11/11/24 - 02:20 am


ผู้เขียน หัวข้อ: นายจ้างจะฟ้อง  (อ่าน 16875 ครั้ง)

แอม

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
นายจ้างจะฟ้อง
« เมื่อ: มกราคม 04, 2021, 06:27:42 pm »
มีคำถามค่ะพอดีออกจากงาน(ออกจากโรงเรียนเอกชน)โดยที่ไม่แจ้งล่วงหน้าได้รับเงินเดือนแล้วลาออกเลย...ทีนี้เราไปทำใบลาออกทีหลังเค้าไม่ทำให้เค้าบอกว่าจะทำหนังสือฟ้องสำนัปงานใหม่ที่เราไปทำงาน....เค้าสามารถฟ้องได้หรือไม่ค่ะ...และถ้าเค้าฟ้องเราได้เค้าจะฟ้องเราในกรณีไหนได้บ้าง

มโนธรรม

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 201
    • ดูรายละเอียด
Re: นายจ้างจะฟ้อง
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 05, 2021, 07:19:57 am »
การฟ้อง

  การลาออกโดยไม่แจ้งล่วงหน้า  อาจทำให้เกิดเสียหาย   นายจ้างอาจจะฟ้องฐานละเมิดได้  แต่ควรหาคนกลางช่วยเคลียร์   และยินยอมชดใช้ค่าเสียหายตามควร เรื่ิองน่าจะจบลงด้วยดี การจะไปทำการใหม่ก็ราบรื่น ถ้าปล่อยให้มีการฟ้องร้อง   ย่อมไม่เกิดผลดีต่อชีวิต  ด้วยความปรารถนาดี ครับ

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
Re: นายจ้างจะฟ้อง
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มกราคม 11, 2021, 02:51:06 am »
หลังจากที่ลาออกแล้ว ไปทำที่ใหม่แล้ว มีเวลาว่าง สมองส่วนหน้าหรือที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Forebrain ก็เลยทำงาน  เลยรู้สึกกังวลละซิ... ;D

ไม่เป็นปัญหา...ทนายมีคำตอบ

กฎหมายแรงงานโดยเฉพาะพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ ได้บัญญัติยกเว้นบางมาตราให้โรงเรียนเอกชนไม่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายแรงงาน เช่น เรื่องค่าชดเชย ฯลฯ ทำให้ต้องออกกฎหมายเฉพาะขึ้นมาบังคับใช้ต่างหาก  เว้นแต่ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.๒๕๒๒ ยังบังคับใช้กับครูโรงเรียนเอกชนด้วย เช่น หากถูกเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม ก็มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตามมาตรา ๔๙ ได้

สำหรับครูโรงเรียนเอกชน จะมีกฎหมายเฉพาะแยกต่างหากจากกฎหมายแรงงานตามที่อธิบายไว้ตอนต้น ที่เรียกว่า "พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ.๒๕๕๐" นอกจากนี้ ยังได้มีการออกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการมาเป็นกฎหมายลูกเพื่อ คุ้มครองครูอีกหนึ่งฉบับที่เรียกว่า "ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ.๒๕๔๒"

นอกจากนี้และขณะที่ยังเป็นครูอยู่ ก็จะเป็นสมาชิกกองทุนสงเคราะห์ครูเอกชนด้วย ก็จะประมาณกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั่นแหละ

ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นการเกรินนำ...พอให้ผู้อ่านเข้าใจ และเรียนรู้ไปพร้อมกัน....

มาที่คำถาม....ถามว่า ส่งหนังสือลาออกแล้วออกเลย จะถูกฟ้องมั๊ย?

แหมๆ...ไม่ได้บอกมาซะด้วยซิว่า...งานที่ทำน่ะ..เป็นพนักงานธุรการทั่วไป หรือเป็นครู จะได้ตอบแบบตรงประเด็น เพราะจะต้องพิจารณาว่าต้องอ้างอิงกฎหมายฉบับใดในการตอบ

เอาเป็นว่า ในหลักการ การลาออกมีผลนับแต่วันที่กำหนดในวันแจ้งการลาออกนั้น  และการลาออก ไม่จำเป็นต้องได้รับการอนุมัติก่อนแต่อย่างใด เมื่อแจ้งวันลาออกแล้ว ก็ไม่ต้องไปทำงานอีก และไม่ต้องกังวลว่าอีกฝ่ายจะได้รับความเสียหาย นั่นนี่โน้น หากออกตรงตามวันที่ระบุไว้ในหนังสือ  ที่กล่าวมานี้ รวมทั้งกรณีที่มีข้อบังคับ ระเบียบ กำหนดว่าจะต้องแจ้งล่วงหน้าก่อนกี่วันๆ ด้วยนะครับ

แม้จะมีระเบียบบอกว่าต้องแจ้งก่อนล่วงหน้า ก็ไม่ต้องสนใจหรา...ทำไมทนายบอกอย่างนั้น...??? :) ;D

ก็อธิบายว่า ถึงแม้ว่าจะมีระเบียบก็จริง เป็นเพียงวิธีการเพื่อให้อีกฝ่ายได้ตั้งตัวและหาคนมาแทนได้ในระยะเวลาพอสมควร แต่ไม่ใช่สิ่งที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงต้องดูที่ความเหมาะสมหรือตำแหน่งงานนั้นๆว่าเป็นตำแหน่งอะไร หาคนแทนได้ยาก ง่าย เพียงใด

แต่อย่างไรก็ตาม หากมีข้อกำหนดหรือระเบียบให้ต้องแจ้งล่วงหน้า แต่ยังไม่ถึงกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วเราชิงออกก่อน

กฎหมายก็ให้การคุ้มครองผู้ต้องเสียหายอยู่นะ ในกรณีนี้ก็คือ นายจ้าง นั่นเอง  สามารถฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายดังกล่าวได้

หมายความว่า ส่งใบลาออกแล้วออกเลยก็ได้  แต่อาจถูกฟ้องเรียกค่าเสียหายได้

คำถามคือ...จะฟ้องเรียกค่าเสียหายได้เท่าใหร่ล่ะ?

ก็ต้องกลับไปดูว่า ตำแหน่งงานที่เราทำนั้นสำคัญขนาดใหน  การที่เราออกโดยกระทันหันนั้น นายจ้างเสียหายอย่างไร เสียหายเท่าใหร่? เรื่องเหล่านี้ เมื่อฝ่ายนายจ้างกล่าวอ้างว่าได้รับความเสียหายเท่านั้นเท่านี้บาท ก็จะต้องเป็นฝ่ายหาพยานหลักฐานมาพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่า ค่าเสียหายที่เรียกมานั้นเหมาะสมและสมควรแล้ว หากพิสูจน์ไม่ได้ ไม่มีหลักฐาน ศาลก็อาจใช้ดุลพินิจยกฟ้องได้ หรือศาลอาจจะใช้ดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายให้เหมาะสมได้เช่นกัน

ข้อกฎหมายเกี่ยวกับค่าเสียหายก็ประมาณนี้

แต่ที่ทนายงงกับคำถามก็คือข้อความนี้ "ทีนี้เราไปทำใบลาออกทีหลังเค้าไม่ทำให้เค้าบอกว่าจะทำหนังสือฟ้องสำนัปงานใหม่ที่เราไปทำงาน....เค้าสามารถฟ้องได้หรือไม่ค่ะ"  ไม่แน่ใจว่ากำลังจะบอกว่า หลังจากออกงานแล้ว ไปขอเขียนใบลาออก บริษัทเลยบอกว่าไม่ให้เขียน ฉันเลิกจ้างเธอแล้ว ข้อหา ละทิ้งหน้าที่เกินกว่า ๓ วัน จะมาเขียนทำไม เดี๋ยวฉั้นจะบอกที่ทำงานใหม่เธอด้วยว่าเธอถูกเลิกจ้าง  ประมาณนี้หรือเปล่า ;) หรือเราต้องการหนังสือรับรองการผ่านงาน....??


เอาเป็นว่า ถามมาใหม่ละกันนะ....ทนายงง...อิอิ

ทนายพร.



N13001ey

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
Re: นายจ้างจะฟ้อง
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: เมษายน 03, 2024, 07:37:09 am »
เข้ามาทำงานที่โรงเรียนเอกชนได้1เดือน โดยเข้ามาในช่วงปิดเทอมพอดี ถ้าเราจะลาออกต้องทำยังไงดี ให้ไม่มีผลกระทบต่อตัวเราคะ
ปล.เราสอบได้รร.ของเทศบาลแล้วรอเรียกอยู่ คาดว่าจะเรียกในช่วงเปิดเทอม

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
Re: นายจ้างจะฟ้อง
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มิถุนายน 05, 2024, 10:10:41 am »
ทนายคิดว่า การพูดคุยเจรจาเป็นทางออกที่ดีที่สุดครับ
แนะนำให้เข้าไปคุยกับโรงเรียน รวมทั้งดูระเบียบข้อบังคับฯว่ากรณีต้องการลาออก มีเงื่อนไขอย่างไร ทางโรงเรียนแจ้งขึ้นทะเบียนการเป็นครูของเราต่อหน่วยงานของรัฐแล้วหรือไม่ อะไรพวกนี้ หากปฎิบัติตามเงื่อนไขและวิธีการที่ถูกต้องก็คงไม่มีปัญหาแน่นอนครับ
ให้กำลังใจครับ
ทนายพร.