07/05/24 - 19:42 pm


แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - มโนธรรม

หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 14
106
ตอกบัตรผิด

  ก็ค่อนข้างอยู่ในฐานะเสียเปรียบ   ถ้าถูกโยงว่า เป็นการปลอมแปลงเอกสาร  คงกลายเป็นคดีอาญาได้  ดังนั้นการเจรจาต่อรองใดๆ  ต้องระมัดระวังพอสมควร...

107
คดียาเสพติด

  โดยหลัก  คงไม่ใครต้องไปต้องรับโทษจำคุกแทนใคร    ก็รับโทษเฉพาะที่ตนกระทำความผิดเท่านั้น  การต่อสู้คดี เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์  ควรต้องมีทนายช่วยเหลืออย่างจริง  ทนายขอแรงก็มีประจำอยู่ทุกศาล  ก็ขอความช่วยเหลือจากเขาได้...

108
ภาษีเงินได้

  (เป็นการแสดงความคิดเห็น)...โดยหลัก  ผู้มีเงินได้(ผู้รับเงิน)  มีหน้าที่ต้องชำระภาษีเงินได้ เว้นแต่จะมีข้อตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น

109
การซื้อบ้าน

  ตามข้อเท็จจริง คุณอยู่ในฐานะลูกหนี้ตัวจริง  มีหน้าที่ต้องผ่อนส่งบ้านตามสัญญา จนหมดหนี้...เรื่องพี่ชาย มาขนออกออกจากบ้าน ย่อมมีความผิดฐานลักทรัพย์ แต่การเป็นพี่น้องกัน  การจะแจ้งความคงมีปัญหาในเรื่องเครือญาติ  ก็ลองแจ้งให้เขา ขนของกลับคืน  ถ้าเขาไม่คืน  จะแจ้งความหรือไม่ ก็คงต้องไปพิจารณาเอาเอง ครับ

110
การโอนลูกจ้างไปยังบริษัทใหม่

  เรื่องนี้ "ท่านทนายพร" ได้แสดงความเห็นไว้อย่างชัดเจน พร้อมมีคำพิพากษาศาลฎีกาประกอบด้วย  ลองไปค้าหาอ่านดูครับ

111
เครื่องหมายการค้า

  ตาม พรบ.เครื่องหมายการค้าฯ จะโทษดังที่ยกมาข้างล่าง..จะต้องรับผิดตาม ม.108 หรือ ม.109 ก็แล้วแต่ข้อเท็จจริงเป็นกรณีๆไป (ความเห็น)  ถ้าทำผิดจริงควรรับสารภาพ และชดใช้ค่าเสียหายตามควร  น่าจะไม่ถูกจำคุก...คดีนี้ก็ไม่ได้ร้ายแรงอะไรมากมาย การรับสารภาพ เรื่องต่างๆคงง่ายขึ้น (การไม่เซ็นรับทราบข้อกล่าวหา หรือไม่ให้การใดๆ เป็นสิทธิที่สามารถทำได้เสมอ  ตำรวจก็มีหน้าที่แสวงหาพยานหลักฐานเพื่อลงโทษผู้กระทำความผิด  ถ้าจำนต่อหลักฐาน คงไม่มีเหตุอันควรปรานี ที่จะได้รับการบรรเทาโทษ)


มาตรา ๑๐๘  บุคคลใดปลอมเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายร่วมของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสี่ปี หรือปรับไม่เกินสี่แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ....

 

มาตรา ๑๐๙  บุคคลใดเลียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายร่วมของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายร่วมของบุคคลอื่นนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

112
สิทธิเหนือพื้นดิน

  การมอบสำเนาโฉนดที่ดิน และลงชื่อรับรองสำเนา ก็เข้าข่ายการให้ความยินยอมให้ใช้ที่ดินโดยปริยาย  เทศบาลคงให้อนุญาตก่อสร้างตามแบบที่ยื่นไปได้ ถ้ามีเหตุขัดข้อง หรือระเบียบระบุว่าต้องมีเอกสารใดบ้าง เจ้าหน้าที่คงแจ้งให้ขอหนังสือยินยอมจากคุณ ให้ใช้ที่ดินก็ได้...การอนุญาตให้ผู้อื่นใช้ที่ดิน  หรือมีสิทธิเหนือพื้นดิน  ควรทำสัญญา หรือจดทะเบียนให้ถูกต้อง และมีเงื่อนไขระบุไว้ให้ชัดเจนว่า ให้ใช้ประโยชน์อย่างไร มีค่าเช่าหรือไม่ เป็นระยะเวลายาวนานเพียงใด  เมื่อหมดสัญญา  จะจัดการกับอาคารอย่างไร ให้รื้ออกไป หรือให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดิน   ก็ต้องระบุไว้ให้ชัดเจน ถ้ามีผู้รู้จริง ช่วยร่างสัญญาให้จะปลอดภัย  ถ้าทำหละหลวม แบบกันเอง คือไว้ใจกัน  ถ้าเขาไม่ย้ายออก  ก็คงต้องฟ้องขับไล่  ซึ่งคงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก...

113
การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง

  โดยหลัก ไม่สามารถทำได้ ตาม พรบ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ .2518 ม.20  แต่มีโทษไม่มาก ( ม.130)  นายจ้างอาจจะ...ไม่เกรงกลัวก็ได้

มาตรา ๒๐  เมื่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับแล้ว ห้ามมิให้นายจ้างทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เว้นแต่สัญญาจ้างแรงงานนั้นจะเป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่า

มาตรา ๑๓๐  นายจ้างผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๘ มาตรา ๒๐ หรือมาตรา ๒๒ วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา ๑๘ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท

 

114
เงินชดเชย

  จะได้รับต่อเมื่อถูกเลิกจ้างไม่ป็นธรรม  ถ้าไม่ลาออกเอง  หรือมีสัญญาเลิกจ้าง คงไม่ได้รับเงินชดเชย..

115
การลาออก

  ต้องบอกกล่าวล่วง  ตามที่คุณบอก  ถูกต้องแล้ว  เมื่อไม่บอกฯ นายจ้างคงอ้างว่าเกิดความเสียหาย จึงไม่จ่ายค่าคอมฯ จะฟ้องร้องก็ได้ แต่ดูข้อต่อสู้ของนายจ้าง อาจสมน้ำสมเนื้อกัน  ก็ต้องพิจารณาดูเอาเอง...

116
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: มีข้อสงสัยครับ
« เมื่อ: มิถุนายน 30, 2020, 12:33:59 pm »
การรับผิดทางอาญา

 การทะเลาะวิวาท เป็นความผิดอาญา  มีโทษ ปรับไม่เกินห้าพันบาท (ปอ. ม.372)  เป็นคดีลหุโทษ คือความผิดเล็กๆน้อยๆ อาจไม่มีการแจ้งความก็ได้

117
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: จะต่อสุ้คดี
« เมื่อ: มิถุนายน 30, 2020, 12:28:51 pm »
เมื่อถูกดำเนินคดี

  เมื่อมีหมายเรียกควรไปตามหมายเรียก  ถ้าไม่ไปฯ อาจจะถูกออกหมายจับ...  ภาพจากวงจรปิด จะเป็นตัวคุณหรือไม่  คุณย่อมรู้ตัวดี   ถ้าไม่ใช่ฯ ก็ต้องต่อสู้คดีอย่างเต็มที่  ถ้าใช่ฯ ก็ควรรับสารภาพแต่แรก...  ถ้าจะต่อสู้คดี ควรมีทนายความช่วยเหลือ...

118
วันหยุดพักผ่อนประจำปี (พักร้อน)

  ก็ต้อง เป็นไป ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงานฯ ม.30...คือจะตัดสิทธิ์ออกทุกปีไม่ได้...ถ้ามีการเลิกจ้าง ถ้าลูกจ้างยังไม่ใช่สิทธิ์ ลาพักผ่อนฯ (ปีละ  6 วัน) นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างในวันพักพักผ่อนฯ ตาม ม.67...อย่างไรก็ตาม  นายจ้าง/ลูกจ้าง  คงไม่ต่างจากญาติสนิท  มีอะไรก็หาทางเจรจากันด้วยดี   การฟ้องร้องควรเป็นทางเลือกสุดท้าย  ด้งยความปรารถนาดี ครับ

มาตรา ๓๐  ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วครบหนึ่งปีมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ปีหนึ่งไม่น้อยกว่าหกวันทำงานโดยให้นายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างล่วงหน้าหรือกำหนดให้ตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน

                     ในปีต่อมานายจ้างอาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างมากกว่าหกวันทำงานก็ได้

                     นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้าให้สะสมและเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ยังมิได้หยุดในปีนั้นรวมเข้ากับปีต่อ ๆ ไปได้

                    สำหรับลูกจ้างซึ่งทำงานยังไม่ครบหนึ่งปี นายจ้างอาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างโดยคำนวณให้ตามส่วนก็ได้

มาตรา ๖๗  ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างโดยมิใช่กรณีตามมาตรา ๑๑๙ ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่เลิกจ้างตามส่วนของวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับตามมาตรา ๓๐

        ในกรณีที่ลูกจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาหรือนายจ้างเลิกจ้าง ไม่ว่าการเลิกจ้างนั้นเป็นกรณีตามมาตรา ๑๑๙ หรือไม่ก็ตาม ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับตามมาตรา ๓๐

119
การย้ายสถานประกอบการฯ
 เรื่องแบบนี้ พรบ.คุ้มครองแรงงาน ฯ ม.120  บอกขั้นตอนและวิธีปฏิบัติไว้ชัดเจน ค่อยๆอ่าน คงเข้าใจ และปฏิบัติได้  ครับ...ถ้ามีปัญหา ก็ร้อง พนักงานตรวจแรงงาน ในท้องที่ที่ทำงาน  คงมีช่องทางช่วยเหลือได้...

มาตรา ๑๒๐  นายจ้างซึ่งประสงค์จะย้ายสถานประกอบกิจการแห่งหนึ่งแห่งใดไปตั้ง ณ สถานที่ใหม่หรือย้ายไปยังสถานที่อื่นของนายจ้าง ให้นายจ้างปิดประกาศแจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้า โดยให้ปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ สถานประกอบกิจการนั้นตั้งอยู่ที่ลูกจ้างสามารถเห็นได้อย่างชัดเจน ติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนวันย้ายสถานประกอบกิจการ และประกาศนั้นอย่างน้อยต้องมีข้อความชัดเจนเพียงพอที่จะเข้าใจได้ว่าลูกจ้างคนใดจะต้องถูกย้ายไปสถานที่ใดและเมื่อใด

      ในกรณีที่นายจ้างไม่ปิดประกาศให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าตามวรรคหนึ่ง ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่ลูกจ้างที่ไม่ประสงค์จะไปทำงาน ณ สถานประกอบกิจการแห่งใหม่เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวัน หรือเท่ากับค่าจ้างของการทำงานสามสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

        หากลูกจ้างคนใดเห็นว่าการย้ายสถานประกอบกิจการดังกล่าวมีผลกระทบสำคัญต่อการดำรงชีวิตตามปกติของลูกจ้างหรือครอบครัวของลูกจ้างคนนั้น และไม่ประสงค์จะไปทำงาน ณ สถานประกอบกิจการแห่งใหม่ ต้องแจ้งให้นายจ้างทราบเป็นหนังสือภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ปิดประกาศ หรือนับแต่วันที่ย้ายสถานประกอบกิจการในกรณีที่นายจ้างมิได้ปิดประกาศตามวรรคหนึ่ง และให้ถือว่าสัญญาจ้างสิ้นสุดลงในวันที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการ โดยลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษไม่น้อยกว่าอัตราค่าชดเชยที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับตามมาตรา ๑๑๘

       ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามวรรคสองหรือค่าชดเชยพิเศษตามวรรคสามให้แก่ลูกจ้างภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่สัญญาจ้างสิ้นสุด

      ในกรณีที่นายจ้างไม่เห็นด้วยกับเหตุผลของลูกจ้างตามวรรคสาม ให้นายจ้างยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือ

 

120
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: จะสู้ได้ไหมค่ะ
« เมื่อ: มิถุนายน 18, 2020, 12:00:52 pm »
การแจ้งข้อหา

  เป็นหน้าที่ของตำรวจ และอัยการ  ศาลคงไม่มาตั้งข้อหาใหม่ (น่าจะมีการเข้าใจคลาดเคลื่อน) ส่วนการต่อสู้คดี สามารถทำได้เสมอ   แต่ควรมีทนายความช่วยเหลือ  แต่คงบอกไม่ได้ว่า ผลจะเป็นอย่างไร...

หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 14