19/05/24 - 02:36 am


แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - ทนายพร

หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 50
76
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: กฎหมายอาญา มาตรา 10 11
« เมื่อ: กันยายน 23, 2021, 12:35:54 pm »
ให้เข้าไปที่เว็บไซด์ "สำนักอบรมกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา" หรือ เนติบัณฑิตยสภา ก็จะมีคำตอบอย่างกระจ่างเลยครับ

หรือถ้าหาไม่เจอ ให้เข้าไปค้นใน google โดยพิมพ์คำว่า "คำพิพากษาศาลฏีกา+ประมวลกฎหมายอาญา ม.๑๐ , ม.๑๑ ก็จะมีคนให้ความรู้เยอะแยะเลยครับ

ทนายพร.

77
เเหมๆๆๆๆ....ถามมาว่าจะจดทะเบียนได้มั๊ย?...

เอาเป็นว่า รักกันพอหรือเปล่าล่ะ? อยากอยู่ด้วยกันหรือเปล่าล่ะ? ถ้าตอบว่า ใช่ ...ลุยเลยครับ รอไร.. ;D ;D

ส่วนเรื่องที่มีการตั้งกรรมการสอบสวน เมื่อเรื่องจบไปแล้ว ก็คือจบครับ

เมื่อสถานะเป็นประชาชนคนธรรมดา มิใช่ในฐานะครูกับศิษย์ ก็สามารถดำรงชีวิตเช่นปุถุชนทั่วไปเขาทำกันได้เลยครับ

ยินดีด้วยนะครับ

ทนายพร.

78
สวัสดีชาวโลก.. ;D ;D

ปัญหาประเภทนี้ เป็นปัญหาโลกแตก ดังเช่น ไก่กับไข่ อะไรเกิดก่อนกัน

และปัญหาเล็กๆน้อยๆเช่นนี้ ก็มีเยอะแยะในสังคมนี้ ไม่ว่าจะเสียงดัง จอดรถขวาง ไม่ชอบขี้หน้า ปลูกต้นไผ่ติดรั้ว รุกร้ำที่ดินเพียงฝ่ามือ กิ่งมะม่วงล้ำที่ ฯลฯ ซึ่งปัญหาพวกนี้แก้อยากอยู่ครับ ยิ่งถ้าเคมีไม่ตรงกันแล้วยิ่งไปกันใหญ่ แต่ถ้าทุกฝ่ายคุยกันและหาทางออกร่วมกันเรื่องที่ว่าใหญ่ก็เล็กลงทันตาเลยครับ

ซึ่งจริงๆแล้ว หากไม่ยึดติด ยิ่งผู้ถามมีองค์ความรู้สอบได้นักธรรมโท ตอนอายุ ๑๔ แล้ว อาจต้องใช้ธรรมมะเข้าข่ม หรือคิดเสียว่า เป็นบททดสอบจากชั้นฟ้าเพื่อมาทดลองเราว่าจะก้าวข้ามความทุกข์ทรมานที่ประสพอยู่นี้ได้หรือไม่

หรือถ้าไม่ไหวจริงๆ ก็ทำตามข้อแนะนำที่ "มโนธรรม" ได้ตอบไว้ในทุกข้อคำถามนั้นแหละครับ ถูกต้องแล้ว ซึ่งหากให้ทนายแนะนำก็คงไม่แตกต่างกัน

เอาเป็นว่าหากยังเสียงดัง ก็ให้บันทึกเสียงไว้ แล้วเอาไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจให้ดำเนินดคี ถึงแม้ว่าโทษไม่มากแต่ก็ทำไปเพื่อความถูกต้อง อาจจะเสียเวลา เสียเงินบ้าง ซึ่งหากเจ้าพนักงานตำรวจรับเรื่องแล้วไม่ดำเนินการก็อาจจะต้องเอาผิดกับตำรวจผู้นั้น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๗ ล่ะครับ

วันใหนเสียงดัง อัดเสียงไว้ แล้วไปแจ้งความ

เสียงดังอีก อัดเสียงไว้ แล้วไปแจ้งความ

ดังอีก ก็เอาอีก จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะถอดใจ ย้ายออกไป เรื่องก็น่าจะจบ

เข้าใจในความลำบากและความอึดอัดที่ประสพอยู่นะครับ

ให้กำลังใจครับ

ทนายพร.

79
ทนายอ่านแล้วไม่ค่อยเข้าใจคำถามเท่าใหร่ ;D ;D

หัวข้อบอกว่า "ตกลงทดลองงาน 90 วัน เจ้านายแจ้งเลิกจ้าง วันที่ 80 แล้วให้ทำงานต่ออีก1เดือน" และในคำถามๆมาว่า "บีบและกดดันทุกทาง ร่างสัญญาจ้างมาให้เซ็น มีกำหนด 120 วัน เร่งให้เซ็น เพื่อมัดมือชก มีคลิปเสียงการเจรจา ใช้เป็นหลักฐานเอาผิดได้มั้ยคะ?"

สรุปแล้ว..ถูกเลิกจ้างแล้วหรือยัง?...หรือ นายจ้างบอกกล่าวเลิกจ้างในวันที่ ๘๐ เพื่อให้มีผลการเลิกจ้างอีก ๑ เดือนข้างหน้า.. ซึ่งน่าจะเป็นประมาณนี้

เอาเป็นว่า จะ ๙๐ หรือ ๑๒๐ วัน ในทางกฎหมายแล้วผลก็ไม่ต่างกันมากนัก แต่ให้ดูข้อหาที่ถูกเลิกจ้างเป็นสำคัญ..ทำไมทนายถึงกล่าวเช่นนั้น!!!

ตามมาตรา ๑๑๘ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ บัญญัติสรุปว่า หากทำงานไม่ถึง ๑๒๐ วัน จะไม่ได้รับเงินค่าชดเชยนะครับ ซึ่งกรณีนี้ไม่ว่าจะเป็น ๑๒๐ หรือ ๑๑๐ วัน ก็ยังไม่ได้รับสิทธิ์ในเงินค่าชดเชยอยู่ดี

แต่ถึงแม้ว่ากฎหมายจะไม่ให้ค่าชดเชย ลูกจ้างก็ยังมีสิทธิได้รับค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า หากนายจ้างเลิกจ้างในทันที

แต่ในกรณีนี้ นายจ้างก็ได้แจ้งเลิกจ้างไว้ล่วงหน้าแล้ว โดยให้มีผลการเลิกจ้างเมื่อล่วงพ้นไป ๑ เดือน หรือบอกเลิกจ้างเราวันนี้เพื่อให้มีผลการเลิกจ้างอีก ๓๐ วัน ข้างหน้า ซึ่งในกรณีนี้เราจะไม่ได้รับค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เนื่องจากนายจ้างได้บอกกล่าวเราโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว

เหลือเพียงประเด็นเดียวคือ นายจ้างเลิกจ้างเราด้วยข้อหาใด หากเป็นข้อหาไม่ผ่านเกณฑ์ประเมิน ก็ต้องไปว่ากันที่ศาล หากเรามั่นใจว่าเราผ่านเกณฑ์ประเมินแน่ๆ ซึ่งก็มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ตามมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.๒๕๒๒ ซึ่งหากทำงานไม่นานหากศาลพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ศาลก็จะพิจารณาค่าเสียหายให้ แต่คงไม่เยอะนะครับ เพราะทำงานไม่นาน

ส่วนคลิปเสียงก็เอาไว้เป็นพยานในชั้นศาลครับ

คงประมาณนี้สำหรับคำตอบครับ

ให้กำลังใจครับ

ทนายพร.

80
ข้อหายักยอกทรัพย์ หากทำเพียงครั้งเดียวโทษไม่มากนัก แต่ถ้าทำหลายครั้งก็มีโทษไม่ใช่น้อยนะครับ

ซึ่งการลงโทษนั้น จะนับ "กระทงความผิด" ทุกครั้ง เช่น ยักยอกเงินไปวันละ ๑๐๐ บาท จำนวน ๓๐ วัน หากศาลลงโทษกระทงละ ๑ ปี ก็อาจจะถูกรับโทษถึง ๓๐ ปีนะครับ

ส่วนที่ถามว่าวันที่อยู่ในเรือนจำจะถูกหักออกจากคำพิพากษา หากตามที่ยกตัวอย่างมา ก็จะเป็น ๑ ปี ๑๐ เดือนครับ

ส่วนกรณีที่ประกันตัวนั้น ก็อยู่ที่ว่าเราจะมีเงินประกันตัวหรือไม่ โดยปกติ ศาลจะเรียกหลักประกันตั้งแต่ห้าหมื่นบาทไปจนถึงกึ่งหนึ่งของเงินที่ยักยอกไป ซึ่งก็อยู่ที่ดุลพินิจของศาลละครับ หากมีเงินก็ประกันตัวไปครับ

แต่ถ้าไม่มีเงินแต่ใช้วิธีซื้อประกันอิสระภาพ ก็ต้องวิเคราะห์ให้ดีนะครับ ว่าจะประกันตัวหรือไม่ เพราะหากเราไม่มีเงินไปคืนผู้เสียหายแน่นอนว่าเค้าคงเอาเรื่องเราจนถึงที่สุด หากกระทำผิดหลายครั้ง และได้รับโทษรวมเกินกว่า ๕ ปี ศาลอาจจะไม่รอลงอาญาแก่เรา ซึ่งเราก็จะต้องติดคุกอยู่ดี หากวิเคราะห์ได้ดังนี้ก็อย่าไปเสียเงินเพื่อซื้อประกันเลยครับ ยอมก้มหน้าก้มตารับกรรมไป เพื่อให้ระยะเวลามันเดินเมื่อศาลมีคำพิพากษาก็จะถูกหักและเมื่อได้ตามเงื่อนไขในการพักโทษ ก็จะเป็นประโยชน์มากกว่าครับ..ลองตรองดูนะครับ

ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดคือ รับสารภาพแล้วก็รีบนำเงินไปชดใช้คืนเค้าโดยด่วน ถึงแม้ว่าจะเป็นความผิดสำเร็จแล้ว อาจจะได้รับความปราณีไม่เอาโทษก็ได้ ซึ่งหากตกลงกันได้ คดีอาญาก็เป็นอันยุติไปครับ...รีบเลยครับ

ทนายพร.

81
คำตอบเป็นไปตามที่ "มโนธรรม" ได้อธิบายไว้เลยครับ

ทนายพร.

82
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: โดนจับรับจ้างส่งยา
« เมื่อ: กันยายน 23, 2021, 11:44:49 am »
ถามมาว่าจะติดคุกกี่ปี
อืมมม....ทนายไม่ได้เป็นผู้พิพากษาที่ตัดสินคดีนี้ด้วยซิครับ คงตอบไม่ได้

แต่หากทำผิดจริงก็ควรจะรับสารภาพเพราะการสารภาพผิดจะทำให้ศาลลดโทษให้กึ่งหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม ก็มิใช่จะมีลดโทษแต่เพียงอย่างเดียว อาจจะมีเพิ่มโทษด้วยหากเป็นการกระทำผิดซ้ำ

และกรณีถูกจับในข้อหา "ขับเสพ" ตาม พรบ.จราจรทางบก จะมีโทษสูงกว่าข้อหา "เสพ" ตาม พรบ.ยาเสพติด พ.ศ.๒๕๒๒ นะครับ

ดังนั้นในการต่อสู้คดีหรือทำคำให้การก็ขอให้ทำสวยๆ เพื่อให้ศาลหยิบยกมาเป็นเหตุบรรเทาโทษเช่น ผู้กระทำความผิดเป็นผู้โฉดเขลาเบาปัญญาตกอยู่ในความทุกข์อย่างสาหัส มีคุณความดีมาแต่ก่อน เป็นต้น

และที่ "มโนธรรม" ได้อธิบายไว้นั้น ก็ถูกต้องแล้วครับ

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร.

83
ไม่แน่ใจว่าทนายเข้ามาตอบทันป่าวน้ออออ... ;D ;D

เครสนี้ก็ยังมีประเด็นก้ำกึ่งในปัญหาข้อกฎหมายอยู่พอสมควรว่าจะเข้ามาตรา ๑๒๐ แห่งพระราชบัญญัตคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑  แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระรำชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๒ หรือไม่...

ซึ่งมาตรา ๑๒๐ นี้ บัญญัติในวรรคหนึ่งว่า "นายจ้างซึ่งประสงค์จะย้ายสถานประกอบกิจการแห่งหนึ่งแห่งใดไปตั้ง ณ สถานที่ใหม่หรือย้ายไปยังสถานที่อื่นของนำยจ้าง ให้นายจ้างปิดประกาศแจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้า โดยให้ปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ สถานประกอบกิจการนั้นตั้งอยู่ที่ลูกจ้างสามารถเห็นได้อย่างชัดเจน ติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนวันย้ายสถานประกอบกิจการ และประกาศนั้นอย่างน้อยต้องมีข้อความชัดเจนเพียงพอที่จะเข้าใจได้ว่าลูกจ้างคนใดจะต้องถูกย้ายไปสถานที่ใดและเมื่อใด...

จะเห็นได้ว่า หากเป็นการย้ายสถานประกอบการหรือมีคำสั่งให้ลูกจ้างย้ายไปทำงาน ณ สถานที่ทำงานแห่งใหม่ จึงจะเข้าเหตุตามวรรคหนึ่งนี้

แต่หากเป็นกรณีส่งไปฝึกงานหรือฝึกอบรม จะไม่เข้าเงื่อนไขดังกล่าว

ดังนั้น เครสนี้ เบื้องต้น ทนายเห็นว่าควรจะต้องปฎิบัติตามคำสั่งไปก่อน ขณะเดียวกันก็ทำหนังสือสอบถามหรือขอคุยกับผู้มีอำนาจอย่างเป็นทางการว่า การสั่งให้ไปทำงานนี้เป็นการสั่งไปปฎิบัติงานปกติหรือไม่ อย่างไร หรือหากเป็นการฝึกงานก็ต้องดูลักษณะที่ผู้บังคับบัญชาสั่งงานเราว่าเป็นงานที่ต้องเรียนรู้ใหม่ หรือเป็นการทำงานที่เรารู้อยู่แล้ว ลองถามที่ทำงานใหม่ก็น่าจะรู้ครับ

หากเป็นการเรียนรู้ใหม่และมีระยะเวลาพอสมเหตุสมผล ก็ถือว่าเป็นการเรียกรู้อบรม จะไม่เข้าตามมาตรา ๑๒๐ ครับ
แต่ถ้าไม่ใช่ ให้รีบทำหนังสือ (ภายใน ๓๐ วันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งให้ย้ายไป) แจ้งนายจ้างไปว่าไม่ประสงค์จะไปทำงานในสถานที่แห่งใหม่ โดยแจ้งไปว่าการย้ายไปสถานที่แห่งใหม่นั้น ทำให้การดำรงชีวิตของเราเปลี่ยนไป ก็จะมีสิทธิ์ได้รับเงินชดเชยตามมาตรา ๑๒๐ ครับ

ดังนั้น ที่ถามว่าจะปฎิเสธได้หรือไม่ คำตอบก็อยู่ในคำอธิบายข้างต้นแล้วล่ะครับ

ให้กำลังใจครับ

ทนายพร.

84
ก็น่าเห็นใจทุกๆฝ่ายในสถานการเช่นนี้นะครับ

เพื่อเป็นประโยชน์กับทุกท่าน คำถามนี้จึงจะอธิบายข้อกฎหมายเพื่อให้ได้ความรู้กันนะครับ ;D

กรณีนี้ ทำงานเป็นฟรีแลนส์ ก่อนที่จะดำเนินการต้องพิจารณาลักษณะงานที่ทำก่อนว่า เป็นการ "จ้างแรงงาน" หรือ "จ้างทำของ"

ซึ่ง "จ้างแรงงาน" นั้น วิธีสังเกตุง่ายๆก็คือ ผู้จ้างมีอำนาจ "บังคับบัญชา" หรือเรียกง่ายๆว่า สามารถสั่งงานได้ หากทำผิดก็ต้องได้รับโทษเช่น โดยตักเตือน ถูกพักงาน หรือถูกเลิกจ้างได้ การทำงานก็ต้องมีการกำหนดวันเวลาทำงาน วิธีการจ่ายค่าจ้าง เป็นต้น ซึ่งจ้างแรงงานนี้กฎหมายไม่บังคับว่าจะต้องทำหนังสือสัญญาจ้างกันเท่านั้น เพียงตกลงจ้างกันด้วยวาจาก็ถือว่ามีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว

แต่ถ้าเป็น "จ้างทำของ" ลักษณะจะตรงกันข้ามกับจ้างแรงงาน ซึ่ง "ผู้ว่าจ้าง" จะไม่มีอำนาจมาเจ้ากี้เจ้าการหรือสั่งงานเราได้ เราอยากจะทำงานเมื่อใดก็ได้ แต่ขอให้มี "ผลสำเร็จของงาน" หากไม่พอใจกันและกันก็เพียงยกเลิกการจ้างงาน เช่น เราเอารถยนต์ไปเข้าศูนย์บริการ ตัวเราจะเรียกว่า "ผู้ว่าจ้าง" และศูนย์บริการ จำเรียกว่า "ผู้รับจ้าง" หากผู้รับจ้างทำงานไม่ได้ตามที่เราบอกก็แค่บอกเลิกกันกัน หรือถ้าผู้รับจ้างไม่อยากทำงานให้กับเรา ก็แค่บอกปัดไม่รับงาน สัญญาก็ยุตินั่นเอง ประมาณนี้

ดังนั้น ท่านต้องพิจารณาว่าท่านเข้าเงื่อนไขใด... เพราะช่องทางการใช้สิทธิ์จะไม่เหมือนกัน

หากพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็น "จ้างแรงงาน" ให้ท่านไปยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน (ยื่น คร.๗) ในพื้นที่ที่ท่านทำงานอยู่ ซึ่งระยะเวลาในการดำเนินการนั้นก็ไม่เกิน ๖๐ วัน แต่อาจขยายได้อีก ๓๐ วัน พนักงานตรวจแรงงานก็จะมีคำสั่งแล้ว อาจจะสั่งให้จ่ายหรืออาจจะสั่งไม่จ่ายก็อยู่ที่พยานหลักฐานของแต่ละฝ่าย

หากเป็น "จ้างทำของ" ท่านต้องไปยื่นฟ้องต่อศาลยุติธรรม หากจำนวนเงินไม่เกินกว่า ๓ แสน ก็ฟ้องที่ศาลแขวง ถ้าเกิน ๓ แสนก็ฟ้องที่ศาลจังหวัด ในกรณีนี้ท่านอาจต้องจ้างทนายความเพื่อให้ความช่วยเหลือในการทำคดีเพราะขั้นตอนค่อนข้างยุ่งยากซับซ้อน และอาจต้องรีบดำเนินการโดยด่วนเพราะมีอายุความเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

เมื่อรู้ข้อกฎหมายแล้วก็เทียบเคียงกับงานที่เราทำว่าเป็นแบบใด แล้วก็ตัดสินใจลุยโลดดดด..

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร.

85
หากชายและหญิงอยู่กินด้วยกันโดยไม่จดทะเบียนสมรสกัน ในทางกฎหมายไม่ถือว่าเป็นสามี-ภรรยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย ทรัพย์สินที่หามาได้ จะถือเป็นสินสมรส ต้องแบ่งกันคนละครึ่ง

แต่ในทางสังคม ก็ถือว่าเป็นสามี-ภรรยาโดยถูกต้อง

และในทางเศรษฐกิจ หากไม่จะทะเบียนสมรสกัน จะถือว่าเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ

ที่อธิบายมาทั้งหมดก็จะบอกว่า เมื่อเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจแล้ว ก็สามารถที่จะแบ่งทรัพย์สินนั้นคนละครึ่งได้

ดังนั้น ที่ถามมาว่าจะฟ้องอะไรได้บ้าง? ก็ตอบว่า ฟ้องขอแบ่งครึ่งที่ทรัพย์สินและหนี้สินเลยครับ

ก่อนฟ้องก็ไปตรวจสอบว่ามีทรัพย์อะไรบ้าง? มีหนี้อยู่เท่าใหร่? ทรัพย์นั้นมีราคาตลาดอยู่เท่าใหร่ เมื่อได้ครบแล้วก็ติดต่อทนายให้ร่างฟ้องให้เลยครับ

ให้กำลังใจครับ

ทนายพร.


86
ครั้งแรก ๓ เม็ด บอกสั้นๆเลยไม่รู้ว่าถูกตั้งขอหาใด

มีไว้ในครอบครองเพื่อเสพ  โทษก็ประเภทหนึ่ง

มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ถึงแม้ว่ามีแค่ ๓ เม็ดก็ตาม โทษก็อีกประเภทหนึ่ง

เอาเป็นว่าหากเป็นเสพ  หากไม่ประกันตัวก็จะต้องถูกขัง ส่วนศาลคงจะตัดสินให้รอลงอาญา

แต่หากเป็นจำหน่าย มีโอกาสทั้งรอลงอาญา และไม่รอลงอาญา อยู่ที่พฤติการณ์แห่งคดี และการทำคำให้การว่าต่อสู้หรือจะรับสารภาพครับ

ทนายพร.

87
เมื่อเข้าสู่กระบวนการของศาลแล้ว ก็คงจะทำอะไรมากไม่ได้ คงต้องปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการ

แน่นอนว่า บริษัทคงอยากจะจ่ายช้าที่สุด แต่กฎหมายก็ได้เยียวยาเราโดยกำหนดให้นายจ้างต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปี

ยิ่งระยะเวลาเนิ่นช้าเพียงใด เราก็จะได้รับดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ถึงแม้ไม่มากแต่ก็ถือซะว่าได้ดอกเบี้ยมากกว่าฝากธนาคารก็แล้วกันครับ ;D

ในการไกล่เกลี่ยนั้น สามารถไกล่เกลี่ยได้ทางอิเล็คทรอนิกส์ หรือทาง line เราก็แจ้งความประสงค์ไปที่ศาลเลยครับ แต่ถ้าอีกฝ่ายไม่สะดวกคงจะไกล่เกลี่ยฝ่ายเดียวไม่ได้ ก็คงรอตามวันที่ศาลนัดล่ะครับ

อนึ่ง เมื่อนายจ้างยื่นคำฟ้องเพิกถอนคำสั่งคณะกรรมการสวัสดิการ ไม่แน่ใจว่าบริษัทได้ยื่นฟ้องเราเป็นจำเลยที่ ๒ ด้วยหรือไม่ หากไม่ได้ฟ้องเราเป็นจำเลยที่ ๒ เราต้องยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอเข้าเป็นจำเลยร่วม ตามวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๕๗ นะครับ เพื่อจะได้เข้าไปในคดีและรู้ความเคลื่อนใหวของคดีครับ

ให้กำลังใจครับ

ทนายพร.

88
แม้ไม่มีสัญญาจ้าง ในทางกฎหมายหากเราทำงานให้นายจ้างจริง ก็ไม่มีปัญหาครับ ตัวเราก็เป็นพยานได้ คนรอบข้าง รายการโอนเงิน สลิปเงินเดือน หรือข้อมูลจากสำนักงานประกันสังคม ก็เป็นหลักฐานได้ครับ

ทนายพร.

89
คำตอบของคำถามนี้ "มโนธรรม"ได้อธิบายไว้ถูกต้องแล้วครับ

ทนายพร.

90
โทษทางอาญา เหมือนกันเลยครับ ไม่ว่าจะเป็นทหารหรือพลเรือน

เพียงแต่ในการพิจารณาคดีจะพิจารณาที่ศาลทหาร

ซึ่งนอกจากจะถูกลงโทษตามกฎหมายอาญาแล้ว ก็ยังจะต้องถูกลงโทษทางวินัยทหารด้วยนะครับ

ส่วนโทษที่จะได้รับ อ่านได้ที่นี่ครับ   http://203.155.220.230/bmainfo/law/011/Drug2522.pdf

ทนายพร.

หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 50