่การงานเป็น "อำนาจการบริหารจัดการ" ของนายจ้าง เว้นแต่ การโยกย้ายนั้นเป็นการโยกย้ายในลักษณะ "ไม่เป็นคุณ" ต่อลูกจ้าง เช่น เดิมตำแหน่ง หัวหน้างาน แต่ถูกย้ายมาเป็นตำแหน่งพนักงาน อย่างนี้เรียกว่า ตำแหน่งต่ำลง ถือว่าไม่เป็นคุณกับลูกจ้าง

อย่างไรก็ตาม เมื่อมีคำสั่งให้ย้ายก็ต้องย้ายไปก่อน แล้วจึงไปฟ้องเพิกถอนคำสั่งย้ายที่ไม่เป็นคุณต่อศาลในภายหลัง

และปัญหาก็เกิดอีกแหละว่า...ต่อไปจะทำงานร่วมกันอย่างไร..จะรับแรงกดดันได้หรือไม่?

ดังนั้น ที่ถามว่าถูกกดดันใช่หรือไม่? ทนายก็คงตอบไม่ได้ แต่ถ้าให้เดาสถานการณ์ก็คงประมาณนั้น

ส่วนจะเอาผิดได้มั๊ย...ถ้าย้ายแล้วไม่เป็นคุณ จะเอาผิดผู้สั่งย้ายนั้นคงไม่ได้ แต่มีสิทธิ์ที่จะฟ้องต่อศาลเพื่อขอเพิกถอนคำสั่งย้ายนั้นได้ตามที่ได้อธิบายไว้ตอนต้น

เอาเป็นว่า...หากมองต่างมุม การที่เราถูกย้ายไปในตำแหน่งที่ไม่ถนัดในวันนี้ หากฝึกฝนเรียนรู้ ทนายคิดว่าก็คงจะมีความเชี่ยวชาญชำนาญเข้าซักวัน และให้คิดเสมอว่า เราเป็นคนที่มีความสามารถ ที่เจ้านายมองเห็นความสามารถของเราและเชื่อมั่นว่าเราทำได้ เค้าจึงได้มอบหมายงานนี้ให้กับเรา เมื่อคิดได้เช่นนี้ก็ขอให้ทำงานอย่างสนุกและมีความสุขกับมัน แล้วความกดดันก็อาจจะลบเลือนไปก็เป็นได้นะครับ

คำตอบและข้อแนะนำก็มีประมาณนี้

ให้กำลังใจนะครับ

ทนายพร.

63
เป็นคำถามที่ทนายแทบจะไม่ต้องตอบเลยครับ... :D :D

ตามที่หาข้อมูลมานั้นถูกต้องแล้ว

หากการย้ายสถานประกอบการส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต ก็จะเข้าเหตุตามมาตรา ๑๒๐ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ แล้ว หากไม่ประสงค์จะย้ายตามไปก็ให้แจ้งเป็นหนังสือให้นายจ้างทราบ

ส่วนสิทธิ์ที่จะได้รับนั้น ก็จะได้ค่าชดเชยตามอายุงาน (มาตรา ๑๑๘) ส่วนค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า หากนายจ้างแจ้งก่อนก็ไม่ได้ ถ้าไม่แจ้งก็จะได้..

ทนายพร.

64
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: คุมประพฤติ
« เมื่อ: ธันวาคม 12, 2021, 10:22:15 am »
ส่วนคำถามนี้....
"ขอสอบถามหน่อยค่ะ กรณีโดนฟ้องว่าเป็นชู้ แต่มารู้ทีหลัง ว่าผู้ชายที่กำลังคบหาอยู่ เขามาหลอกว่าเลิกกันกับภรรยาเขาแล้ว แต่เขายังไม่เลิกกัน แล้วจะสู้คดีได้ไหมค่ะ ต้องได้เสียเงินให้เขาตามที่เขาเรียกร้องมาไหมค่ะ?"

"มโนธรรม" ได้อธิบายได้ครบถ้วนถูกต้องแล้ว

ให้กำลังใจนะครับ

ทนายพร.

65
การที่ศาลให้โอกาสในการปรับตัว จะด้วยการรอลงอาญา หรือการให้ไปบริการสังคม ก็เพื่อจะดูว่า จำเลยสำนึกผิดและกลับตัวจริงหรือไม่

แต่ถ้าปรากฎว่าจำเลยไม่ปฎิบัติตามเงื่อนไข หรือยังมีพฤติการณ์กระทำผิดซ้ำซาก ศาลก็จะพิจารณาโทษมากกว่าเดิม เพราะถือว่าให้โอกาสแล้วไม่หลาบจำ และจะนำโทษที่รอลงอาญาไว้มาบวกโทษที่จะตัดสินใหม่นั่นเอง

สำหรับเรื่องที่ถามมานี้ วเท่าที่อ่านนั้น ก็คือศาลลงโทษจำคุก ซึ่งในระหว่างจำคุกได้รับการปรับเกรดเป็นนักโทษชั้นดี จึงได้รับการลดโทษตามสัดส่วนแห่งความดี ท้ายที่สุดเมื่อได้รับโทษมาแล้ว ๒ ใน ๓ และอยู่ในเงื่อนไข ส่วนของโทษที่ได้รับก็จะมีโอกาสออกมาใช้ชีวิตข้างนอก เรียกว่าการพักโทษ แต่ก็ยังต้องถูกควบคุมความประพฤติรวมทั้งอาจจะมีการติดกำไร EM ร่วมด้วยก็ได้ และในระหว่างการที่อยู่ข้างนอกกลับไปทำผิดซ้ำอีก เลยถามมาว่า ที่ได้รับการอภัยโทษนั้น ยังจะได้รับประโยชน์ในการลดโทษหรือไม่?...ประมาณนี้

ซึ่งกรณีที่ได้รับการอภัยโทษด้วยการลดโทษนั้น ถือเป็นสิทธิตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ดังนั้นก็ยังมีผลการลดโทษอยู่  ส่วนการผิดเงื่อนไขตามที่กรมราชทัณฑ์กำหนด ก็จะหมดสิทธิที่จะใช้ชีวิตอยู่ข้างนอก โดยกรมราชทัณฑ์ก็จะนำตัวไปจำคุกตามจำนวนวันที่เหลืออยู่ต่อไปครับ
ซึ่งเงื่อนไขที่กรมราชทัณฑ์กำหนดไว้ก็คือ
  ๑.จะต้องพักอาศัยอยู่ตามที่อยู่ที่แจ้งไว้กับเรือนจำ
  ๒.ห้ามออกนอกเขตท้องที่ที่อาศัยโดยไม่ได้รับอนุญาต
  ๓.ห้ามประพฤติตนเสื่อมเสีย เช่น เล่นการพนัน ดื่มสุรา ยาเสพย์ติด และกระทำผิดอาญาขึ้นอีก
  ๔.ประกอบอาชีพโดยสุจริต
  ๕.ปฏิบัติตามลัทธิศาสนา
  ๖.ห้ามพกพาอาวุธ
  ๗.ห้ามไปเยี่ยมบ้านหรือติดต่อกับนักโทษอื่นที่ไม่ใช่ญาติ
  ๘.ให้ไปรายงานตัวกับพนักงานคุมประพฤติเรือนจำ เจ้าพนักงานปกครอง หรือหัวหน้าสถานีตำรวจทุกเดือน
  ซึ่งถ้าผู้ได้รับการปล่อยตัว ประพฤติตนตามเงื่อนไขด้วยดีตลอด ก็จะได้รับใบบริสุทธิ์ และพ้นโทษไปตามคำพิพากษา เป็นพลเมืองดีของประเทศชาติสืบต่อไป ก็ประมาณนี้ครับ

ขอให้โชคดีครับ
ทนายพร.

66
หากข้อเท็จจริงเป็นไปตามที่เล่ามา โดยเฉพาะการเขียนใบลาออก คำตอบของทนายแทบจะไม่มีผลต่อการไปต่อเลยครับ

ซึ่งก็จำเป็นต้องตอบตรงๆ เพื่อจะได้ไม่เป็นการสร้างความหวังในอากาศครับ...

เอาเป็นว่า หากข้อเท็จจริงมีว่า เราถูกกดดันหรือบังคับให้ลาออก เช่น เรียกเข้าไปในห้องโดยมีฝ่ายบริหารและฯลฯ นั่งอยู่หลายคน พร้อมทั้งจัดเตรียมหนังสือเลิกจ้างไว้ให้เรา กรณีเช่นนี้ก็จะอาจจะถือว่าเป็นการลาออกโดยไม่สมัครใจได้ ตามแนวคำพิพากษาศาลฏีกาที่ ๔๒๔๐/๒๕๖๓ หรือคำพิพากษาศาลฏีกาที่ ๔๖๙/๒๕๖๒ ลองไปหาอ่านดูนะครับ
หากพิจารณาแล้วเห็นว่าไกล้เคียงกับแนวฏีกาดังกล่าว ที่บันทึกเสียงไว้ก็เป็นหลักฐานหนึ่งที่ต้องนำไปประกอบคดี แต่ศาลก็จะรับฟังพยานหลักฐานประเภทนี้ด้วยความระมัดระวัง เพราะเทคโนโลยี่สมัยนี้มันสามารถตัดต่อได้นั่นเองครับ

แต่ถ้าไม่ใช่การบังคับให้ลาออก แล้วเราเป็นผู้ยกมือจับปากกามาเขียนด้วยตนเอง กรณีเช่นนี้ ก็จะถือว่าเราสมัครใจลาออกเอง สิทธิ์ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานก็สิ้นสุดไปด้วยครับ

ลองไปตรวจสอบและพิจารณาดูครับ

ให้กำลังใจครับ
ทนายพร.

67
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: คุมประพฤติ
« เมื่อ: ธันวาคม 12, 2021, 09:45:19 am »
ถามมาว่า...
ขอถามหน่อยครับ รายงานตัว 4 ครั้งใน 1 ปี ทำงานบริการสังคม 24ชั่วโมง
ผมไปรายงานตัวครั้งสุดท้าย วันที่17 พ.ย. 2564 นี้ แต่ว่างานบริการสังคมผมยังไม่ครบ 24ชม.
จะมีปัญหาอะไรไหมครับ?

ก็ตอบว่า เป็นแน่นอนครับ อาจจะถูกเจ้าพนักงานคุมประพฤติรายงานศาลว่าเราไม่ปฎิบัติตามคำสั่งศาล อาจจะต้องกลับไปรับโทษตามคำพิพากษานั้น
ส่วนข้อแนะนำคือ ให้รีบไปติดต่อพนักงานคุมประพฤติแล้วไปดำเนินการบริการสังคมโดยด่วนครับ

ด้วยความปรารถณาดีครับ

ทนายพร.

68
ตอบตามที่ถามเลยนะครับ
ถามมาว่า....
1.ลูกจ้างสามารถไม่ต่อสัญญาจ้างได้หรือไม่?
ตอบ อย่างแรกและสำคัญมาก คือต้องไปดูสัญญาก่อนว่าเป็นสัญญาจ้างแบบใด อย่าเพียงดูแห่หัวกระดาษหรือข้อความกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดกันไว้ จะต้องดูทั้งฉบับว่าได้สร้างเงื่อนไขในลักษณะที่สามารถจ้างต่อหรือต่อสัญญากันได้อีกหรือไม่ หากมี ก็จะถือว่าเป็น "สัญญาจ้างที่ไม่กำหนดระยะเวลาจ้างที่แน่นอน" เมื่อถือว่าไม่ได้กำหนดระยะเวลาจ้างที่แน่นอน ก็ถือว่าสัญญาดังกล่าวไม่มีสิ้นสุดเราในฐานะลูกจ้างก็ต้องไปทำหน้าที่คือไปทำงานตลอดระยะเวลา ถ้าขาดงานก็จะถือว่าละทิ้งหน้าที่ นายจ้างอาจเลิกจ้างได้ แต่ถ้าเป็นสัญญาจ้างที่กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดไว้แน่นอน เมื่อครบสัญญาก็เป็นสิทธิของเราที่จะเลือกว่าจะต่อหรือไม่ต่อครับ
ดังนั้น ในชั้นนี้ คงตอบไม่ได้ว่าหากจะต่อสัญญาหรือไม่ต่อสัญญา จะทำได้หริอไม่ได้จนกว่าจะได้พิจารณาและวินิจฉัยจากเอกสารสัญญาจ้างดังกล่าวว่าเป็นสัญญาจ้างที่กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดไว้อย่างเด็ดขาดแล้วหรือไม่นั้นเองครับ


2.หากลูกจ้างไม่ยอมต่อสัญญา ยังได้รับเงินชดเชยหรือไม่?
ตอบ ยังตอบไม่ได้จนกว่าจะได้วินิจฉัยประเภทของสัญญานั้นครับ แต่ถ้าเป็นสัญญาจ้างที่กำหนดระยะเวลาจ้างที่แน่นอน ก็มีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชยตามอายุงาน โดยเทียบเคียงอายุงานตามมาตรา ๑๑๘ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑
ซึ่งเรื่องนี้ มีหลายคนเข้าใจผิดว่า หากเป็นสัญญาจ้างที่กำหนดระยะเวลาจ้างที่แน่นอนแล้วเมื่อครบกำหนดสัญญาดังกล่าวแล้วนายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งหากอ่านตามมาตรา ๑๑๘ วรรคสามก็จะทำให้เข้าใจว่าเป็นเช่นนั้น แต่ถ้าอ่านในวรรคสี่ ก็จะรู้ได้เลยว่า กรณีที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินค่าชดเชยก็จะต้องเป็นการทำงานที่มีลักษณะเป็นงานโครงการที่ไม่ใช่ธุรกิจปกติ เช่น ปกติประกอบกิจการผลิตสินค้า แต่มาจ้างทำเราทำงานวิจัยที่ไม่เกี่ยวกับสินค้าที่ผลิต อย่างนี้เป็นต้น หรืองานตามฤดูการ เช่น จ้างให้ทำงานตัดอ้อย ซึ่งก็จะมีระยะเวลาในการหีบอ้อย เป็นต้น ซึ่งงานโครงการก็ดี หรืองานตามฤดูการก็ดี ต้องมีระยะเวลาการทำงานไม่เกินสองปี หากเกินกว่าสองปีถึงแม้จะเข้าเงื่อนไขก็ต้องจ่ายเงินค่าชดเชยอยู่ดีครับ


3.หากลูกจ้างต่อสัญญา เดือนต่อเดือน 6 ครั้ง จะนำมาสะสมรวมกับสัญญา 6 เดือนฉบับแรก รวมระยะเวลาจ้างงาน 1 ปี โดยได้รับเงินชดเชย 3 เดือนหรือไม่?
ตอบ ใช่แล้วครับ

4.หากลูกจ้างต่อสัญญา เดือนต่อเดือน 3 ครั้ง จะนำมาสะสมรวมกับสัญญา 6 เดือนฉบับแรก รวมระยะเวลาจ้างงาน 9เดือน โดยได้รับเงินชดเชย 1 เดือนหรือไม่?
ตอบ ที่เข้าใจถูกต้องแล้วครับ

ประมาณนี้ขอให้กลับไปอ่านสัญญาให้ละเอียดก่อนนะครับ ซึ่งในประเด็นนี้ทนายได้ตอบไปหลายครั้งแล้วในเว็บฯนี้ ลองไปค้นหาเรื่องการตีความสัญญาจ้างดูนะครับ

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร.
[/color]

69
ถ้ามองอีกมุมหนึ่ง ก็อาจเป็นลิขิตฟ้าที่กำหนดให้เป็นเช่นนี้ก็จะสบายใจขึ้น

เอาเป็นว่าถ้าข้อเท็จจริงเป็นดังเช่นที่เล่ามา ก็เป็นเรื่องยากที่จะต่อสู้คดีให้ไม่ต้องรับโทษ

โดยกฎหมายแล้ว การกระทำผิดในทางอาญา กับความจำเป็นที่ต้องหาเงินมาเลี้ยงดูครอบครัว มันคนละเรื่องกันและไม่สามารถที่จะอ้างได้ มิเช่นนั้น ทุกคนที่กระทำผิดก็คงจะใช้หลักการเดียวกันในการขอลดโทษ แต่อย่างไรก็ตามก็อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ศาลจะใช้ดุลพินิจในการพิจารณาโทษ

ดังนั้น หากกระทำผิดจริง แล้วยิ่งถูกล่อซื้อ มีธนบัตรเป็นหลักฐานด้วยแล้ว คงสู้ยากครับ

ส่วนข้อแนะนำนั้น เมื่อถูกฟ้องก็ขอให้ศาลตั้งทนายความอาสาเพื่อช่วยเหลือในการทำคำให้การรับสารภาพพร้อมทั้งเหตุที่จะให้ศาลใช้ดุลพินิจในการกำหนดโทษให้น้อยลงหรืออาจจะได้รับโอกาสให้รอการลงโทษไว้ก็เป็นได้นะครับ

ให้กำลังใจนะครับ

ทนายพร.

70
สำหรับคำถามนี้

"มโนธรรม" ตอบได้ถูกต้องครบถ้วนแล้ว

ข้อแนะนำ คือให้ทำเป็นหนังสือแจ้งนายจ้างไปว่าขอเกษียณอายุ และขอรับเงินค่าชดเชย

หากนายจ้างไม่จ่าย ก็เอาหนังสือดังกล่าวไปยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานในพื้นที่ที่เราทำงานอยู่ได้เลยครับ

ไม่ยากๆ

ทนายพร.

71
ทนายมีเวลาน้อย ตอบตามที่ถามเลยนะครับ ;D ;)
ถามมาว่า...
สอบถามดังนี้ครับ
1.บริษัทออกใบเตือนแบบนี้ถูกต้องหรือเปล่าครับ และสามารถเอาใบเตือนมาลดเงินเดือนได้หรือเปล่าครับ?
ตอบ การตักเตือนคือการลงโทษตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ซึ่งจะต้องกลับไปดูข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่า ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานในหมวดวินัยและโทษทางวินัยไว้ว่าอย่างไร มีเรื่องของการตัดค่าจ้างหรือไม่ อย่างไร แต่ทนายไม่คอยเจอการลงโทษด้วยการลดเงินเดือนนะครับ เอาเป็นว่า เวลาที่นายจ้างจะลงโทษลูกจ้าง ก็จะต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบเป็นหนังสือว่ากระทำผิดเมื่อใด ความผิดใด โทษที่ได้รับจะอ้างอิงข้อบังคับหรือกฎหมายข้อใด มาตราใด และต้องแจ้งว่าจะต้องไม่ทำความผิดซ้ำอีก จึงจะถือว่าเป็นการลงโทษโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยสรุป การกล่าวอ้างว่าเอาใบเตือนมาลดเงินเดือนคงเป็นเพียงข้ออ้างล่ะครับ

2.ยอดเงินชดเชยที่ผมเรียกถูกต้องไหมครับ?
ตอบ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ มาตรา ๑๑๘ ได้บัญญัติวิธีคิดหลักการคำนวนเงินค่าชดเชยไว้ว่า ให้คิดจาก "ค่าจ้างสุดท้าย" ดังนั้น จึงต้องพิจารณาว่า ค่าจ้างสุดท้ายของเราเป็นเท่าใด ยกตัวอย่างเช่น หากเรามีค่าจ้างเดือนละ ๑ หมื่นบาท การคิดค่าชดเชยก็จะคำนวณที่ฐาน ๑ หมื่นบาท แต่หากต่อมานายจ้างมาขอลดค่าจ้างลงเหลือเดือนละ ๘ พันบาท โดยที่เรายินยอม ย้ำ เรายินยอม ในการคำนวณคิดค่าชดเชยก็จะใช้ฐานคิดที่ ๘ พันบาท เพราะถือเป็นค่าจ้างสุดท้าย เป็นต้น เว้นแต่การลดค่าจ้างนั้นมีเจตนาไม่สุจริตเพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายเงินชดเชยที่เต็มจำนวนก็ต้องว่ากันเป็นกรณีๆไปตามพยานหลักฐานละครับ
แต่อย่างไรก็ตาม ค่าจ้างที่นำมาคำนวณค่าชดเชยนั้น จะต้องไม่ต่ำว่าค่าจ้างขั้นต่ำ ถึงแม้ว่าเราจะยินยอมให้ลดแต่ก็ลดได้เพียงเท่ากับค่าจ้างขั้นต่ำ หากเกินกว่านั้น ถือว่าข้อตกลงที่เรายอมไปนั้นเป็นโมฆะครับ

3.ผมขอให้จ่ายครั้งเดียว นายจ้างอ้างไม่มีเงินขอผ่อน ถ้าผมไม่ยอมจะเป็นอย่างไรครับ?
ตอบ หากเราไม่ยอมเราก็ยืนยันให้พนักงานตรวจแรงงานออกคำสั่งให้นายจ้างปฎิบัติตามคำสั่งภายใน ๓๐ วัน หากเกินระยะเวลาที่พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งแล้วนายจ้างยังไม่จ่ายก็ให้แจ้งพนักงานตรวจแรงงานดำเนินคดีอาญากับนายจ้างฐานไม่ปฎิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงาน ซึ่งเรื่องนี้ศาลเคยมีคำพิพากษาจำคุกและปรับนายจ้างเป็นคดีตัวอย่างแล้ว แต่กระบวนการในส่วนค่าจ้างตามคำสั่งที่ค้างก็ต้องไปฟ้องศาลแรงงานเพื่อบังคับให้นายจ้างจ่ายพร้อมดอกเบี้ยต่อไป หรือหากยังไม่จ่ายอีกก็ยึดทรัพย์บังคับคดีตามขั้นตอนครับ

4.หากตกลงให้นายจ้างผ่อน ต่อมานายจ้างไม่ยอมจ่าย ต้องทำอย่างไรครับ
ตอบ ก็ต้องนำสัญญานั้นไปฟ้องต่อศาล และยึดทรัพย์บังคับคดีล่ะครับ

5.เงินเดือนที่ถูกลด 25% ต่ำกว่าค่าแรงขั้นต่ำของจังหวัด(320 บาท) ตอนเขียนคำร้องครั้งแรกไม่ได้เรียกร้อง ผมสามารถเรียกร้องส่วนนี้เพิ่มได้ไหมครับ?
ตอบ หากพนักงานตรวจแรงงานยังไม่ได้ออกคำสั่ง ก็สามารถไปยื่นคำร้องเพิ่มเติมได้ แต่ถ้าออกคำสั่งแล้ว ก็จะยากนิดนึง เพราะต้องไปยื่นฟ้องต่อศาลเพื่อเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน โดยขอให้ศาลวินิจฉัยว่าค่าชดเชยควรจะไม่ต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำตามที่อธิบายไว้ตอนต้นครับ

6.หากพบว่าข้อความในใบเตือนไม่เป็นความจริง นายจ้างมีความผิดไหมครับ
ตอบ ก็คงจะมีความผิดที่ข้อความไม่จริง แต่เรื่องนี้คงเอาผิดยากเพราะเป็นมุมมองของนายจ้าง แต่ถ้าข้อความที่ผิดนั้นไปปรากฎอยู่ในหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าพนักงาน ก็จะมีความผิดฐานแจ้งข้อมูลอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงาน ซึ่งเป็นคดีอาญา

ครบถ้วนนะครับ

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร.
[/color]

72
นี่ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งของผู้มีทรัพย์มรดก ที่ตกทอดแก่ทายาท ขณะที่เจ้ามรดกยังอยู่ก็คงไม่มีปัญหาอะไรกัน แต่เมื่อเจ้ามรดกตายลงก็มักจะมีปัญหากัน ซึ่งบางรายถึงกันตัดญาติขาดมิตรกันเลยทีเดียว

ก็ขอให้ทุกๆท่านใช้สติในการแก้ใขปัญหานะครับ

เอาเป็นว่าในเครสนี้ เท่าที่อ่านเรื่องราวก็คงจะได้รับหมายศาลเรียบร้อยแล้ว ซึ่งก็คงจะถูกฟ้องขับไล่ เรียกค่าเสียหายอะไรประมาณนี้

แน่นอนว่า แนวทางการต่อสู้ก็ต้องพิจารณาจาก "คำฟ้อง" นั้นแหละว่า โจทก์ตั้งเรื่องสู้ว่าอย่างไร มีหลักฐานอะไร และข้อโต้แย้งของเรามีมั๊ย พยานหลักฐานของเรามีน้ำหนักให้รับฟังได้หรือไม่ เพื่อยกเป็นข้อต่อสู้โดยทำ "คำให้การจำเลย" และสู้คดีไปในทุกประเด็น ซึ่งที่กล่าวมาหากไม่ได้เรียนกฎหมายมา ก็ยากพอสมควรนะครับ อาจจะต้องปรึกษาผู้รู้ให้ช่วยดำเนินการให้

ขณะเดียวกัน เมื่อพี่ชายฟ้องขับไล่เราได้ เราก็ฟ้อง ขับไล่ พี่ชาย ได้เช่นกัน ซึ่งคำฟ้องก็ทำไม่ยาก ก็ดูจากคำฟ้องของพี่ชายนั่นแหละปรับเอา และนำไปยื่นฟ้องที่ศาลเดียวกันที่พี่ชายฟ้องเรานั่นแหละ เรียกว่า "ไหนามยอกเอาหนามบ่ง"

ท้ายที่สุด ศาลก็จะไกล่เกลี่ย ให้ทั้งสองฝ่ายคุยกัน ทีนี้ จะคุยหรือตกลงกันอย่างไรก็ว่ากันไป อาจจะโอนสลับห้องตามที่อยู่จริงก็เป็นได้
หรือถ้าตกลงกันไม่ได้จริงๆ ศาลก็น่าจะมีคำพิพากษาให้แต่ละฝ่ายคืนห้องให้ถูกต้องตามสิทธิ์ ส่วนค่าเสียหายก็เป็นพับ ประมาณนี้

นี่คือแนวทางการต่อสู้และคำตอบตามที่ถามมานะครับ

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร.

73
คำตอบ สำหรับคำถามนี้ "มโนธรรม" ได้ตอบไว้ถูกต้องแล้ว ทนายคงไม่ต้องตอบซ้ำ ;D ;D ;D

ทนายพร.


74
อ่านแล้วก็น่าเห็นใจ ก็อย่างว่าล่ะครับ เท่าที่ทนายเคยประสพพบเจอมาธุรกิจการปล่อยเงินกู้แบบ "บ้านๆ" ไม่มีรายใหนรอดซักราย หากไม่โหดจริงอยู่ไม่ได้ครับ ขาดทุนทุกราย ตอนมากู้มายืมสารพัดปัญหาความเดือดร้อน พร้อมรับปากรับคำว่าจะใช้คืนเมื่อนั้นเมื่อนี้ พอถึงเวลาก็หายต๋อม ไปถวงก็จะหาว่าไปทาง ผิดใจกันอีก ไม่ทวงก็ไม่มีทีท่าว่าจะใช้หนี้ ดีไม่ดี มีลูกหนี้หัวหมอไปแจ้งความว่าเราปล่อยเงินกู้เรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดอีก ผลก็คือเรามีความผิดอาญา อาจติดคุกได้ อย่างนี้เป็นต้น

ซึ่งผู้ถามก็น่าจะอยู่ในข่ายนี้...

เอาเป็นว่า ทนายให้ข้อแนะนำว่า..ต่อไปหากมีการกู้ยืมเงินกันก็ขอให้มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือไม่ก็ต้องมีข้อความทางไลน์ที่แสดงข้อความที่อ่านแล้วเข้าใจว่ามีการกู้ยืมเงินกันจริง และในการให้เงินกู้นั้น ก็ขอให้ใช้วิธี "โอน" ผ่านบัญชีธนาคาร เพื่อจะได้มีหลักฐานในการฟ้องร้องหากท้ายที่สุดมีการเบี้ยวหนี้กัน

ส่วนเครสนี้ ก็ต้องรวบรวมพยานหลักฐานเท่าที่มี ในรายที่พอจะฟ้องได้ ทั้งข้อความทางไลน์และหลักฐานการโอนเงิน จากนั้นอาจจะต้องอาศัยทนายความให้ช่วยออกหนังสือ "บอกกล่าวทวงถามและยกเลิกสัญญา" จากนั้น ก็ดำเนินการฟ้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.๒๕๔๔ ก็พอจะแก้ปัญหาได้ ส่วนท้ายที่สุดจะได้เงินคืนหรือไม่ก็อยู่ที่ลูกหนี้จะมีทรัพย์สินให้ยึดอายัดหรือไม่เท่านั้น

หากไม่มีทรัพย์ให้ยึด ก็อาจจะเจ็บช้ำน้ำใจซ้ำสองจากค่าฤชาธรรมเนียมศาลและค่าทนายความ ที่จะต้องเสียเงินเพิ่มไป แล้วได้คำพิพากษามานอนกอดแทนละคร๊าบบบบ

พิจารณาและเอาใจช่วยนะครับ

ทนายพร.

75
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: มาตรา4วรรค2
« เมื่อ: กันยายน 23, 2021, 12:36:42 pm »
ให้เข้าไปที่เว็บไซด์ "สำนักอบรมกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา" หรือ เนติบัณฑิตยสภา ก็จะมีคำตอบอย่างกระจ่างเลยครับ

หรือถ้าหาไม่เจอ ให้เข้าไปค้นใน google โดยพิมพ์คำว่า "คำพิพากษาศาลฏีกา+ประมวลกฎหมายอาญา ม.๔ วรรค ๒ ก็จะมีคนให้ความรู้เยอะแยะเลยครับ

ทนายพร.

หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 50