06/05/24 - 03:17 am


แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - มโนธรรม

หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 14
76
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: สัญญาจ้าง
« เมื่อ: มกราคม 20, 2021, 08:47:25 am »
การจ้างงาน

      "สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้างโดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้า" ตาม พรบ.คุุ้มครองแรงงานฯ ม.17 วรรคแรก คุณก็เข้าใจถูกต้องแล้ว  แต่..นายจ้างและลูกจ้าง  ก็เสมือนญาติสนิท การจะลาจากกันก็ควรแจ้งล่วงหน้ากันตามสมควร ถ้ายึดหลักการของกฎหมายเป็นสำคัญ  อาจจะมีปัญหากับนายจ้างได้ จากกันด้วยดี น่าจะดีกว่า  ด้วยความปรารถนาดี ครับ

77
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: นายจ้างจะฟ้อง
« เมื่อ: มกราคม 05, 2021, 07:19:57 am »
การฟ้อง

  การลาออกโดยไม่แจ้งล่วงหน้า  อาจทำให้เกิดเสียหาย   นายจ้างอาจจะฟ้องฐานละเมิดได้  แต่ควรหาคนกลางช่วยเคลียร์   และยินยอมชดใช้ค่าเสียหายตามควร เรื่ิองน่าจะจบลงด้วยดี การจะไปทำการใหม่ก็ราบรื่น ถ้าปล่อยให้มีการฟ้องร้อง   ย่อมไม่เกิดผลดีต่อชีวิต  ด้วยความปรารถนาดี ครับ

78
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: สอบถามหน่อยครับ
« เมื่อ: ธันวาคม 24, 2020, 10:42:07 am »
ประวัติอาชญากรรม

  ตามที่เล่ามา เป็นคดีเล็กน้อย  อาจไม่มีการดำเนินการใดๆก็ได้    แต่เป็นปัญหาข้อเท็จจริง  ควรมีการสอบประวัติฯ ปัจจุบันมีช่องทางตรวจสอบได้ง่ายๆ ลองค้นหาดูครับ

79
เรื่องในครอบครัว
ตอบ...
1.  ควรมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ทั้งสองคน  เพื่อป้องกันปัญหา  หรือต้องพิสูจน์กันในอนาคตให้ยุ่งยาก
2.  คนต่างชาติ อาจจะมีปัญหาเรื่องการถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน อาจต้องห้ามฯ  ก็สอบถามรายละเอียดจากเจ้าพนักงานที่ดิน ย่อมให้ความกระจ่างได้

80
เรื่องของการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ฯ  ซึ่งย่อมมีระเบียบข้อบังคับและแนวปฏิบัติของพวกเขาอยู่แล้ว  คงไปก้าวล่วงว่าจะมีการส่งฟ้องหรือไม่  หรือจะถูกจำคุกหรือไม่ จึงไม่สามารถตอบได้  ทางแก้ไขที่ง่ายที่สุด ก็คือทำตามที่เจ้าหน้าที่เขาแนะนำจะปลอดภัย...

81
การคุมประพฤติฯ

   เป็นมาตรการลงโทษสถานเบา  ที่ให้โอกาสผู้กระทำความผิด  ได้กลับตนเป็นคนดีของสังคม โดยให้มีการรายงานตัว และตรวจสอบว่า ได้ละเลิกพฤติกรรมที่เคยต้องโทษหรือไม่  ถ้าทำผิดเงื่อนไข  เช่น  ไม่ไปรายงานตัวตามกำหนด  หรือตรวจพบสารฯ  เจ้าหน้าที่ฯ อาจจะ ให้ขยายเวลาคุมประพฤติไปได้อีกตามความเหมาะสม   หรืออาจจะแจ้งอัยการ  ให้ส่งฟ้องศาล  เพื่อลงโทษตามกระบวนการต่อไป... ศาลจะให้จำคุกหรือไม่ คงตอบชัดเจนไม่ได้  เพราะเป็นดุลพินิจของศาลเท่านั้น....การคุมประพฤติเป็นการให้โอกาส  ควรใช้โอกาสนี้ เพื่อคืนสู่การเป็นคนดีของสังคม  อาจจะเป็นเรื่อง่ายที่สุดหรือยากที่สุด ก็อยู่ที่จิตใจของเราเป็นสำคัญ  ด้วยความปรารถนาดี ครับ

82
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: แรงงานต่างด้าว
« เมื่อ: พฤศจิกายน 24, 2020, 11:42:56 am »
แรงงานต่างด้าว
  มีมติ ครม. ให้ผ่อนผันในการขออนุญาตได้ภายใน 30 พฤศจิกายน 2563..ถ้าไม่ขออนุญาต  คงถูกปรับ 5,000  -50,000  บาท และถูกผลักดันออกนอกราชอาณาจักร...

83
อุบัติเหตุ

   ในคดีอาญา  คนขับรถฯ จะมีความผิด ตาม ปอ. ม.291(ประมาท ทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย) มีโทษจำคุกไม่เกิน สิบปี ปรับไม่เกินสองแสนบาท...ในทางแพ่ง คนขับรถฯต้องชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่ง  เช่นค่าปลงศพ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ  ค่าขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย  เป็นต้น...ถ้าอัยการมีความเห็นสั่งฟ้องคนขับรถฯต่อศาล   ฐานประมาท จนทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย  ก็สามารถร้องยื่นคำร้องต่อศาล ให้เรียกร้องค่าเสียหายทางแพ่งไปในคดีนั้น โดยไม่ต้องไปฟ้องทางแพ่งในภายหลังได้ ( ป.วิอาญา ม.44/1)..ส่วนการประกันภัยต่างๆ  ก็มีหลักการและวิธีการ  ในการขอรับเงินได้  นายเวรเจ้าของคดี คงให้รายละเอียดในเรื่องนี้ได้ เป็นอย่างดี....หลักการในการเยียวยา ก็มีประมาณนี้...ก็ขอแสดงความเสียใจในความสูญเสียด้วย ครับ

84
(ความเห็น)  ก็คงเป็นการผิดสัญญาทางแพ่ง  ก็ใช้สิทธิฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้  แต่จะคุ้มค่าหรือไม่ ต้องใคร่ครวญดู..

85
การเลิกจ้าง

  ถ้าทำบันทึกการจ่ายเงินชดเชยไว้ ก็คือสัญญาแบบหนึ่ง  สามารถใช้บังคับได้  ถ้าผู้ทำบันทึกมีอำนาจเต็มในการลงนาม ในบริษัทนั้น  ถ้ามีการผิดสัญญาก็ต้องไปใช้สิทธิฟ้องร้อง...

86
ปัญหาแรงงาน

1.เราสามารถสามารถเรียกร้องเงิน "ค่ากะ" ที่บริษัทงดจ่ายไปตั้งแต่ช่วงต้นปีได้ไหมครับ

ตอบ...สามารถเรียกร้องได้  เพราระการตกลงด้วยวาจาก็ถือเป็นสัญยาจ้างที่ใช้บังคับได้  ตาม ม.5
2-3-5
ตอบ...คงต้องใช้หลักการใน ม.118 ม.120-120/1 (พรบ.คุ้มครองแรงงานฯ)มาใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา ก็ลองค่อยๆอ่านดู ก็มีขั้นตอนวิธีการในการแก้ไขไว้ คนทั่วไปก็สามารถทำความเข้าใจได้ ครับ
ถาม..4.ผมยังมีเรื่องค่าสัญญาที่บริษัทส่งไปเรียนอบรมซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่บริษัทออกให้ สัญญาจะหมดในปีหน้า(กำหนดค่าปรับเป็น2เท่าหากมีการลาออกก่อนที่สัญญาจะหมด) สัญญาฉบับนี้จะเป็นอย่างไรครับหากผมไม่ตกลงยินยอมที่จะย้ายไปทำงานตามที่บริษัทกำหนดไว้ให้
ตอบ...สัญญานี้ยังมีผลบังคับ ถ้าผิดสัญญาคือ ไม่ไปทำงานก็คงถูกปรับ 2 เท่า แต่สิทธิตาม ม.118 และ ม.120  ก็มีอยู่เช่นกัน เช่นได้เงินชดเชยในการเลิกจ้าง 240 วัน...(แต่ปัญหาการไม่ไปทำงาน ถือว่าถูกเลิกจ้าง หรือไม่ เพราะมีสัญญาการทำงานติดค้างอยู่ ถ้านายจ้างโต้แย้งขึ้นมาว่า ไม่ใช่การเลิกจ้าง คงต้องให้ศาลวินิจฉัย)

มาตรา ๑๑๘  ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง ดังต่อไปนี้

(๑) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งร้อยยี่สิบวัน แต่ไม่ครบหนึ่งปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(๒) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งปี แต่ไม่ครบสามปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายเก้าสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานเก้าสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(๓) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสามปี แต่ไม่ครบหกปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานหนึ่งร้อยแปดสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(๔) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหกปี แต่ไม่ครบสิบปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสองร้อยสี่สิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสองร้อยสี่สิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(๕) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสิบปี แต่ไม่ครบยี่สิบปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อยวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามร้อยวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(๖) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบยี่สิบปีขึ้นไป ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสี่ร้อยวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสี่ร้อยวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

                      การเลิกจ้างตามมาตรานี้ หมายความว่า การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด และหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป

                   ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนและเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น

                  การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาตามวรรคสามจะกระทำได้สำหรับการจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอนหรือในงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุด หรือความสำเร็จของงาน หรือในงานที่เป็นไปตามฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น ซึ่งงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกินสองปีโดยนายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง

มาตรา ๑๒๐  นายจ้างซึ่งประสงค์จะย้ายสถานประกอบกิจการแห่งหนึ่งแห่งใดไปตั้ง ณ สถานที่ใหม่หรือย้ายไปยังสถานที่อื่นของนายจ้าง ให้นายจ้างปิดประกาศแจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้า โดยให้ปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ สถานประกอบกิจการนั้นตั้งอยู่ที่ลูกจ้างสามารถเห็นได้อย่างชัดเจน ติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนวันย้ายสถานประกอบกิจการ และประกาศนั้นอย่างน้อยต้องมีข้อความชัดเจนเพียงพอที่จะเข้าใจได้ว่าลูกจ้างคนใดจะต้องถูกย้ายไปสถานที่ใดและเมื่อใด

            ในกรณีที่นายจ้างไม่ปิดประกาศให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าตามวรรคหนึ่ง ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่ลูกจ้างที่ไม่ประสงค์จะไปทำงาน ณ สถานประกอบกิจการแห่งใหม่เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวัน หรือเท่ากับค่าจ้างของการทำงานสามสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

           หากลูกจ้างคนใดเห็นว่าการย้ายสถานประกอบกิจการดังกล่าวมีผลกระทบสำคัญต่อการดำรงชีวิตตามปกติของลูกจ้างหรือครอบครัวของลูกจ้างคนนั้น และไม่ประสงค์จะไปทำงาน ณ สถานประกอบกิจการแห่งใหม่ ต้องแจ้งให้นายจ้างทราบเป็นหนังสือภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ปิดประกาศ หรือนับแต่วันที่ย้ายสถานประกอบกิจการในกรณีที่นายจ้างมิได้ปิดประกาศตามวรรคหนึ่ง และให้ถือว่าสัญญาจ้างสิ้นสุดลงในวันที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการ โดยลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษไม่น้อยกว่าอัตราค่าชดเชยที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับตามมาตรา ๑๑๘

           ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามวรรคสองหรือค่าชดเชยพิเศษตามวรรคสามให้แก่ลูกจ้างภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่สัญญาจ้างสิ้นสุด

            ในกรณีที่นายจ้างไม่เห็นด้วยกับเหตุผลของลูกจ้างตามวรรคสาม ให้นายจ้างยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือ

 

มาตรา ๑๒๐/๑  เมื่อคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานพิจารณาคำร้องตามมาตรา ๑๒๐ วรรคห้าแล้ว เห็นว่าลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือค่าชดเชยพิเศษให้คณะกรรมการสวัสดิการแรงงานสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือค่าชดเชยพิเศษ แล้วแต่กรณี ให้แก่ลูกจ้างภายในสามสิบวันนับแต่วันที่นายจ้างทราบคำสั่ง

       ในกรณีที่คณะกรรมการสวัสดิการแรงงานพิจารณาแล้ว เห็นว่าลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือค่าชดเชยพิเศษ แล้วแต่กรณี ให้คณะกรรมการสวัสดิการแรงงานแจ้งคำสั่งให้นายจ้างและลูกจ้างทราบ

         ในการพิจารณาและมีคำสั่งของคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำร้อง และแจ้งคำสั่งให้นายจ้างและลูกจ้างทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีคำสั่ง

         คำสั่งของคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานให้เป็นที่สุด เว้นแต่นายจ้างหรือลูกจ้างจะอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้ทราบคำสั่ง ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายนำคดีไปสู่ศาล นายจ้างต้องวางหลักประกันต่อศาลตามจำนวนที่ต้องจ่ายตามคำสั่งนั้น จึงจะฟ้องคดีได้

         การส่งคำสั่งของคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานให้นำมาตรา ๑๔๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

87
การทำงานที่มีกำหนดเวลา

 (ความเห็น) เมื่อเลิกจ้างก่อนกำหนด  ก็ต้องได้เงินชดเชย  180 วัน ...ส่วนเงินค่าจ้างอีก  2 ปี เมื่อเลิกจ้างถือว่าผิดสัญญา  น่าจะเรียกร้องได้..เจรจาไม่ลงตัว คงต้องฟ้อง...

88
การเลิกจ้าง

   (ความเห็น) น่าจะต้องใช้ พรบ.คุ้มครองแรงงานฯ ม.121 ม.122 (กฎหมายที่ใกล้เคียง) มาปรับใช้  ต้องใช้สิทธิเรียกร้อง ตามที่กฎหมายกำหนด  ก็ร้อง พนักงานตวจแรงงานในท้องที่นั้น...

มาตรา ๑๒๑  ในกรณีที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างปรับปรุงหน่วยงาน กระบวนการผลิต การจำหน่าย หรือการบริการ อันเนื่องมาจากการนำเครื่องจักรมาใช้หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรือเทคโนโลยี ซึ่งเป็นเหตุให้ต้องลดจำนวนลูกจ้าง ห้ามมิให้นำมาตรา ๑๗ วรรคสอง มาใช้บังคับ และให้นายจ้างแจ้งวันที่จะเลิกจ้าง เหตุผลของการเลิกจ้างและรายชื่อลูกจ้างต่อพนักงานตรวจแรงงาน และลูกจ้างที่จะเลิกจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหกสิบวันก่อนวันที่จะเลิกจ้าง

    ในกรณีที่นายจ้างไม่แจ้งให้ลูกจ้างที่จะเลิกจ้างทราบล่วงหน้า หรือแจ้งล่วงหน้าน้อยกว่าระยะเวลาที่กำหนดตามวรรคหนึ่ง นอกจากจะได้รับค่าชดเชยตามมาตรา ๑๑๘ แล้ว ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายหกสิบวัน หรือเท่ากับค่าจ้างของการทำงานหกสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วยด้วย

     ในกรณีที่มีการจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามวรรคสองแล้ว ให้ถือว่านายจ้างได้จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ด้วย

 

มาตรา ๑๒๒  ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างตามมาตรา ๑๒๑ และลูกจ้างนั้นทำงานติดต่อกันเกินหกปีขึ้นไป ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษเพิ่มขึ้นจากค่าชดเชยตามมาตรา ๑๑๘ ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสิบห้าวันต่อการทำงานครบหนึ่งปี หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสิบห้าวันสุดท้ายต่อการทำงานครบหนึ่งปีสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย แต่ค่าชดเชยตามมาตรานี้รวมแล้วต้องไม่เกินค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อยหกสิบวัน หรือไม่เกินค่าจ้างของการทำงานสามร้อยหกสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

   เพื่อประโยชน์ในการคำนวณค่าชดเชยพิเศษ กรณีระยะเวลาทำงานไม่ครบหนึ่งปี ถ้าเศษของระยะเวลาทำงานมากกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ให้นับเป็นการทำงานครบหนึ่งปี

 

89
สภาพการจ้าง

  ก็เข้าข่ายการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง ที่ไม่เป็นคุณต่อลูกจ้าง  ต้องห้าม  แต่นายจ้างอาจจะไม่เกรงกลัว เพราะมีโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท...ก็ลองร้องผู้ตรวจแรงงาน ในท้องที่นั้นดู...

กฎหมายที่ใช้อ้างอิง....พรบ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518


มาตรา ๒๐  เมื่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับแล้ว ห้ามมิให้นายจ้างทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เว้นแต่สัญญาจ้างแรงงานนั้นจะเป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่า
มาตรา ๑๓๐  นายจ้างผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๘ มาตรา ๒๐ หรือมาตรา ๒๒ วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา ๑๘ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท

90
การทำงาน

   ถ้าจำเป็นต้องลาออก  ก็ต้องแจ้งล่วงหน้า  ถ้าไม่แจ้งล่วงหน้า   นายจ้าง  อาจจะเกิดความเสียหาย ที่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายได้  การไม่จ่ายค่าจ้าง ถือเป็นมาตรการเรียกร้องค่าเสียหายแบบหนึ่ง มุมมองของลูกจ้างอาจไม่เกิดความเสียหาย แต่ในมุมมองของนายจ้างอาจเกิดความเสียหายขึ้นได้  จึงมีหลักเกณฑ์ของกฎหมาย เพื่อป้องกันปัญหาทั้งสองฝ่าย...

กฎหมายที่ใช้อ้างอิง...
 พรบ.คุ้มครองแรงงานฯ
มาตรา ๑๗  สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้างโดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้า

  ในกรณีที่สัญญาจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลา นายจ้างหรือลูกจ้างอาจบอกเลิกสัญญาจ้างโดยบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่งคราวใด เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้าก็ได้ แต่ไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเกินสามเดือน  ทั้งนี้ ให้ถือว่าสัญญาจ้างทดลองงานเป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาด้วย

    การบอกเลิกสัญญาจ้างตามวรรคสอง นายจ้างอาจจ่ายค่าจ้างให้ตามจำนวนที่จะต้องจ่ายจนถึงเวลาเลิกสัญญาตามกำหนดที่บอกกล่าวและให้ลูกจ้างออกจากงานทันทีได้

   การบอกกล่าวล่วงหน้าตามมาตรานี้ไม่ใช้บังคับแก่การเลิกจ้างตามมาตรา ๑๑๙ แห่งพระราชบัญญัตินี้ และมาตรา ๕๘๓ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

 

หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 14