18/05/24 - 23:49 pm


แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - มโนธรรม

หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 14
91
คดียาเสพติด

  ก็เข้าใจถึงความทุกข์ร้อนของญาติที่ถูกดำเนินคดี   แต่จะตอบให้ชัดเจนว่าจะถูกจำคุกมากน้อยเท่าใด  คงตอบไม่ได้ ก็ตอบในทำนองนี้มามากมายพอสมควร ไม่ใช่ไม่เห็นใจผู้ถาม แต่การลงโทษเป็นอำนาจของศาลเท่านั้น  จึงไม่สามารถตอบได้ ครับ...ตามข้อเท็จจริงที่บอก  ถ้ามีของของกลาง 100  เม็ด  คงถูกตั้งข้อหา ครอบครอง เพื่อจำหน่าย โทษตามกฎหมายคือ  ถ้ามีสารบริสุทธิ์ไม่เกิน 20 กรัม    จะมีโทษจำคุก  4 ปี ถึงจำคุกตลอดชีวิต ปรับ 400,000  บาท ถึง 5,000,000 บาท ( มาตรา 66วรรค 2) การลงโทษมากน้อยเพียงใดเป็นดุลพินิจของศาลเท่านั้น....แต่ก็พอมีช่องทางให้ได้รับโทษน้อยลง  เช่น ถ้ากระทำความผิดจริง ควรรับสารภาพแต่แรก  ย่อมเป็นเหตุบรรเทาโทษ หรือการให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เกี่ยวกับการปรามปรามยาเสพตืด ( ม.100/2)แก่ตำรวจฯ จนสามารถจับผู้ร่วมขบวนการมาลงโทษได้  ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดได้...

92
พยานหลักฐาน

  การเก็บรวบรวมพยานหลักฐานต่างๆ   เช่นการตรวจปัสสาวะ เป็นเรื่องของนายร้อยเวรเจ้าของคดี ไม่ใช่หน้าที่ของศาล เพื่อสรุปสำนวนส่งอัยการ เพื่อสั่งฟ้อง

93
ระยะเวลาในการดำเนินคดี

  เป็นเรื่องของปฏิบัติหน้าที่  คงตอบชัดเจนไม่ได้ว่า ใช้เวลาเท่าใด  อาจจะมีการฝากขังเป็นนัดๆ  48 วัน หรือ 84 วัน (ราว2-3เดือน)ถ้าสารภาพคดีน่าจะจบเร็วขึ้น ไม่น่าจะเกิน 6 เดือน...

94
ลูกหนี้ร่วม

  ตามข้อเท็จจริง สามีและอดีตภรรยา กู้เงินซื้อบ้านร่วมกัน  ก็ย่อมเป็นลูกหนี้ร่วม และต้องรับผิดในเงินกู้ร่วมกัน  เรื่องเป็นผู้กู้หลัก หรือผู้กู้รอง  เป็นความเข้าใจของคนทั่วไป ที่จริงก็ต้องร่วมกันรับผิดทั้งสองคน  เมื่อผิดนัดการชำระหนี้ เจ้าหนี้ก็ต้องทวงถามลูกหนี้ทั้งสองคน...การไปศาลเพื่อไกล่เกลี่ยคงทำได้ลำบาก ถ้าอดีตภรรยาไม่ไปศาล...ทางออกที่ต้องยอมรับ  คือสามีต้องกัดฟันทนผ่อนใช้หนี้ต่อไปจนหมด  การผ่อนส่งก็คงไม่สูญเปล่า  เพราะสามีก็เป็นเจ้าของบ้านด้วยกึ่งหนึ่ง...ถ้าไม่ผ่อนใช้หนี้ คงมีการบอกเลิกสัญญา  นำบ้านออกขายฯ  ถ้าใช้หนี้ยังไม่หมด  สามีก็คงต้องร่วมรับผิด....คุณในฐานะภรรยา  ไม่ต้องร่วมรับผิดในหนี้ก้อนนี้   แต่...ความเป็นสามีภรรยากัน  ก็คงไม้พ้นจากผลกระทบ ....ทางออกอีกทางหนึ่ง  ก็พยายามติดต่อภรรยาเก่าให้พบ  และขายสิทธิบ้านหลังนี้ให้บุคคลภายนอก  โดยการเปลี่ยนสัญญาใหม่  ถ้าสามารถทำได้ สามีก็จะหลุดพ้นจากหนี้ก้อนนี้  ด้วยความปรารถนาดี ครับ

95
คู่สมรส
  คงเอาผิดกับชายชู้ได้  ฎีกา  ที่ท่าน ทนายพร ยกมาข้างต้น  ลองอ่านดูอีกที   ครับ

96
การแจ้งข้อหา

  เป็นดุลพินิจของ พนักงานสอบสวน  ซึ่งพิเคราะห์จากข้อเท็จจริงต่างๆ ในการสืบสวนและสอบสวน และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง...  ผู้ถูกกล่าวหา จึงสามารถโต้แย้งได้เสมอ  ถ้าการโต้แย้งไม่เป็นผล  คงต้องมีทนายความช่วยเหลือ ในการยื่นให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้  เพื่อให้ศาลใช้ดุลพิจในการพิจารณาในศาลต่อไป...ส่วนโทษ  ถ้าเสพฯ จำคุก  6เดือนถึง 3 ปี ปรับ 10,000 - 60,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ( ม.91)...ถ้าเป็นข้อหาจำหน่าย คงมีโทษ 4-15 ปี ปรับ80,000-300,000  บาท หรือทั้งจำทั้งประบ ( ม.66 วรรค 1)

97
คุณสมบัติของข้าราชการ

   แม้ได้รับการรอกรลงโทษไว้ แต่อาจมีติดปัญหา ในข้อห้ามอีกข้อ คือ "เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม" ซึ่งคำว่าบกร่องในศีลธรรมอีนดี มีความหมาย ค่อนข้างกว้าง  ผู้มีอำนาจบรรจุแต่งตั้งอาจจะ...ไม่สั่งบรรจุแต่งตั้งก็ได้...หลายหน่วยงาน ออกหนังสือเวียนตอกย้ำว่า แม้รอการลงโทษไว้  ก็ให้ถือเสมือนว่ามีการลงโทษจริง  ถือว่ามีคุณสมบัติต้องห้ามฯ..ถ้าไม่ได้รับการบรรจุแต่งตั้ง....ก็สามารถฟ้องศาลปกครองให้วินิจฉัยได้   ได้คัดลอกคำสั่งศาลปกครองสูงสุดมาให้พิจารณาดู ครับ


ศาลปกครองสูงสุด ที่ อ.482/2556 วินิจฉัยถึงประเด็นดังกล่าวไว้ มีรายละเอียดคือ
         คดีนี้ผู้ฟ้องคดีสอบติดนายสิบตำรวจ แต่ถูกคณะกรรมการสอบตัดสิทธิในการรับราชการเพราะผู้ถูกฟ้องคดีเคยถูกลงโทษจำคุกในข้อหามีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและพกพาอาวุธปืนโดยไมได้รับอนุญาต โดยในคดีดังกล่าวศาลรอการลงโทษจำคุกผู้ถูกฟ้องคดีไว้
         ผู้ฟ้องคดีจึงมาฟ้องเพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการสอบ โดยอ้างว่าตนเองไม่เป็นบุคคลต้องห้าม เพราะไม่เคยได้รับโทษจำคุกจริงๆ เนื่องจากศาลมีคำพิพากษาให้รอการลงโทษจำคุกไว้ แล้วยังอ้างอีกว่า ยังผู้สมัครคนอื่นซึ่งเคยถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุกในข้อหาเมาแล้วขับ (ไม่ใช่ความผิดที่กระทำโดยประมาทและไม่ใช่ความผิดลหุโทษ) แต่คณะกรรมการกลับไม่ตัดสิทธิบุคคลนั้น แต่กลับมาตัดสิทธิตนเอง จึงเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
      ศาลปกครองสูงสุดมีคำวินิจฉัยว่า
         “การที่บุคคลกระทำความผิดอาญา ข้อหามีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และพกพาอาวุธปืนไป ในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้จะไม่ต้องรับโทษอาญาแต่ก็แสดงให้เห็นว่าผู้กระทำความผิดดังกล่าวดำเนินชีวิตในลักษณะที่อาจเป็นอันตรายต่อตนเองและบุคคลอื่น ซึ่งวิญญูชนทั่วไปที่ประพฤติตนในกรอบของกฎหมายและศีลธรรมย่อมไม่มีความประพฤติเช่นนั้น จึงเห็นว่า การกระทำความผิดกฎหมายอาญาดังกล่าวของผู้ฟ้องคดีถือได้ว่าผู้ฟ้องคดีมีประวัติที่มีความประพฤติ เสื่อมเสีย ประกอบกับการสอบแข่งขันเข้าเป็นนักเรียนนายสิบตำรวจเป็นตำแหน่งที่มีหน้าที่ในการ รักษาความสงบเรียบร้อยแก่บ้านเมืองและประชาชน บุคคลที่มีประวัติความประพฤติเสื่อมเสียดังกล่าว ย่อมไม่เหมาะสมที่จะปฏิบัติหน้าที่นี้ การที่คณะกรรมการดำเนินการสอบแข่งขันและผู้ถูกฟ้องคดีตัดสิทธิ ผู้ฟ้องคดี โดยเห็นว่าเป็นผู้ขาดคุณสมบัติเนื่องจากมีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดีจึงเป็นการใช้ดุลพินิจภายใต้หลักเกณฑ์ที่กำหนดและเหมาะสมแล้ว ประกาศกองบัญชาการศึกษา ลงวันที่ 11 เมษายน 2550 ที่ให้ผู้ฟ้องคดีไม่ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติและภาคความเหมาะสม กับตำแหน่ง จึงชอบด้วยกฎหมาย 
        สำหรับกรณีที่ผู้ฟ้องคดีอุทธรณ์ว่า คณะกรรมการดำเนินการสอบแข่งขันและ ผู้ถูกฟ้องคดีเลือกปฏิบัติในการพิจารณาโดยกรณีของนาย จ. ได้กระทำผิดอาญาข้อหาขับรถขณะเมาสุรา ซึ่งเป็นความผิดทั้งกฎหมายและศีลธรรม แต่คณะกรรมการดำเนินการสอบแข่งขันและ ผู้ถูกฟ้องคดีกลับเห็นว่า ไม่เป็นผู้ประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี นั้น เห็นว่า แม้ผู้ฟ้องคดีและนาย จ. จะกระทำความผิดอาญาเหมือนกันแต่ความร้ายแรงแห่งการกระทำแตกต่างกัน กล่าวคือ การกระทำความผิดข้อหามีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และพกพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการกระทำโดยมีเจตนากระทำผิดและมีความร้ายแรง เป็นที่รังเกียจของคนในสังคมมากกว่า อีกทั้งเมื่อผู้ฟ้องคดีได้กระทำผิดดังกล่าวจริง จึงไม่อาจอ้างว่าผู้ถูกฟ้องคดีเลือกปฏิบัติได้แต่อย่างใด ที่ศาลปกครองชั้นต้น พิพากษายกฟ้อง ศาลปกครองสูงสุดเห็นพ้องด้วย “

98
หนี้ผูกพัน

    พี่สาวคงผิดนัดการชำระหนี้บัตรเครดิต  คงมีการฟ้องคดี  ถ้าพี่สาวไม่ไปตามนัด   ก็มีกระบวนพิจารณาคดีไปโดยฝ่ายเดียว( การขาดนัด)  ผลก็คือพี่สาวคงต้องใช้หนี้ตามที่ถูกฟ้อง  ถ้าไม่มีการติดต่อขอชำระหนี้   ก็คงมีการออกหมายบังคับคดี  เพื่อยึดทรัพย์ของพี่สาวไปขายทอดตลาดเพื่อใช้หนี้ได้...ปัญหาคือ พี่สาวเคยซื้อบ้าน แม้เป็นเพียงตัวแทน ในการซื้อบ้านให้คุณ ไม่เคยผ่อนใช้หนี้  แต่ในเอกสาร  ถือว่าพี่สาวคือเจ้าของบ้าน การโอนให้คุณตามความเป็นจริง   อาจจะ.....มีข้อโต้แย้งว่า  เป็นการฉ้อฉลเจ้าหนี้   อาจมีการร้องศาลให้เพิกถอนนิตกรรมการโอนบ้านนั้น เพื่อนำไปขายทอดตลาดเพื่อใช้หนี้  ดังนั้นควรไปตามนัดเพื่อไกล่เกลี่ย   เพื่อแสดงเอกสารหลักฐานว่า พี่สาวเป็นเพียงตัวแทนซื้อบ้านให้คุณ  ถ้าเจ้าหนี้  ไม่ยอมรามือ  คงต้องมีการพิสูจน์กันในชั้นศาล  ควรเดินเกมด้วยความระมัดระวัง  ควรมีทนายความช่วยเหลือด้วย  ด้วยความปรารถนาดี ครับ

99
รอการลงโทษ

  ความหมายก็ตรงตัว  คือมีโทษแต่ศาลปรานีให้รอการลงโทษไว้  เพื่อให้มีโอกาสประพฤติตนเป็นพลเมืองดี โดยปล่อยตัวสู่สังคมตามปรกติ   ถ้าไปก่อคดีในภายหลัง ถือว่าผิดเงื่อนไข การรอการลงโทษ   ศาลอาจจะ  นำโทษทที่รอไว้  มาลงโทษจริง คือให้จำคุก ก็ได้  แต่เรื่ิองนี้  เป็นดุลพินิจของศาลเท่านั้น   จะให้ฟันธงว่า ศาลจะรอการลงโทษหรือไม่ คงตอบชัดเจนไม่ได้ ...แนวคำพิพากษาษ๋ลที่ที่ค่อนข้างใหม่...

ฎีกาที่  7264/2561
 ตาม ป.อ. มาตรา 56 (ที่แก้ไขใหม่) บัญญัติว่า ถ้าปรากฏว่าผู้นั้น (1) ไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน... ศาลจะรอการลงโทษผู้นั้นไว้ก็ได้ นั้น หมายถึงว่า จำเลยไม่ได้รับโทษจำคุกมาก่อนคดีที่ศาลกำลังจะพิพากษา ซึ่งมาตรา 56 (ที่แก้ไขใหม่) มิได้ระบุว่าคดีที่จำเลยได้รับโทษจำคุกมาก่อนนั้น ต้องเป็นการกระทำความผิดมาก่อนคดีเรื่องหลัง เมื่อจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนและเป็นโทษในความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 (เมทแอมเฟตามีน) ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ซึ่งเป็นโทษจำคุกเกินกว่าหกเดือนและมิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ จึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ตาม ป.อ. มาตรา 56 (ที่แก้ไขใหม่) ที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้
 

100
สัญญาจ้าง

  ถ้าเลิกจ้างตามกำหนดเวลา  ตามกำหนด  1 ปี คงเรียกเงินชดเชยไม่ได้....แต่ถ้าทำงานครบ 120 วันแต่ไม่ครบ 1 ปี ถ้าถูกเลิกจ้าง โดยไม่มีความผิด จะได้เงินชดเชย 30 วัน...สัญญาที่ระบุว่า เรียกค่าชดเชยไม่ได้  ไม่น่าจะบังคับได้  ถ้าไม่จ่ายฯ ก็ต้องมีการฟ้อง...

101
การค้ำประกัน

  คู่สมรสของผูักู้จะต้องร่วมรับผิดหรือไม่  ต้องมีการพิสูจน์กันพอสมควร  เบื้องต้นลองใช้การเจรจากันดูก่อน   ถ้าการเจรจาไร้ผล   คงต้องปรึกษาทนายความ  เพื่อหา่ลู่ทางให้คู่สมรสของเราต้องร่วมรับผิดชอบ  เรื่องนี้ เป็นทั้งปัญหาข้อเท็จจริง และปัญหาข้อกฎหมาย   คงต้องมีทนายความช่วยตรวจรายละเอียดต่างๆก่อน ครับ..

102
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: กรณีการลดเงินเดือน
« เมื่อ: กันยายน 06, 2020, 08:01:57 am »
การบริหารจัดการในบริษัท

  การปรับลดเงินเดือน  อาจจะ เข้าข่ายการปรับเปลี่ยนสภาพการจ้าง  นายจ้างจะมีความผิด แต่โทษน้อยนิด...ต้องยอมรับความจริงว่า ในสถานการณ์เช่นนี้  เกิดปัญหาเศรษฐกิจรุมเร้า่ไปทั่วโลก  ทุกหน่วยงานหรือทุกองค์กร  จำเป็นต้องปรับตัว เพื่อความอยู่รอด  การปรับตัวก็มีทางเลือกอยู่สองสามทางคือ  ปลดคน  หรือลดเงินเดือน  หรือกดดันให้ย้ายหรือลาออก....ถ้าไม่เห็นด้วย  ก็ต้องใช้การเจรจา หรือร้องเรียน หรือ ฟ้องร้อง...นายจ้างกับลูกจ้าง  ไม่ต่างจากญาติสนิท  จำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยกัน  การฟ้องร้องน่าจะไม่ใช่ทางออกที่ดีนัก  ด้วยความปรารถนาดี ครับ

103
คดียาเสพติด
  ตามข้อเท็จจริงการมียาเสพติดอยู่ในมือ  การปฏิเสธก็ค่อนข้างลำบาก  ถ้าบริสุทธิ์จริงก็สามารถต่อสู้คดี เพื่อพิสูจน์ตนให้พ้นผิดได้เสมอ..

คำถามคือ
1.ผมจำเป็นต้องเซ็นรับมั้ยครับสำนวนที่เค้าเปลี่ยนบอกว่าเพื่อเสพก้อหนักแล้วกลายเปนว่าครอบครองเพื่อขาย ไปกันใหญ่

ตอบ..ถ้าคิดว่าไม่ได้กระทำความผิด  ก็ไม่ต้องไปเซ็นชื่อยอมรับก็ได้  แต่...แม้ไม่ยอมรับ  ตำรวจก็มีหน้าที่รวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อพิสูจน์ความผิดของผู้ต้องหา หรือจำเลย  ถ้าพยานหลักฐานแน่นหนาชัดเจน  คงไม่พ้นผิด
2.ผมไม่ได้มีความเกี่ยวข้องอะไรเลยไม่เคยยุ่งเกี่ยวยาเสพติดทั้งสิ้นเป็นเด็กเรียนมาตลอด จนกระทั่งทำงาน ผมจะพิสูจน์ยังไงครับว่าผมนี่ซวย

ตอบ...เรื่องนี้ ต้องพิสูจน์ตนเอง  การต่อสู้คดีเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์  ต้องมีทนายมือดี ช่วยเหลืออย่างจริงจัง  เพื่อให้การพิสูจน์ตนเป็นไปตามแนวทางที่น่าเชื่อถือและมีน้ำหนัก  เพื่อให้ศาลรับฟัง  และยกฟ้อง....การตอบปัญหาในที่นี้ คงช่วยอะไรไม่ได้  ควรรีบหาทนายความช่วยเหลือด่วน...

104
อำนาจของศาล

  หลักการ... ในคดียาเสพติด  ถ้ากระทำความผิดภายในห้าปี  จะต้องมีการเพิ่มโทษในคดีหลังอีก  กึ่งหนึ่ง (พรบ.ยาเสพติดฯ ม.97)....ตามข้อเท็จจริง การครอบครองกัญชาเพื่อจำหน่าย   ถ้าไม่ถึง 10 กก.  จะมีโทษจำคุก 2-10 ปี ปรับ 40,000  -200,000  บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ( ม.76/1 วรรค 1)...ส่วนจะถูกลงโทษจริงมากน้อยเพียงใด  เป็นดุลพินิจของศาลเท่านั้น  คงตอบชัดเจนไม่ได้....การรรับสารภาพ  และ ถ้าสามารถให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปรามปรามคดียาเสพติดฯ ( ม.100/2) ศาลคงลงโทษน้อยลง...

105
ร้อง สคบ.  1166  น่าจะมีทางออกได้

หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 14