08/05/24 - 03:06 am


แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - มโนธรรม

หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14
166
เมื่อถูกดำเนินคดี
    คงต้องมีทนายความช่วยเหลือในการต่อสู้คดี  ทนายขอแรง  ก็มีประจำอยู่ในทุกศาล  ก็ติดต่อขอความช่วยเหลือได้...

167
คำถามของคุณ  NK...

สวัสดีค่ะมีเรื่องอยากจะสอบถามค่ะพอดีโดนฟ้องบัตรเครดิตตั้งแต่ปี2560แล้วเขาให้เราจ่ายงวดเดือนละ1500บาทต่อเดือนภายใน36งวดแต่สองปีแรกเราไม่ได้จ่ายเขาเลยเราต้องทำยังไงค่ะหรือว่าเราไม่จ่ายจะมีผลอย่างไรมั้ย

   ตอบ...การผิดนัดตามสัญญาประนีประนอม  เจ้าหนี้  อาจขอให้มีการบังคับคดี  โดยการยึดทรัพย์ไปขายทอดตลาดเพื่อใช้หนี้ได้  แต่ถ้าไม่มีทรัพย์สินใดๆ  เจ้าหนี้ ก็คงทำอะไรไม่ได้  ที่จริงไม่อยากตอบปัญหาแบบนี้   คือเป็นหนี้ต้องหาทางชดใช้  แม้กฎหมายจะเอื้อมมือ ทำอะไรไม่ได้ แต่ ย่อมเสียเครดิตในสังคม  ชีวิตย่อมไม่สงบสุข  มีเรื่ิองต้องค้างคาใจตลอดไป  ถ้าคิดว่า ช่างมันฉันไม่แคร์ ก็แล้วจะใช้วิจารณญาณเอาเอง ครับ

168
นายจ้าง/ลูกจ้าง

  การส่งตัวไปบำบัด  ต้องผ่านการคัดกรอง  และเป็นคำสั่งของศาล  นายจ้างคงสั่งเองไม่ได้....ถ้าให้พักงาน  ก็คือการเลิกจ้าง  นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย ตาม ม.118 ( พรบ.คุ้มครองแรงงานฯ)  นายจ้างอาจจะหาเหตุไม่จ่ายค่าชดเชย ตาม ม.119...ส่วนการกล่าวหา  ถ้าไม่มีความผิด  ก็เป็นการละเมิด  คงต้องนำคดีสู่การพิจารณาของศาลแรงงาน...

169
ใบรับรองการทำงาน

   "เมื่อการจ้างแรงงานสุดสิ้นลงแล้ว  ลูกจ้างชอบจะได้รับใบสำคัญแสดงว่าลูกจ้างนั้นได้ทำงานมานานเท่าไรและงานที่ทำนั้นเป็นงานอย่างไร"(ปพพ. ม.585)

       กฎหมายก็ไม่ได้กำหนดเงื่อนไขของเวลาไว้...ถ้าตามข้อเท็จจริงลูกจ้างเคยทำงานที่บริษัทจริง  ก็ควรออกใบสำคัญนี้ให้  โดยยึดหลักความเมตตาเป็นสำคัญ  ถ้าไม่ออกให้  อาจมีการร้องเรียนหรือฟ้องนร้อง  ทำให้เสียเครดิตของบริษัทโดยไม่จำเป็น  ด้วยความปรารถนาดี ครับ

170
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: ยาเสพติต
« เมื่อ: มกราคม 20, 2020, 03:06:10 am »
เรื่องดุลพินิจของศาล  คงตอบไม่ได้...

171
ค่าทำงานในวันหยุด
  นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้าง ในวันหยุดตามประเพณี ตาม  พรบ.คุ้มครองแรงงานฯ ม.56(2)

172
เจ็บป่วยจากการทำงาน
  ต้องใช้เงินจากกองทุนทดแทน...

173
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: ยาเสพติต
« เมื่อ: มกราคม 09, 2020, 12:59:03 am »
การขอปล่อยตัวชั่วคราว

  หลักประกันน่าจะประมาณ  200,000  บาท  ควรสอบถามเจ้าหน้าที่โดยตรง  ถ้ามีปัญหาเรื่องเงินประกัน  ก็มีช่องทางขอความช่วยเหลือ  จากกองทุนยุติธรรม  ในจังหวัดนั้นๆได้...เรื่องการจำคุก เป็นดุลพินิจของศาล คงตอบชัดเจนไม่ได้.. ถ้าทำผิดจริง ก็ควรรรับสารภาพ  ย่อมมีเหตุบรรเทาโทษ...

174
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: หลักทรัพย์
« เมื่อ: มกราคม 04, 2020, 03:30:33 am »
ลักทรัพย์
 ก็แจ้งข้อหาลักทรัพย์...ตำรวจคงออกหมายเรียก หรือ หมายจับ...  ส่วนพ่อแม่ของเขาคงไม่ต้องร่วมรับผิด  ถ้าไม่มีส่วนรู้เห็นในการกระทำความผิดด้วย...

175
การจ้างงาน
   สัญญาจ้าง 1 ปี  เมื่อเลิกจ้าง นายจ้างจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย   ส่วนการทำงานหลังจากครบ 1 ปี เป็นการจ้างที่ไม่มีกำหนดเวลาแน่นอน  ถ้าจะเลิกจ้าง ต้องบอกล่วงหน้า 1 เดือน...

176
การเลิกจ้าง

  ก็เข้าข่ายการถูกเลิกจ้าง โดยไม่มีความผิด ตาม ม.119  นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย 180 วัน  ตาม ม.118 (3) ถ้าไม่จ่ายฯ ก็ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานตรวจแรงงาน ในท้องที่ ที่ที่ทำงาน...

177
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: คุณป้าอายุ60
« เมื่อ: ธันวาคม 30, 2019, 02:36:01 pm »
คดียาเสพติด
  ถ้าถูกตั้งข้อหาครอบครอง  เพื่อจำหน่าย คงมีโทษจำคุก 4-15 ปี ปรับ 80,000  - 300,000  บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตาม พรบ.ยาเสพติดฯ ม. 66 วรรค 1 การรับสารภาพย่อมเป็นเหตุบรรเทาโทษ  อาจจะ...ไม่ถูกจำคุกก็ได้ .....(เป็นดุลพินิจของศาลเท่านั้น)

178
เชื่อคนง่าย

  ในเมื่อไปทำสัญญากู้ยืมเงินจากธนาคาร  ก็มีหน้าที่ต้องผ่อนใช้หนี้  ถ้าไม่ใช้หนี้  คงถูกฟ้อง และถูกบังคับคดี โดยการยึดทรัพย์ไปขายทอดตลาดได้...เรื่องถูกหลอก  ก็ยกเป็นข้อต่อสู้ได้  แต่น่าจะไม่หลุดพ้นจากการต้องใช้หนี้  เพราะไปสมัครใจทำสัญญาเอง....เรื่องจะดำเนินคดีกับคนหลอก   ก็พอมีช่องทางทำได้  แต่คงต้องมีทนายช่วยเหลือ...และหนทางค่อนข้างยากเย็น

179
ค่าชดเชย

   ถ้า...ถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ก็จะได้รับเงินชดเชย 90 วัน  ถ้านายจ้างไม่จ่ายฯ  ก็ต้องยื่นคำร้องต่อ พนักงานตรวจแรงงานแห่งท้องที่ที่ทำงาน...

180
การพิจารณาคดี....

  ถ้าถูกตั้งข้อหาครอบครองเพื่อจำหน่าย  ถ้าปริมาณสารบริสุทธิ์ไม่เกิน 20 กรัม จะมีโทษจำคุก  4 ปี ถึงจำคุกตลอดชีวิต ปรับ 400,000  -5,000,000  บาท ตาม พรบ.ยาเสพติดฯ ม.66 วรรค 2 ในเมื่อมีอัตรโทษสูง  แม้รับสารภาพ  คงต้องมีการสืบพยานก่อน  คงพิพากษาคดีในวันเดียวไม่ได้...ต้องมีการสืบพยานอีกหลายครั้ง...

หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14