19/05/24 - 23:41 pm


แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - ทนายพร

หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14 ... 50
166
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: การนัดพร้อม
« เมื่อ: มกราคม 11, 2021, 01:58:25 am »
นัดพร้อม  หมายถึง  วันที่ศาลนัดคู่ความที่เกี่ยวข้องมาศาลเพื่อสอบถามถึงพยานหลักฐานของแต่ละฝ่ายว่ามีอะไรบ้าง พยานใดที่สามารถรับกันได้ (หมายถึงความมีอยู่ ความถูกต้อง) และกำหนดประเด็นการต่อสู้ หรือจะเรียกว่าการกำหนดประเด็นคดี ก็ได้

หลังจากนั้น ก็จะให้คู่ความแถลงว่าจะสืบพยานฝ่ายตนกี่ปาก มีใครบ้าง เกี่ยวข้องกับคดีอย่างไร

และจากนั้น ก็ให้คู่ความไปกำหนดวันสืบพยานกันที่ศูนย์หน้าบัลลังก์ จะกี่วันก็ว่าไป

และที่ถามว่า เราเป็นผู้เสียหายจำเป็นต้องไปมั๊ย

ก็ตอบว่า ในขั้นตอนนี้ ก็ไม่จำเป็นต้องไปครับ รอรับการประสานงานจากอัยการว่าจะให้ไปสืบพยานวันใหน

เว้นแต่ หากประสงค์จะเข้าเป็นโจทก์ร่วมหรือยื่นคำร้องเรียกค่าเสียหาย ตามมาตรา ๔๔/๑ ก็ต้องไปและยื่นเอกสารในวันนี้เเหละครับ

แต่เอ้...ดูแล้ว น่าจะเป็นคำถามที่เกี่ยวเนื่องกับคำถามก่อนแน่เลยยยยย.... ;D ;)

ทนายพร.

167
หลังจากที่เครียร์งานเครียร์การเสร็จ ก็พร้อมมาตอบคำถามแล้วครับ  ;D

มาว่ากันเลย....
ถามว่า...จะยื่นคำร้องขอค่าเสียหาย โดยไม่ต้องจ้างทนายได้มั๊ย ทำงัย?

ก็ตอบว่า ได้ครับ...วิธีการคือ ให้ไปโหลดแบบพิมพ์ศาล ที่เรียกว่า คำร้อง/คำขอ/คำแถลง  มา ๑ ใบ เสร็จแล้วก็พิมพ์ข้อความให้สมบูรณ์ ส่วนช่วงล่างของกระดาษ ที่ขึ้นต้นด้วยข้อ ๑ .....ก็ให้บรรยายไปว่าตามหลักการบรรยายแยกเป็นส่วนๆดังนี้
๑. คดีอยู่ในขั้นตอนใด
๒. เราเกี่ยวข้องอย่างไร / เกิดเหตุอะไร อย่างไร / โต้แย้งสิทธิเราอย่างไร
๓. จะขอให้ศาลสั่งเรื่องอะไร / สั่งว่าอย่างไร
๔. คำลงท้าย  "ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด"
๕. เอกสารหรือพยานหลักฐานประกอบ เช่น หากเรียกค่ารักษาพยาบาล ก็ต้องมีใบเสร็จรับเงินมายืนยัน หรือหากเรียกค่าทุกขเวทนาที่ไม่สามารถประกอบกิจการงานได้ ก็ต้องมีภาพถ่ายหรือหลักฐานการไปนอนโรงพยาบาลหรืออะไรก็ได้ที่แสดงให้เห็นว่าเราไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ หรือถ้าจะเรียกค่าเสียหายที่ไม่สามารถทำงานได้ ทำให้ขาดรายได้ ก็ต้องมีหลักฐานเช่นใบเเสดงรายได้ในแต่ละวันหรือแต่ละเดือน ว่าได้เท่าใหร่ หรือถ้าเป็นคนงานในโรงงานก็ต้องมีหนังสือรับรองเงินเดือนมาแสดง อย่างนี้เป็นต้น

หลังจากที่มีเอกสารครบถ้วน ทำคำร้องเสร็จเรียบร้อย (ต้องทำสำเนาให้จำเลย+อัยการ อีกคนละชุด และควรถ่ายเก็บไว้เป็นหลักฐานอีก ๑ ชุด) ก็นำไปยื่นในวันนัดเลยก็ได้โดยไปยื่นให้กับเจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์ และรอศาลมีคำสั่งตามรูปคดีต่อไป

หากศาลอนุญาตตามคำร้อง ก็จะให้อีกฝ่ายทำคำให้การต่อสู้คดีในส่วนคดีแพ่งที่เราเรียกค่าเสียหายไป

และเมื่อถึงเวลาสืบพยาน  เราก็ต้องเอาพยานขึ้นเบิกความถึงค่าเสียหายดังกล่าว ซึ่งในส่วนนี้ อัยการจะไม่มาสืบให้เรานะ เว้นแต่ศาลจะเป็นผู้ซักถามให้ หรือขอให้อัยการซักพยานให้ ก็แล้วแต่ผู้พิพากษาแต่ละท่าน แต่แน่นอนว่า ผู้เสียหายก็ต้องเข้าคอกพยานและสาบานตนก่อนเบิกความแน่นอนครับ

ก็จะเป็นประมาณนี้....จะว่าง่ายก็ง่าย..ถ้ารู้ขั้นตอนและพอที่จะทำคำร้องเป็น  แต่ถ้าอ่านที่ทนายอธิบายแล้ว ตาลอย เอามือเกาหัว ทนายว่ายอมเสียเงินจ้างทนายเถอะ จะได้มีที่ปรึกษาช่วยเหลือแนะนำในการสู้คดีได้ รวมทั้งอาจจะยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญาได้ด้วย เดี๋ยวจะกลายเป็นว่า พยานหลักฐานไม่เพียงพอ ศาลอาจจะให้ค่าเสียหายไม่เป็นไปตามที่เราคาดหวังก็เป็นได้ครับ

ให้กำลังใจและขอให้โชคดีครับ

ทนายพร.


168
อัยยะ จะเล่นอาญาเลยหรา... ;)

อันว่าคดีอาญานั้น มีสาระสำคัญคือ ๒ ประการ คือ องค์ประกอบภายนอก และองค์ประกอบภายใน

องค์ประกอบภายนอก หมายถึง ผู้กระทำ การกระทำและวัตถุแห่งการกระทำ เช่น เหตุฆ่าคนตาย องค์ประกอบภายนอก ผู้กระทำ คือ คนที่ไปฆ่า การกระทำ คือ การทำให้ตายด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง และวัตถุแห่งการกระทำ คือ วัตถุหรืออาวุธที่ทำให้ตาย เช่นนี้เรียกว่าองค์ประกอบภายนอก

ส่วนองค์ประกอบภายใน หมายถึง "เจตนา" ซึ่งเจตนานั้น อาจจะเป็นเจตนา "ธรรมดา" หรือ เจตนา "พิเศษ" ก็เป็นได้ เจตนาธรรมดา เช่นเจตนาประสงค์ต่อผล หมายความว่า มุ่งหมายหรือประสงค์ต่อผลโดยตรง  เช่น ถ้าผู้กระทำใช้ปืนยิงไปที่ผู้เสียหาย โดยยิงไปที่อวัยวะสำคัญ ๆ ต้องถือว่าประสงค์หรือมุ่งหมายให้ผู้เสียหายตาย ส่วนเจตนาเล็งเห็นผล หมายความว่า ผู้กระทำไม่ประสงค์ต่อผลแต่เล็งเห็นได้ว่าจะเกิดผลอย่างแน่นอน เช่น ยิงปืนเข้าไปในกลุ่มคน แล้วเกิดมีคนตาย เช่นนี้ เมื่อปืนเป็นอาวุธที่มีความร้ายแรงและเมื่อยิงไปหากลุ่มคน แน่นอนว่าหากถูกคนอาจต้องตาย อย่างนี้เป็นต้น

ดังนั้น ตามที่ถามว่า ถ้าผิดทางแพ่ง เเล้วจะเป็นผิดอาญา ฐานผู้ใช้หรือไม่นั้น

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๘๔ บัญญัติว่า "ผู้ใดก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดไม่ว่าด้วยการใช้ บังคับ ขู่เข็ญ จ้าง วานหรือยุยงส่งเสริม หรือด้วยวิธีอื่นใด ผู้นั้นเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิด..."

เมื่อพิจารณาองค์ประกอบของความผิดอาญา กับพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง จากสัญญาจ้างประจำเป็นชั่วคราวนั้น จึงไม่เข้าองค์ประกอบในการกระทำความผิดอาญา...ฟันธง

ทนายพร.

169
ผู้ถามคงจะเป็นข้าฯราชการ และบังเอิญไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด และเกิดข้อสงสัย จึงถามมาว่า คดีเสพ เป็นคดีลหุโทษมั๊ย แล้วในทางวินัยจะสู้ได้มั๊ย ประมาณนี้

ก่อนอื่น ต้องมาพิจารณาก่อนว่า "ลหุโทษ" หมายความว่าอะไร

อันว่าคดีลหุโทษนั้น หมายถึง ความผิดซึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๑๐,๐๐๐.- บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๐๒ นั่นเอง

และเมื่อพิจารณาจากคดีที่ผู้ถามได้รับ ในข้อหาเสพยาเสพติดประเภท ๑ ที่กำหนดไว้ใน พรบ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒ มาตรา ๕๗ ประกอบ มาตรา ๙๑ ได้กำหนดโทษไว้ว่า ต้องโทษจำคุกตั้งแต่ ๖ เดือน ถึง ๓ ปี และปรับตั้งแต่ ๑ หมื่น ถึง ๖ หมื่นบาท

ดังนั้น จึงฟันธงได้ว่า คดีเสพฯ มิใช่คดีลหุโทษครับ

แล้วที่ถามต่อว่า ในทางวินัย จะต่อสู้ได้มั๊ย?

ก็ต้องตอบว่า ตามระเบียบข้าราชการ ได้กำหนดข้อต้องปฎิบัติและข้อห้ามปฎิบัติไว้อย่างชัดเจนแล้ว โดยเฉพาะข้อห้ามในมาตราที่ ๘๓ มีกำหนดไว้ถึง ๑๐ ข้อ  นอกจากนี้ยังได้กำหนดลักษณะการกระทำความผิดวินัยไว้ในมาตรา ๘๕ อีกจำนวน ๘ ข้อ โดยเฉพาะ (๔) นั้น ได้เขียนไว้ว่า "กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง"

และโทษที่จะลงในความผิดร้ายแรง คือภาคทัณฑ์ , ตัดเงินเดือน , ลดเงินเดือน , ปลดออก และไล่ออก

ดังนั้น จะสู้ได้หรือไม่นั้น ต้องพิจารณาจากการเสพยาเสพติดนั้นว่ามีพฤติการณ์เป็นเช่นไร เช่น อารมณ์พาไป ไม่รู้ว่าเป็นยา ถูกหลอก เสพครั้งแรก อะไรต่างๆเหล่านี้ ก็สามารถยกขึ้นแก้ข้อกล่าวหาได้ ซึ่งแน่นอนว่า จะต้องถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรงเป็นแน่ ก็พาหลักฐานและพยานบุคคลมาประกอบการแก้ข้อกล่าวหา ซึ่งหากว่าเป็นการคึกระนอง ก็มีโอกาสอยู่ครับอาจจะไม่ถึงไล่ออกก็เป็นได้

ให้กำลังใจครับ

ทนายพร.

170
ที่เป็นจำหน่าย ก็เนื่องจากเป็นข้อสันนิฐานของกฎหมายว่า หากครอบครอบเกินกว่า ๓๗๕ มก.จะถือว่าจะหน่ายและต้องรับโทษฐานจำหน่าย

ส่วนจะติดกี่ปีนั้น อยู่ที่แนวทางการต่อสู้ หากทำผิดจริงและรับสารภาพ โทษก็ลดลงกึ่งหนึ่ง และเป็นดุลพินิจของศาลในการกำหนดโทษครับ แต่เท่าที่ทำคดีมา ส่วนใหญ่ จะ ๔ ปี รับลดเหลือ ๒ ไม่รอลง ปรับ ๒ ถึง ๘ หมื่น ครับ

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร.

171
กว่าจะตอบก็เลยเวลามาแล้ว

ซึ่ง ไม่แน่ว่า เราอาจจะเจอกันเป็นแน่ถ้าเป็นศาลแรงงานกลาง เพราะวันที่ ๓ ทนายมีคดีที่ศาลแรงงานกลาง ;D ;D

เอาเป็นว่า บอกเป็นแนวให้กับทุกท่านเลยนะครับ  ในชั้นไกล่เกลี่ย หากไม่จำเป็นก็ไม่ต้องพูดเยอะ แต่ฟังให้เยอะ และเก็บประเด็นไว้ เพราะนั้นคือ ข้อได้เปรียบในการต่อสู้ หากต้องสืบพยานกัน ก็จะรู้ว่าอีกฝ่ายยกประเด็นอะไรในการต่อสู้ เราจะได้เตรียมเอกสารหลักฐานไว้แต่เนินๆ

หรือที่ทนายมักจะบอกว่า "อย่าหงายไพ่เล่น"  เพราะคู่ต่อสู้ของเราจะจับทางเราได้นั่นเอง

และในการไกล่เกลี่ยหากเป็นไปได้ ไม่ต้องลงรายละเอียด ให้พูดเฉพาะเรื่องตัวเลข หรือยอดเงินเท่านั้น หากเราพอใจก็ทำสัญญายอมเรื่องก็จบ หากไม่พอใจ ก็แจ้งไปว่าเรายังไม่พอใจในตัวเลขนี้ และให้ศาลพิจารณาคดีต่อไป ก็ไประมาณนี้ครับ


ผลการไกล่เกลี่ยเป็นอย่างไรบ้าง เล่าให้ฟังบ้างก็ดีนะครับ

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร.

172
เล่ามาไม่ยาวเท่าใหร่ แต่มีคำถามหลายข้อ...ว่ากันเลย

ถามมาว่า..ในฐานะที่เป็นภรรยาที่ถูกต้องตามกฎหมายเราจะได้รับผลกระทบอะไรไหมคะ
และสามีหนูควรทำยังไง??*****แล้วถ้าหากว่าศาลตัดสินออกมาว่าต้องจ่ายชำระค่าผ่อนทั้งหมด+ค่าปรับให้ธนาคาร แล้ว ฝ่ายผู้กู้หลักเขาไม่ยอมจ่าย ผู้กู้ร่วมจะได้รับผลกระทบอะไร?? และเราสามารถทำอะไรได้บ้างคะ??

ก็ตอบว่า..ได้รับผลกระทบแน่ หากผลของคดีว่าศาลตัดสินให้ร่วมกันรับผิดในยอดหนี้ดังกล่าว คงต้องรับชดใช้หนี้ หากไม่มีใช้ ก็คงลามมาถึงบ้านที่คุณอยู่ด้วยกันในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิรวม ซึ่งอาจจะถูกยึดขายทอดตลาดได้ ซึ่งหากเห็นเช่นนั้น ก็จะเป็นภาระกับคุณที่จะต้องยื่นคำร้องขอ "กันส่วน" ครี่งหนึ่งของเงินที่ขายได้ ซึ่งก็จะยุ่งยากเข้าไปอีก

ส่วนที่ถามว่า สามีควรจะทำอย่างไร...ก็แนะนำว่า ต้องดูว่ามูลหนี้ กับมูลค่าบ้านอย่างใหนมีมากกว่ากัน พอจะขายต่อได้หรือไม่ ลองค่อยๆหาทางออกอย่างมีสติ หากบ้านและที่ดินมีอนาคต อาจจะต้องกัดฟันไปปรับโครงสร้างหนี้ก้บเจ้าหนี้ดู แล้วผ่อนต่อ ในระหว่างนี้อาจจะให้เช่าเพื่อนำค่าเช่านั้นมาเป็นส่วนหนึ่งของค่างวด เมื่อเวลาผ่านไปมูลค่าก็คงจะกลับมา และถ้าคุ้มทุนเมื่อใหร่ก็ให้ขายไป

ส่วนคำถามอื่นๆ ที่ถามมานั้น ก็อย่างที่อธิบายไปล่ะครับ ต้องค่อยๆพิจารณาทางออกที่ดีที่สุด และก็ควรจะไปศาล โดยในนัดแรกเป็นนัดไกล่เกลี่ย ก็ไปคุยกับธนาคารก่อน หรือไปแถลงต่อศาลขอเลื่อนคดีออกไปก่อนซักนัดหนึ่ง ซึ่งศาลก็คงจะให้เลื่อนอยู่นะครับ

หรือถ้าไม่ไหวจริงๆ ก็คงปล่อยไป ซึ่งธนาคารก็คงจะขายทอดตลอดบ้านหลังนั้น หากขายแล้วได้ไม่พอชำระหนี้ เราในฐานะผู้กู็ร่วมก็ยังต้องรับผิดในยอดเงินที่เหลือคนกว่าจะชำระหนี้ได้หมดละครับ

ประมาณนี้ครับ

ให้กำลังใจนะครับ

ทนายพร.

173
ไม่ต้องติดใจเกี่ยวกับการฝากขังหรอกครับ เป็นเเค่วิธีปฎิบัติเท่านั้น หากเราได้รับการประกันตัว ก็แค่ไปรายงานตัวตามกำหนดเท่านั้น

หากครบกำหนดฝากขังแล้วพนักงานอัยการยังไม่ส่งฟ้อง ก็มีผลแค่ไม่อาจกักขังเราได้ต่อไปเท่านั้นเอง แต่อำนาจฟ้องของอัยการยังคงมีอยู่ เมื่ออัยการพร้อมก็จะนัดเราไปที่ศาล และส่งฟ้อง ซึ่งในชั้นนี้ เราก็ต้องขอประกันตัวอีกครั้งหนึ่ง

คดีครอบครองยา ๕ เม็ด หากไม่เคยทำผิด และรับสารภาพ  ศาลมักปราณี อาจจะให้สืบเสาะความประพฤติเราว่าเป็นคนดีในระดับใด และมักจะรอลงอาญา ไม่ต้องติดคุก แต่จะต้องรายงานตัวและคุมประพฤติตามที่ศาลจะเห็นสมควรครับ

ทนายพร.

174
กว่าจะตอบคำถามนี้ คงจะผ่านพ้นการสืบพยานไปแล้ว คงนัดฟังคำพิพากษาเร็วๆนี้ และคงจะได้คำตอบจากคำพิพากษาแล้ว

เอาเป็นว่าเป็นกรณีศีกษาก็แล้วกัน

ถามว่า  โดยจับ ๑๘ เม็ด ถูกอัยการฟ้องครอบครอง และครอบครองเพื่อจำหน่าย สู้เรื่องจำหน่าย  วันสืบพยานจะตรวจฉี่มั๊ย สืบพยานเสร็จกลับบ้านได้เลยมั๊ย?

ก็ตอบว่า ข้อสันนิฐานของกฎหมายหากผู้ใดถูกจับยาเกินกว่า ๑๔ เม็ด ถือว่าครอบครองเพื่อจำหน่าย จะได้รับโทษฐานจำหน่าย ถึงแม้ว่าจะซื้อมาเสพก็ตาม แต่อย่างไรก็ตาม ในประเด็นนี้ มิใช่ข้อสันนิฐานเด็ดขาด หากจำเลยสามารถพิสูจน์ได้ว่า ไม่ได้มีไว้เพื่อขาย แต่ซื้อมาเพื่อเสพเอง ศาลก็อาจตัดสินว่าครอบครองเพื่อเสพก็เป็นได้ ซึ่งต้องใช้ทนายความผู้มีความเชี่ยวชาญช่วยเหลือและหาแนวทางการต่อสู้แล้วล่ะครับ

ส่วนวันสืบพยาน ถ้าสืบเสร็จแล้วก็กลับบ้านได้ หากเราประกันตัวไว้ แต่จะเสียวในวันอ่านคำพิพากษานั่นแหละครับ ซึ่งในวันดังกล่าว หลังจากเราเข้าห้องพิจารณาคดีไป เจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์ก็จะขอดูบัตรประชาชนเรา แล้วก็จะให้เรามานั่งในที่ที่จัดไว้ด้านหน้า พร้อมกับเรียกตำรวจศาลเอากุญแจมือมาใส่เราไว้ ถ้าศาลอ่านคำพิพากษาว่าเราผิด ไม่รอลงอาญา ตำรวจก็จะเอาเราไปขังไว้ เพื่อส่งไปเรือนจำต่อไป แต่ถ้าศาลรอลงอาญา ตำรวจก็จะไขกุญแจมือเรา หลังจากนั้น ก็เซ็นเอกสารรายการกระบวนพิจารณาแล้ว กลับบ้านได้ แต่ถ้ามีโทษปรับด้วย ก็จะยังไม่ปล่อยเรา แต่จะเอาเราไปขังไว้ไต้ถุนศาลไว้ก่อน จนกว่าญาติเราจะไปจ่ายค่าปรับที่ฝ่ายการเงินให้ครบถ้วนเสียก่อน หากจ่ายเสร็จแล้ว ศาลก็จะมีหมายปล่อยเราต่อไป ศาลก็ไปรอรับได้ที่หน้าห้องขังด้านล่างศาลได้เลย....เป็นงัย..ละเอียดมั๊ย

ประมาณนี้ครับ

ทนายพร.

175
อัยยะ...เครสนี้ นายจ้างจะหาเรื่องเบี้ยวค่าจ้างละซิ..

เอาเป็นว่า กฎหมายแรงงานมีเจตนารมณ์ในการคุ้มครองลูกจ้าง เมื่อทำงานก็ย่อมได้ค่าจ้าง

เมื่อถึงกำหนดการจ่ายค่าจ้างแล้ว นายจ้างไม่จ่าย ก็ให้ไปยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน ณ สถานที่ที่เราทำงานอยู่ ไปบอกว่านายจ้างไม่จ่ายค่าจ้าง ขอให้ออกคำสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้ พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ ๑๕ ต่อปี และเงินเพิ่มอีกร้อยละ ๑๕ ทุกระยะ ๗ วัน  ไม่ยากๆ

ส่วนที่นายจ้างบอกว่าได้รับความเสียหาย นั้น ก็เป็นคนละเรื่องกัน หากนายจ้างเห็นว่าเสียหายก็ไปใช้สิทธิในทางศาลในการฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นอีกเรื่องต่างหาก จะมาหักค่าจ้างไม่ได้ครับ

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร.

176
กว่าทนายจะเข้ามาตอบ ไม่รู้จะทันหรือเปล่านะ  ;D

เอาเป็นว่า ทนายพยายามหาเวลามาตอบทุกคำถามนะครับ  และขอแจ้งให้ทราบว่า นับแต่วันนี้ไปจนถึงสิ้นปีนี้ ทนายของดรับทำคดีไว้ก่อนนะครับ เนื่องจากมีคดีที่ค้างอยู่เป็นจำนวนมาก และทนายต้องทุ่มเทเวลาให้กับทุกคดีที่รับทำไว้ ซึ่งจะส่งผลให้ไม่มีเวลาเพียงพอที่จะรับคดีใหม่ในช่วงนี้ได้  และทนายจะเริ่มรับคดีใหม่หลังจากวันที่ ๑๐ มกราคม ๖๔ นะครับ หากท่านใดรอได้ ก็ต้องขอเรียนว่าให้รอครับ หรือถ้าท่านใดเร่งรีบนำคดีขึ้นสู่ศาล สามารถไปปรึกษานิติกรที่ศาลแรงงานเพื่อทำคำฟ้องให้ก่อนก็ได้ครับ หรือลองติดต่อทนายท่านอื่นดูก่อน เว้นแต่กรณีที่จะต้องฟ้องเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน ซึ่งต้องเร่งทำคำฟ้องและยื่นต่อศาลภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันได้รับคำสั่ง กรณีนี้ ทนายจะรับทำคดีให้เป็นกรณีพิเศษนะครับ และต้องขอขอบคุณผู้มีอุปการะคุณทุกท่านที่ไว้วางใจสำนักงานฯของทนายให้ช่วยเหลือทางคดีให้ และต้องขออภัยที่ไม่สามารถทำคดีให้กับทุกท่านได้นะครับ.... ;D ;D ;D

เอาล่ะมาเข้าเรื่องเลย

ถ้าไม่เซ็นก็ไม่มีความผิดหรอกครับ ทนายยืนยันได้

แต่ที่ทนายเป็นห่วงก็คือ จะรับแรงกดดันไหวมั๊ยต่อจากนี้ เพราะเมื่อเราไม่เซ็น นายจ้างก็จะคิดว่า เราหัวหมอ หัวแข็ง และจะหาทางเล่นงานเรา ท้ายที่สุดเราก็จะไม่มีความสุขในการทำงาน อะไรประมาณนี้

หรือหากถูกกระทำเช่น โยกย้ายไม่เป็นธรรม ลดตำแหน่ง ลดค่าจ้าง ก็สามารถฟ้องศาลได้ครับ แต่ก็อย่างว่าแหละ หากต้องต่อสู้กัน การทำงานก็จะยิ่งยากขึ้น แต่ถ้ามองในเรื่องความถูกต้อง ก็ไม่ต้องเกรงกลัวใดๆ ครับ

ให้กำลังใจนะครับ

ทนายพร.

177
เครสนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่ไม่มีความชัดเจน ว่าเป็นการเปลี่ยนนายจ้างหรือเป็นการโอนย้าย เพราะผลของทั้งสองเรื่องมีความแตกต่างกัน

หากเป็นการโอนย้าย จะเข้ามาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ซึ่งนายจ้างใหม่จะรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ หมายความว่า เดิมเคยได้สิทธิประโยชน์ ค่าจ้าง เช่นไร ก็เป็นไปตามนั้น อายุงานนับต่อเนื่อง และเมื่อเป็นการโอน จึงไม่ต้องให้ลูกจ้างเซ็นหนังสือลาออกแต่อย่างใด

หากเป็นการเปลี่ยนนายจ้าง ก็จะอยู่ในมาตรา ๑๓ เช่นกัน แต่จะเป็นเทคนิคของนายจ้างว่าให้ลูกจ้างเขียนใบลาออกเพื่อนายจ้างใหม่จะได้ไม่นับอายุงานต่อเนื่อง

เมื่อเราไปเซ็นใบลาออกจากที่เก่าซะแล้ว ก็จะมีผลในทางกฎหมายว่า เราเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญากับนายจ้างเก่า สิทธิที่จะได้รับเงินค่าชดเชยก็เลยหมดไป

เอาล่ะมาที่คำถาม ที่ถามว่า เราจะสามรถเรียกเงินชดเชยจากนายจ้างได้ไหมครับแล้วใบลาออกที่เขียนกันไปนั้นถือเป็นโมฆะไหมครับเพราะปัจจุบันยังทำงานที่เดิมอยู่และเงินเดือนยังจ่ายจากเจ้าของเก่าอยู่ครับ
ก็ตอบว่า หากเป็นการลาออก จะไม่ได้เงินค่าชดเชย ใบลาออกไม่เป็นโมฆะ  ทนายเห็นว่าเครสนี้ยังมีความคลุมเครือกันอยู่ หากยังรับเงินจากนายจ้างเก่าอยู่ ก็ทำงานต่อไป ไม่ต้องกังวลใดๆครับ ซึ่งเมื่อเลยเวลาการมีผลของใบลาออกแล้ว ยังทำงานกับนายจ้างเก่าอยู่โดยนายจ้างเก่ายังจ่ายค่าจ้างเช่นเดิม จึงถือว่านิติสัมพันธ์ความเป็นนายจ้างลูกจ้างยังคงมีอยู่ การลาออกจึงสิ้นผลไปแล้วครับ

ทนายพร.

178
ถามมา ๒ ข้อหลักๆว่า
๑. ผมจะสามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย หรือ เงินค่าจ้างตามจำนวณปีที่เหลืออยู่ของผมได้หรือไม่ครับ
ตอบ..ฟ้องอ่ะฟ้องได้ แต่จะศาลจะมีคำพิพากษาอย่างไรนั้น ต้องพิจารณาจากสัญญษเป็นสำคัญนะครับ เพราะที่เล่ามามี ๒ สัญญาที่ไม่เกี่ยวกัน แต่เกี่ยวเนื่องกัน (งงมั๊ย!) นั้นคือ สัญญาจ้างแรงงาน ฉบับหนึ่ง และ สัญญารับทุน อีกฉบับหนึ่ง ซึ่งแต่ละฉบับมีผลบังคับใช้แตกต่างกันไป
มาดูฉบัแรกก่อน สัญญาจ้างแรงงาน ทนายวินิจฉัยในเบื้องต้นถือว่าเป็นสัญญาจ้างโดยไม่กำหนดระยะเวลา เมื่อไม่ได้กำหนดระยะเวลาไว้ การจะเลิกสัญญาต่อกันย่อมเป็นสิทธิของทั้งสองฝ่าย เมื่อนายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญา จึงต้องปฎิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน นั่น คือการจ่ายเงินค่าชดเชย นั่นเอง เมื่อได้ปฎิบัติต่อกันโดยครบถ้วนแล้ว นิติสัมพันธ์ความเป็นนายจ้าง-ลูกจ้าง ก็ยุตินับแต่วันเลิกจ้างมีผล ดังนั้น สัญญาฉบับนี้ จึงไม่เกี่ยวข้องกับระยะเวลา ๕ ปี ตามที่กำหนดไว้ในสัญญารับทุน
ส่วนอีกฉบับ เป็นสัญญารับทุน เป็นข้อตกลงในการให้ทุนและกลับมาใช้ทุนด้วยแรงกายและมันสมอง โดยกำหนดให้ต้องใช้ทุนมีกำหนด ๕ ปี แต่นายจ้างมาเลิกจ้างก่อน จึงมีข้อพิจารณาได้ ๒ ประเด็น คือ ๑ ลูกจ้างเป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่ ต้องรับผิดในการใช้ทุนหรือไม่ เพียงใด ซึ่งประเด็นนี้ เห็นได้ชัดเจนว่า ลูกจ้างมิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา แต่เป็นนายจ้างที่เป็นฝ่ายบอกเลิกจ้างและไม่ติดใจในเรื่องสัญญาตามกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ดังนั้น ลูกจ้างจึงไม่ต้องใช้ทุนตามกำหนดและไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้กับนายจ้าง
และในทางกลับกัน ลูกจ้างสามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากการที่ไม่ได้ทำงานตามกำหนดระยะเวลาใช้ทุนหรือไม่ เพียงใด ในประเด็นนี้เห็นว่า เงื่อนไขการรับทุน เป็นเงื่อนไขในการให้ลูกจ้างต้องปฎิบัติหรือเรียกว่า "หน้าที่" มิใช่ให้สิทธิของทั้งสองฝ่าย เมื่อเป็นเงื่อนไขให้ลูกจ้างต้องปฎิบัติแต่นายจ้างไม่ประสงค์จะได้รับผลงานของลูกจ้าง หรือเรียกว่า "สิทธิ" จึงเป็นสิทธิของนายจ้างที่จะสละเงื่อนไขนั้น เมือนายจ้างสละเงื่อนไขไป ลูกจ้างจึงไม่ต้องทำหน้าที่ตามสัญญาอีกต่อไป ดังนั้น โดยสรุป คงจะไปฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายไม่ได้นั่นเองครับ

๒.ถ้าเซ็นใบเลิกจ้างแล้ว จะยังสามารถฟ้องร้องได้อีกหรือไม่ เพราะวันที่เรียกเราเข้าไปคุย เหมือนไม่ได้ให้ทางเลือกอื่นกับเราและไม่มีการต่อรองใดๆได้ คือถ้าไม่เซ็นเค้าบอกว่าก็ให้ไปฟ้องร้องเอา
ตอบ...ถ้าเซ็นต์สละสิทธิที่จะไม่ฟ้องร้องอีก แล้วนำคดีไปฟ้อง ศาลก็จะตัดสินให้เราแพ้คดีนะครับ ซึ่งในทางกฎหมายหากไปทำข้อสัญญาเกี่ยวกับผลประโยชน์กันเช่นนี้บังคับได้ เว้นแต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เช่น ข้อตกลงสละสิทธิไม่รับค่าชดเชยกรณีถูกเลิกจ้าง อย่างนี้ถือเป็นโมฆะ ครับ

- เราสามารถเซ็นใบเลิกจ้างตามที่เค้าเหมือนจะบังคับ แต่จะเขียนอะไรกำกับไว้ได้มั้ยคับ เพื่อรักษาสิทธิของเราว่า ถ้าภายหลัง เราเห็นว่ามันไม่ครบตามจำนวณหรือเราควรได้รับค่าชดเชยมากกว่านี้ เช่น ค่าจ้างตามจำนวณปีใช้ทุนที่เหลืออยู่หรือค่าเสียโอกาส จากการหางานใหม่ได้ยากเพราะเนื่องจาก เป็นอาชีพเฉพาะทางมาก
ตอบ..ในทางกฎหมาย การบังคับ มีได้ไม่กี่เรื่องนะครับ เช่น เอาปืนมาจี้ เอามีดมาจ่อ เอานักเลงมาข่มขู่ หากไม่เซ็นจะทำร้าย หรือจับมือเราไปเซ็น อย่างนี้ถือว่าบังคับ ไม่มีผลทางกฎหมาย 
แต่ในทางกลับกัน หากเรายกมือของเราไปจับปากกาไปเซ็นด้วยตัวเราเอง อย่างนี้ในทางกฎหมายจะไม่เรียกบังคับนะครับ แต่จะเรียกว่าสมัครใจ หากเราไม่อยากเซ็นก็ไม่ต้องเซ็น แค่นี้ก็จบ นายจ้างก็ทำอะไรเราไม่ได้
ส่วนที่เซ็นต์ไปแล้ว ได้เงินไม่ครบตามจำนวนนั้น ฟ้องได้ครับ แต่จะเรียกค่าเสียหายหรือเสียโอกาส ในประเด็นเหล่านี้ถ้าได้เซ็นสละสิทธิไปแล้ว จะฟ้องเรียกร้องไม่ได้ครับ ซึ่งมีแนวคำพิพากษาศาลฏีกาอยู่หลายเรื่อง  เช่น คำพิพากษาศาลฏีกาที่ ๒๖๙๖/๒๕๓๑ , ฎีกาที่ ๑๔๐๒/๒๕๕๙ เป็นต้น ลองไปค้นหาดูนะครับ

และที่ถามว่าจะต้องฟ้องศาลแรงงานหรือศาลแพ่ง หรือทั้ง 2 นั้น ก็ตอบว่า ฟ้องได้ที่ศาลแรงงาน ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.๒๕๒๒ มาตรา ๘  ครับ และการฟ้องศาลแรงงาน ไม่เสียค่าธรรมเนียมใดๆ รวมทั้งยังสามารถยื่นฟ้องได้เองโดยไม่จำต้องใข้ทนายความก็ได้

ทนายพร.

179
เครสนี้ ถามมา ๕ ข้อ "มโนธรรม" ได้ตอบไปแล้วส่วนหนึ่ง พร้อมยกข้อกฎหมายประกอบ

เอาเป็นว่า เพื่อความกระจ่าง ทนายก็จะมาตอบอีกซักรอบนะ ;D ;D

ถามมาเป็นข้อๆว่า
1.เราสามารถสามารถเรียกร้องเงิน "ค่ากะ" ที่บริษัทงดจ่ายไปตั้งแต่ช่วงต้นปีได้ไหมครับ
ตอบ..เรื่องนี้คงยากอยู่นะครับ หากข้อเท็จจริงปรากฎว่ามีการงดจ่ายกันตั้งแต่ช่วงต้นปี แล้วเราไม่ได้ "คัดค้าน" ไว้ ในทางกฎหมายก็จะถือว่าเราให้ความยินยอมโดย "ปริยาย" ไปแล้ว เอาเป็นว่า หากจะเล่นเรื่องนี้จะต้องรีบคัดค้านว่าการที่นายจ้างงดจ่ายค่ากะนั้น เราไม่เห็นด้วยนะ เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคน เอาคืนมาๆ  แต่ทนายว่า...ยากครับ

2.ในกรณีที่บริษัทจะย้ายเราไปทำงานที่ใหม่ซึ่งไกลจากที่เดิมมากและเราไม่ต้องการไป เนื่องจากไกลและไม่มีการจ่ายค่าเดินทางและเพิ่มเงินเดือนเนื่องจาก เวลาในการเดินทางต้องเพิ่มขึ้นอีกมากให้อย่างเหมาะสม เราสามารถปฏิเสธได้หรือไม่ครับ(ในสัญญาว่าจ้างระบุถึงบริษัทมีสิทธิในการย้ายพนักงานไปที่ไหนหรือตำแหน่งงานใดๆก็ได้ โดยบริษัทจะไม่จ่ายผลประโยชน์ใดๆเพิ่มให้)
ตอบ.. คำถามนี้ น่าคิดและน่าจะเป็นประเด็นข้อกฎหมายในการตีความสัญญาพอสมควร เนื่องจาก หากมองในเรื่องของธุรกิจก่อสร้าง(อนุมาณเอาจากคำว่าไซด์งาน) ย่อมต้องมีการโยกย้ายไปตามสถานที่ทำงานแห่งใหม่ เมื่อเราสมัครใจที่จะเข้าทำสัญญาและรู้อยู่ตั้งแต่ต้นว่าธุรกิจของบริษัทมีลักษณะการทำงานเป็นเช่นนี้แล้ว ก็ถือว่าเราได้ยินยอมรับเอาสัญญาในการโยกย้ายได้ และคงต้องยึดถือตามที่กำหนดไว้ในสัญญา
   แต่ถ้าพิจารณาตามมาตรา ๑๒๐ ดังที่มโนธรรมได้ยกมาประกอบนั้น จะเห็นว่า หากการโยกย้ายนั้นทำให้การดำรงชีวิตของเราเปลี่ยนแปลงไปก็สามารถบอกเลิกสัญญาได้ ซึ่งก็จะขัดแย้งกับข้อสัญญาที่เราได้ไปตกลงไว้ข้างต้น 
   ด้วยเหตุนี้ ทนายจึงเห็นว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่จะต้องตีความว่าจะยึดถือตามสัญญาที่ได้ตกลงกันไว้ หรือยึดถือตามข้อกฎหมายในมาตรา ๑๒๐ ซึ่งกฎหมายแรงงานถือเป็นกฎหมายมหาชน และเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ข้อตกลงใดที่ขัดต่อกฎหมายถือเป็นโมฆะ
   เอาเป็นว่า ถ้าไม่อยากไปก็บอกยกเลิกสัญญาแล้วไปลุ้นเอาว่านายจ้างจะจ่ายค่าชดเชยให้หรือไม่ แต่ถ้าตามไปก็จะต้องได้สวัสดิการเท่าเดิมหรือไม่ลดลง การที่สัญญาบอกว่าจะไม่ได้รับสวัสดิการหรือผลประโยชน์ใดๆเพิ่มนั้น ข้อนี้ ให้ยึดหลักต้องไม่ลดลงกว่าเดิมครับ
 
3.หากผมไม่ยินยอม บริษัทต้องเลิกจ้างผม และทำการจ่ายเงินชดเชยกรณีเลิกจ้างใช่ไหมครับ หากใช่ผมจะได้รับเงินในช่วงปรับลดเงินเดือนหรือเปล่าครับ(ได้ยินว่ามีพนักงานบางคนได้อย่างนั้น)
ตอบ..ประเด็นนี้แหละที่เป็นปัญหา เพราะมาตรา ๑๑๘ บัญญัติว่า "ค่าจ้างอัตราสุดท้าย" ดังนั้น ต้องพิจารณาว่า เจตนาในการลดค่าจ้างนั้น มีระยะเวลาหรือไม่ อย่างไร หากมีเจตนาในการลดลงชั่วคราว ก็ให้ยึดถือตามค่าจ้างเดิม แต่ถ้าไม่ได้กำหนดไว้ว่าจะลดลงเป็นระยะเวลาเท่าใด ก็ให้ถือว่า การจ่ายเงินค่าชดเชยต้องยึดถือตามมาตรา ๑๑๘ นั้นก็คือ ค่าจ้างอัตราสุดท้ายที่ตกลงกันครับ

ดังนั้น ในประเด็นนี้ ทนายขอฝากไปยังลูกจ้างทุกท่านว่า หากนายจ้างขอลดค่าจ้างเพื่อประคองสถานการโควิด ก็ให้กำหนดกันไว้ว่าเป็นการลดลงชั่วคราวในระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น หากล่วงพ้นแล้ว สถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น จึงทำหนังสือหรือข้อตกลงกันใหม่ เพราะถ้าไม่ทำไว้ นายจ้างเลิกจ้างก็จะเป็นดังเช่นเครสนี้นะครับ

4.ผมยังมีเรื่องค่าสัญญาที่บริษัทส่งไปเรียนอบรมซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่บริษัทออกให้ สัญญาจะหมดในปีหน้า(กำหนดค่าปรับเป็น2เท่าหากมีการลาออกก่อนที่สัญญาจะหมด) สัญญาฉบับนี้จะเป็นอย่างไรครับหากผมไม่ตกลงยินยอมที่จะย้ายไปทำงานตามที่บริษัทกำหนดไว้ให้
ตอบ..ต้องดูว่าใครเป็นฝ่ายผิดสัญญา  คงต้องดูเนื้อหาในสัญญาอย่างละเอียดละครับ คงตอบไม่ได้ในตอนนี้  เอาเป็นว่า โดยหลักของกฎหมายให้พิจารณาก่อนว่าใครเป็นฝ่ายผิดสัญญา ฝ่ายนั้นก็ต้องรับผิด เช่นกรณีที่เราลาออก ก็ถือว่า เราผิดสัญญา แต่ถ้านายจ้างเลิกจ้าง ก็ถือว่าเราไม่ได้ผิดสัญญา ก็ไม่ต้องรับผิด ประมาณนี้ครับ

5.หลังจากที่ทราบเรื่องว่าสัญญาทางบริษัทกับลูกค้ากำลังจะหมดผมพยายามจะลาออกเพราะไม่อยากไปทำงานบริษัทในเครือเพราะไกลจากบ้าน โดยขอต่อรองกับบริษัทเรื่องยกเลิกสัญญาค่าเรียนอบรม บริษัทจึงให้เขียนใบลาออกเพื่อส่งไปให้ทางผู้ใหญ่พิจารณาก่อน แต่ผมเปลี่ยนใจไม่ได้ส่งไปเพราะต้องการให้ทางบริษัทจ้างออกแทน ทางบริษัทปฏิเสธที่จะจ่ายในส่วนนี้ โดยให้เหตุผลว่า ทางผมได้แจ้งว่าจะลาออกไปแล้วและก่อนหน้านี้ทางบริษัทได้พยายามที่จะส่งผมไปสัมภาษณ์งานบริษัทอื่นๆในเครือ แต่ทางผมปฏิเสธไปเพราะด้วยระยะทางที่ไกล ส่วนนี้มีผลต่อกฏหมายไหมครับ
ตอบ...การแจ้งการลาออกด้วยวาจานั้น ปกติก็สามารถทำได้นะครับ เรียกว่า คำเสนอ เพียงแต่โดยวิธีปฎิบัติหากในการจ้างงานกันทำโดยมีสัญญา ในการบอกเลิกสัญญาก็จะต้องมีหนังสือด้วย ดังนั้น เมื่อยังไม่ได้เขียนใบลาออก ก็่ยังมีนิติสัมพันธ์การเป็นนายจ้าง-ลูกจ้างกันอยู่ครับ คงไม่มีผลในทางกฎหมายครับ 

ส่วนที่ถามตอนท้ายก็ได้อธิบายไปตอนต้นแล้วนะครับ ทั้งนี้ การที่จะให้ลูกจ้างไปทำงานทีบริษัทในเครือนั้น หากลูกจ้างไม่ยินยอม นายจ้างก็ไม่มีอำนาจในการสั่งให้ลูกจ้างไปทำได้นะครับ เพราะเป็นการเปลี่ยนตัวนายจ้าง กฎหมายห้ามครับ

คงครบถ้วนนะครับ หรือยังคาใจก็ถามมาใหม่ได้นะครับ

ทนายพร.


180
อืมมมม....ก็น่าเห็นใจทั้งสองฝ่าย โดยเฉพาะลูกจ้างที่เข้าใจและยินยอมที่จะรับค่าชดเชยน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด

เอาเป็นว่า ถ้าตกลงกันได้ด้วยดี ทนายก็จะไม่แนะนำข้อกฎหมายมากมาย ถ้าทั้งสองฝ่ายเห็นชอบกับสัญญาที่ทั้งสองฝ่ายจะลงนามเพื่อบังคับใช้  แต่ทนายก็แอบเป็นห่วงว่าข้อความในสัญญานายจ้างจะหมกเม็ดเอาเปรียบเรา เนื่องจากโดยปกติผู้ใดร่างสัญญา ย่อมต้องร่างให้ฝ่ายตนได้เปรียบ

เมื่อลงนามไปแล้ว หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาก็สามารถนำสัญญานั้น ไปฟ้องร้องต่อศาลเพื่อบังคับให้อีกฝ่ายปฎิบัติตามสัญญาได้

อย้างไรก็ตาม ฝากอ่านคำพิพากษาศาลฏีกานี้ด้วยนะครับ  ;D

คำพิพากษาศาลฏีกาที่ ๒๔๐๙/๒๕๒๗ , ๑๓๕๒/๒๕๕๑

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร.

หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14 ... 50