07/05/24 - 09:51 am


แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - ทนายพร

หน้า: 1 ... 35 36 [37] 38 39 ... 50
541
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: การเลิกจ้าง
« เมื่อ: กันยายน 09, 2017, 02:31:24 am »
ต้องขออภัยที่ทนายเข้ามาตอบช้านะครับ...อิอิ ออกตัวๆ 555

ถามมาหลายประเด็น เอาเป็นว่า ทนายตอบให้ทุกประเด็นตามที่ถามเลย ดังนี้

ประเด็นที่ ๑ ถามว่า "อยากสอบถามเกี่ยวกับการเลิกจ้างค่ะ ว่าถ้านายจ้างที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการให้บริการด้านโทรทัศน์ แจ้งว่ามีแผนการยุติการรับส่งสัญญาณในระบบอนาล็อก ตามนโยบายและที่ได้รับอนุมัติจาก กสทช จึงมีความจำเป็นต้องเลิกจ้างพนักงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการในระบบอนาล็อก  แบบนี้ถือเป็นการเลิกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 121 ไหมคะ"
 
ทนายก็ขอตอบว่า กรณีเช่นนี้ถ้าพิจารณาแล้วอาจจะก้ำกึ่งว่าจะเป็นการเลิกจ้างตามมาตรา ๑๒๑  ซึ่งหากจะเข้ามาตรา ๑๒๑ ชัดๆก็จะต้องการเป็นการนำเครื่องจักรหรือเทคโนโลยีเข้ามาทำแทนมนุษย์ เช่น เดิมเป็นพนักงานเชื่อมเหล็กตัวถึงรถยนต์ ต่อมาบริษัทได้นำเอาหุ่นยนต์เชื่อมเหล็กอัตโนมัติมาทำงานแทนพนักงานคนดังกล่าว อย่างนี้จึงจะเข้าองค์ประกอบตามมาตรา ๑๒๑ ครับ แต่กรณีที่ถามมาก็เป็นการนำ “เทคโนโลยี” เข้ามาแทน (นำระบบดิจิตอลมาแทนอนาล็อค) ก็เป็นประเด็นที่น่าสนใจและเท่าที่สืบค้นฎีกาก็ยังไม่เคยมีแนวคำพิพากษามาก่อนครับ แต่ก็มีใกล้เคียงคือแนวคำพิพากษาฏีกาที่  ๕๗๓๖/๒๕๔๘ และ ๗๖๘๓-๗๖๙๓/๒๕๔๘ แต่ก็เป็นคนละกรณีกับที่ถามมาครับ
 
คำถามประเด็นที่สอง ถามมาว่า "ที่ว่านายจ้างปรับปรุงหน่วยงาน กระบวนการผลิต การจําหน่าย หรือการบริการ อันเนื่องมาจากการนําเครื่องจักรมาใช้ หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักร หรือเทคโนโลยี ซึ่งเป็นเหตุให้ต้องลดจํานวนลูกจ้าง เพราะนายจ้างบอกว่าการเลิกจ้างครั้งนี้ไม่เข้ากับ มาตรา 121 จะจ่ายเงินชดเชยให้แค่ 10 เดือน"

ทนายวิเคราะห์แล้วมีคำตอบว่า ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่น่าสนใจครับ แต่แนวโน้มในความเห็นของทนายอาจจะเข้าตามมาตรา ๑๒๑ ครับ เพราะเป็นการเปลี่ยน “เทคโนโลยี” ซึ่งหากจะให้ยุติคงต้องให้ศาลแรงงานพิจารณาครับเพราะประเด็นนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายครับ

ถามในประเด็นสุดท้ายว่า "ถ้าธุรกิจของนายจ้างยังมีกำไรอยู่ การเลิกจ้างพนักงานแบบนี้ ถือเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมไหมคะ เพราะนายจ้างไม่ได้แค่ลดจำนวนลูกจ้าง แต่เลิกจ้างพนักงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด และนายจ้างก็ไม่เคยทำอะไรที่แสดงออกถึงการช่วยเหลือพนักงานอย่างการพยายามหาตำแหน่งอื่นให้ หรือมีโครงการเกษียณก่อนกำหนด เพื่อเกลี่ยพนักงานมาก่อนเลย และเมื่อตอนต้นปีก็ยังรับพนักงานใหม่ในส่วนนี้เพิ่ม  แต่พอกลางปีอยู่ๆ ก็จะเลิกจ้างพนักงานในส่วนนี้ทั้งหมดเลยค่ะ"

ทนายก็ตอบว่า ก็อาจจะไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตาม วิ.แรงงาน มาตรา ๔๙ หากมีการเลิกจ้างพนักงานทั้งแผนก แต่อาจจะเป็นการเลิกจ้างตามมาตรา ๑๒๑ แทน แต่หากเป็นการเลิกจ้างพนักงานเพียงบางคนโดยลักษณะเป็นการเลือกปฎิบัติกรณีอย่างนี้ก็จะเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมครับ

น่าสนใจครับเครสนี้

ทนายพร


542
คำตอบเป็นไปตามคุณมโนธรรม อธิบายไว้เลยครับ
ทนายพร

543
เป็นที่น่าเสียดายเลยครับกรณีนี้ ทนายเคยบอกไว้ในเว็บไซด์นี้หลายครั้งว่า หากอยากจะเรียกร้องสิทธิตามกฎหมายแรงงาน ก็อย่างไปหลงเซ็นต์เอกสารอะไรง่ายๆ ให้ถามผู้รู้ เพื่อจะได้เป็นการรักษาสิทธิของตนเอง

ซึ่งจากคำถาม อ่านแต่ต้น ตอบได้เลยว่าหากเรื่องถึงโรงถึงศาลคุณมีโอกาสชนะคดีสูงทีเดียว สั่งเหล้าให-ไก่คู่ ไว้รอได้เลย

แต่คดีมาพลัก

ตรงที่คุณผู้ถาม ไป "เซ็นต์ใบลาออก" นี่แหละ มันเป็นปัญหา

เพราะการที่เราไปเซ็นต์ใบลาออก ก็หมายความว่า เราสมัครใจและเป็นฝ่ายที่ไปขอเลิกนิติสัมพันธ์ตามสัญญาจ้างกับบริษัทนั่นเอง
เมื่อฝ่ายเราเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้างเอง จึงไม่มีสิทธิไปเรียกร้องค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ มาตรา ๑๑๘ หรือแม้แต่สิทธิตาม พรบ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.๒๕๒๒ มาตรา ๔๙ (เลิกจ้างไม่เป็นธรรม)

สรุปคือ เครสนี้ยากแล้วครับ เว้นแต่ บริษัทจะมีหนังสือเลิกจ้าง

ทนายพร

544
ถามแทนแฟนมาว่าแฟนโดนจับคดีมียาไอซ์ไว้ในครอบครองโดยผิดกฎหมายมีน้ำหนัก0.15 กรัม ต้องจำคุกกี่ปี และต้องเสียค่าปรับเท่าไหร่?

อืมมม...ตอบให้ชัดๆตรงนี้ก็คือ ต้องโดนจำคุกแน่ๆครับ แต่ก็ยังมีโอกาสออกมาอยู่นะครับ แต่รับปากทนายได้มั๊ยว่า จะไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับมันอีก สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งที่ดีเลยครับ เมื่อเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับมันแล้วออกยากด้วยละครับเรื่องอย่างนี้

เอาละเมื่อเหตุมันเกิดแล้วก็ต้องว่าไปตามตัวบทกฎหมาย ซึ่งท่านมโนธรรมได้ให้คำตอบไว้ชัดเจนแล้วครับ

ส่วนท้ายที่สุดศาลจะลงโทษจำคุกกี่ปีนั้น ก็เป็นดุลพินิจของศาล โดยท่านจะดูว่า เป็นความผิดครั้งแรกหรือไม่ หรือเป็นผู้ทำผิดซ้ำซากไม่เข็ดหลาบ อย่างนี้ก็จะนานหน่อยครับ

รวมทั้งเรื่องค่าปรับก็จะเป็นดุลพินิจของศาลเช่นกันครับ แต่ที่แน่ๆ เตรียมตังค์ไว้เลย หากไม่มี ศาลก็จะทำการกักขังแทนค่าปรับ โดยกำหนดวันละ ๕๐๐ บาท ก็คิดคำนวณเอาครับ

ทนายพร



545
พี่พรรณี (ต้องเรียกพี่แล้วล่ะเพราะบอกอายุมา 5555)
พี่พรรณีถามว่า บริษัทกำหนดในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่าพ้นการเป็นพนักงานเพราะเหตุเกษียณอายุ เมื่ออายุครบ ๕๕ ปี แต่เมื่ออายุครบเกษียณแล้ว บริษัทก็ยังให้ทำงานต่อไป ทีนี้ พี่พรรณีไม่อยากจะทำงานต่อไปอีกแล้ว อยากได้เงินตามสิทธิที่กฎหมายกำหนดจะทำอย่างไร จะมีปัญหาอะไรมั๊ย?

ทนายก็ขอตอบว่า ปัญหานี้ไม่ยากครับ ง่ายๆเลย อยู่ที่เราจะเลือกละครับว่าอยากจะให้มันเป็นแบบใหน

แบบแรก ทำงานต่อไป นิติสัมพันธ์ความเป็นนายจ้าง-ลูกจ้างก็เดินต่อไป จนกว่านายจ้างไม่จ้างเราแล้ว เมื่อนั้น เราก็มีสิทธิได้รับเงินชดเชยตามกฎหมายครับ

แบบที่สอง ไม่อยากทำงานต่อไปอีกแล้ว  ก็ให้คุณทำหนังสือแจ้งนายจ้างไปว่า เราอายุครบเกษียณตามข้อบังคับแล้ว ขอให้บริษัทจ่ายเงินชดเชยตามกฎหมายให้กับเราซะ ถ้านายจ้างจ่ายให้ก็จบครับ แต่แบบนี้ต้องระวังหน่อยนะครับ อาจสร้างความโมโหโกธากับนายจ้างมิใช่น้อย ดังนั้น ในการทำหนังสือก็ให้เหตุผลไปด้วยว่าที่ไม่อยากทำงานอีกต่อไปเพราะนั่น นี่ โน้น อะไรก็ว่าไป และที่สำคัญหนังสือดังกล่าวต้องไม่ใช่ "หนังสือขอลาออก" นะครับ ไม่เช่นนั้น เราจะเสียสิทธิไปในทันทีครับ

แบบที่สาม  รอกฎหมายใหม่ พรบ.คุ้มครองแรงงาน แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ ๖ ครับ อันนี้นายจ้างต้องจ่ายแน่ เพราะกฎหมายบังคับให้ต้องจ่ายครับ

ให้ทางเลือกไปแล้ว อยู่ที่พี่พรรณีจะเป็นผู้เลือกแล้วละครับ ส่วนทนายก็ได้แต่แนะนำและตอบคำถามมิตรรักแฟนเว็บที่ถามมาทุกคำถามละครับ

แล้วพี่พรรณีก็อยากจะรู็ต่อไปอีกว่า..ค่าชดเชยฉันจะได้กี่บาท...เอาเป็นว่าทนายให้การบ้านไปดูกฎหมาย "พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ มาตรา ๑๑๘" ก็จะเป็นคำตอบครับ หรือถ้าจะให้ง่ายเข้า ก็ไปอ่านข้อความตอนท้ายของท่านมงคลเลยครับ

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร

546
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: กฏหมายแรงงาน
« เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2017, 01:37:22 am »
ถามมา ๒ บรรทัด แต่ตอบยาวแน่ เอาเป็นว่าเข้าเรื่องเลยนะครับ

ถามว่า นายจ้างส่งไปทำงานต่างประเทศ 5 ปี หลังจากย้ายกลับมาทำงานที่เดิม นายจ้างบอกจะจัดทำการว่าจ้างใหม่ ถามว่านายจ้างมีสิทธิ้ลดเงินเดือนกับผลประโยชน์ที่ได้รับหรือไม่

ก็ขอตอบแบบฟันทิ้ง เอ้ย..ฟันธงว่า ตามหลักกฎหมายแล้วจะลดเงินเดือนไม่ได้ เว้นแต่เราจะ "ยินยอม" ครับ ถ้าเรายอมอะไรก็ทำได้ทั้งหมดแหละครับ ถ้าเราไม่ยอมนายจ้างก็ไม่สามารถที่จะลดเงินเดือนเราได้ หากฝืนทำไป เราก็ไปใช้สิทธิผ่านช่องทางที่กฎหมายได้ให้สิทธิไว้ เช่น พนักงานตรวจแรงงาน (จ่ายจ่าจ้างไม่ครบ) หรือไปฟ้องศาล (เรียกค่าจ้างส่วนขาด) เป็นต้น

ถามต่อว่า ที่ต่างประเทศทำงาน 5 วันต่อสัปดาห์ ประเทศไทยทำงาน 6 วันต่อสัปดาห์ ต่างประเทศมีคนขับรถ และรถประจำตำแหน่งให้ ประเทศไทยไม่มี งดเบี้ยเลี้ยงและค่าที่พักยอมรับได้ แต่ลดเงินเดือนนี้ทำอย่างไรดี

ก็ต้องตอบว่า อยู่ที่ผู้ถามล่ะครับว่าจะเอาอย่างไรดี ถ้าคิดว่าพร้อมที่จะรับแรงกดดัน ก็อย่าไปยอมครับ สู้ไปตามช่องทางที่ได้แนะนำ โดยยื่นคำขาดต่อนายจ้างว่า ห้ามลดเงินเดือนของข้านะเฟ้ย ไม่งั้นได้เห็นดีกันแน่ ไปเจอกันที่ศาลอะไรประมาณนี้ หรือถ้ายังไม่พร้อมที่จะรับแรงกดดัน ก็ต้องไปพูดคุยกับนายจ้างให้เข้าใจ ว่าเราเห็นแก่บริษัทนะเนี๊ยะถึงยอมลดให้ แต่ว่าจำนวนที่ขอลดอ่ะ ไม่ต้องเยอะได้ป่ะ หรือมีระยะเวลาสั้นๆได้ป่ะนาย อะไรป่ะมาณนี้ ก็จะเป็นทางออกหนึ่งบนหลักแรงงานสัมพันธ์ครับ

ยินดีต้อนรับ ท่านมงคล ยางงาม นะครับ ทนายขอแนะนำเลยคนนี้เป็นผู้มีความรู้ด้านแรงงานอย่างเชี่ยวชาญเลยครับ ที่สำคัญเป็นทีมงานของทนายความของฝ่ายกฎหมายคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ด้วยครับ ว่างๆเข้ามาช่วยตอบคำถามก็จะดีมากเลยครับท่านมงคล

ทนายพร

547
นี่ก็เป็นปัญหาที่น่าหนักใจครับ จะไม่ให้ความร่วมมือก็จะถูกกล่าวหาว่าไม่เป็นแก่ประโยชน์สาธารณะ แต่ถ้ายอมๆไปก็จะเสียที่ดินไปมิใช่น้อย ทนายเข้าใจเลยครับ

เอาละถามมาเป็นข้อๆ ก็จะตอบเป็นข้อๆตามที่ถามเลยนะครับ ไปกันตามคำถามเลย

ถามในข้อแรกถาม ว่าในการที่  อ.บ.ต. จะดำเนินการโครงการขุดลอก และขยายลำคลองตามที่กว่ามาข้างต้นนั้น จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนอย่างไรบ้างครับ?

ตอบว่า หากหน่วยงานรัฐมีความประสงค์ที่จะเอาที่ดินของเอกชนไปใช้ประโยชน์สาธารณะตามโครงการต่างๆ ก็จะต้องดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอนตามที่กำหนดอย่างเคร่งครัดเพราะเป็นการใช้สิทธิที่ไปกระทบต่อประชาชน ซึ่งโดยทั่วไปจะมีวิธีการอยู่ ๒ วิธี คือ การจัดซื้อ หรือ การออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน (พ.ร.ฎ.) ซึ่งจะระบุท้องที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุดและความกว้างของเขต พ.ร.ฎ. ซึ่งวิธีการดังที่กล่าวมาข้างต้นนั้นมีกฎหมายกำกับอยู่ นั่นก็คือพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530  ท่านสามารถหาความรู้เพิ่มเติมครับ

คำถามข้อที่ ๒. ถามว่าการที่ อ.บ.ต. จะดำเนินโครงการ ซึ่งโครงการดังกล่าวจะก่อให้เกิดผลกระทบกับชาวบ้าน หรือบุคคลหนึ่ง บุคคลใด ทาง อ.บ.ต. จะต้องมีการจัดประชุม สอบถามข้อคิดเห็น และได้รับคำยินยอมจากผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงหรือไม่ครับ?

ตอบ ในหลักการคือหากกระทบกับผู้ใดก็ต้องได้รับความยินยอมจากผู้นั้นเสียก่อนจึงจะดำเนินการได้ครับ

ข้อที่ ๓. ถามว่า การที่ อ.บ.ต. ได้ดำเนินโครงการซึ่งมีผลกระทบกับชาวบ้าน หรือบุคคลหนึ่ง บุคคลใด โดยอ้างว่าเป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะ บุคคลที่ได้รับผลกระทบไม่ว่า จะเป็นหลายคน หรือแม้แต่ผู้ได้รับผลกระทบมีเพียงคนเดียว มีสิทธิในการที่จะร้องคัดค้าน เพื่อให้ระงับยังยั้งโครงการหรือไม่?

ตอบ เมื่อกระทบสิทธิของเรา เราก็มีสิทธิที่จะระงับยับยั้งโครงการดังกล่าวได้ โดยสามารถดำเนินการได้ทั้งทางแพ่ง,อาญาและทางปกครอง โดยหากเห็นว่า อบต.เข้ามาดำเนินการในที่ดินของเรา ก็ไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจข้อหาบุกรุก ทำให้เสียทรัพย์เอาไว้ก่อน แค่นี้ทนายว่า อบต.คงไม่กล้าที่จะดำเนินการต่อแล้ว หรือหาก อบต.มีหนังสือมาถึงเรากล่าวอ้างว่าเราได้ยินยอมแล้ว ดังนี้ต้องไปอาศัยช่องทางของศาลปกครอง ฟ้องเพิกถอนและขอคุ้มครองชั่วคราวไปในคราวเดียวกันก็ได้เช่นกันครับ


คำถามข้อที่ ๔. ถามว่าหากทาง อ.บ.ต. จะดำเนินการขุดลอก และขยายลำคลองจริง ผมในฐานะที่เป็นเจ้าของที่ ซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบ มีสิทธิที่จะเรียกร้องขอความเป็นธรรมได้ในช่องทางใดบ้างครับ

ตอบ..อ้าว..ลืมดูคำถามข้อ ๔ ทนายเลยตอบไปแล้วในข้อ ๓ ครับ...กลับไปอ่านเอานะครับ แต่คำแนะนำของท่านมโนธรรมก็เป็นข้อแนะนำที่ดีที่ให้ไปร้องศูนย์ดำรงธรรม ก็อาจได้รับการแก้ไขปัญหาที่รวดเร็วก็ได้นะครับ

หวังว่าคำตอบจะไขข้อข้องใจได้นะครับ ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร

548
อ่านปัญหาแล้วก็น่าปวดหัวอยู่นะครับ เพราะทนายเข้าใจว่า ผู้ที่สร้างบ้านอยู่อาศัย ไม่เป็นญาติของเรา ก็ต้องเป็นคนที่สนิทกับครอบครัวกับเราจริงๆ มิเช่นนั้นก็คงไม่ได้สิทธิพิเศษอยู่ในที่ดินอันมีค่าดังทองคำเช่นนี้

เอาล่ะ ถามมาก็ตอบไป

จริงๆ ตามหลักกฎหมาย กรรมสิทธิในที่ดินเป็นของผู้ใด ผู้นั้นชอบที่จะใช้สอยที่ดินนั้นได้ หมายความว่า จะทำอะไรกับที่ดินก็ได้ เช่น ปลูกละมุด ลำใย มะเฟือง มะไฟ มะกรูด มะนาว มะพร้าว สมโอ ฟักแฟง แตงโม ชัยโย โห่เฮ้ววว...เอ้ย เยอะไป..แต่ก็เป็นหลักการนี้ครับ รวมทั้ง การจะมอบอำนาจให้ผู้อื่นเข้ามาใช้ประโยชน์บนที่ดินของเราด้วย เช่นการให้เช่า การมอบกรรมสิทธิเหนือผืนดิน เช่น การให้ใช้ประโยชน์ การให้อยู่อาศัย เหมือนที่ท่านผู้ถามได้ถามมานี่แหละ

ดังนั้น เมื่อเป็นการให้สิทธิผู้อื่นเข้ามาใช้สอยบนที่ดิน ก็ต้องดูว่า สิทธิที่ว่า ครอบคลุมเนื้อหาเป็นแบบใด ชั่วคราว หรือตลอดไป ซึ่งในคำถามก็ไม่ได้บอกไว้ ก็เดาเอาว่าคงจะบอกกันปากเปล่า ไม่ได้ไปจดทะเบียนเป็นแน่แท้

หากเป็นเช่นนี้ เมื่อเเม่ได้โอนที่ดินเป็นของผู้ถามแล้ว ก็เป็นสิทธิของผู้ถามที่จะเข้าครอบครองและใช้ประโยชน์บนที่ดินนั้น หากไม่มีสัญญาผูกมัดกับผู้ที่ปลูกบ้านอาศัยอยู่ ก็ต้องทำหนังสือแจ้งไปว่า กรรมสิทธิในที่ดินได้เปลี่ยนมือแล้ว และเราไม่ประสงค์จะให้อยู่อาศัยอีกต่อไป ให้รื้อถอนออกไปในเวลาอันสมควร

แล้วไอ้เวลาที่สมควรมันนานมั๊ยอ่ะทนาย...อาจอยากจะถามต่อ...ไม่ต้องถามครับ...ตอบให้เลยว่า..กฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ เอาตามวิจารณญาณทั่วไป ตามที่เราจะเห็นสมควรหรือเอาง่ายๆ หากเป็นเราถูกให้รือบ้านเราอยากจะได้เวลาเท่าใด...ก็เท่านั้นแหละครับ..ใจเขาใจเรา

อ้าว..ถ้าบอกแล้วเค้าไม่ยอมรือถอนออกไปล่ะ

ก็ไม่ยาก ฟ้องต่อศาลเพื่อใช้อำนาจศาลไปบังคับให้เค้าต้องออกไปตามข้อแนะนำของท่านมโนธรรมเลย คดีอย่างนี้ศาลพิจารณาไม่ยาก

แต่ที่ยากคือยากจะทำใจขับไล่นี่แหละทนายว่านะ...จริงมะ

ทนายพร


549
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: ลากิจแต่ถูกไล่ออก
« เมื่อ: มิถุนายน 17, 2017, 01:56:29 am »
โห..ถามมาตั้งกะเดือนพฤษภาคมแระ..ทนายมัวไปใหนมา...
เอาน่าๆ ยังทันๆ...

ถามว่า ลากิจทางเมล์ แล้วโดนเลิกจ้าง แล้วจะทำงัย????

อืมม..ปัญหานี้ก็เกิดขึ้นบ่อยๆนะครับ โดยเฉพาะฝากเพื่อนลา , ลาทางไลน์ , ทางเมล์ อะไรประมาณนี้ ซึ่งหากไม่มีปัญหาก็ดีไป แต่ถ้าเจ้านายไม่ปลื้มก็จะเป็นเช่นนี้แหละครับ

อย่างนี้ครับ ก่อนอื่นต้องกลับไปดู "ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน" หมวด "การลา" ว่าได้กำหนดวิธีการลาไว้ว่าอย่างไร และเราได้ดำเนินการตามขั้นตอนนั้นหรือไม่ หากไม่ได้ทำก็ถือว่าผิดระเบียบการลาครับ ซึ่งก็มีโทษทางวินัย ซึ่งโทษก็จะกำหนดไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอีกเหมือนกัน

แต่ตอนนี้ถูกให้ออกจากงานแล้ว จะทำงัย?  ทนายแนะนำหน่อยยยยย....

อืมมม...หลังจากนั่งกุมขมับแล้ว  ก่อนที่ทนายจะตอบ ทนายมีคำถามว่า..ไอ้ที่ผ่านๆมาลากันทางเมล์ได้มั๊ย? ปกติหัวหน้าตอบกลับทางเมล์มั๊ยว่าอนุมัติหรือไม่อนุมัติ เพราะเรื่องนี้เป็นสาระสำคัญของคดีครับ

หากตอบว่า ปกติก็ลาอย่างนี้ ...โอกาสสูงที่จะชนะคดีครับ เพราะจะถือว่าเป็นประเพณีปฎิบัติ

แต่ถ้าตอบว่า นี่เป็นครั้งแรกครับ...อืมม..อันนี้ โอกาสชนะก็ไม่มากครับ เพราะโดยปกติ การลากิจต้องได้รับอนุมัติก่อนจึงจะลาได้ หากไปโดยยังไม่ได้รับอนุญาตก็จะเป็นการขาดงานซึ่งหากติดต่อกันสามวันก็เป็นเหตุให้นายจ้างเลิกจ้างได้นะครับ แต่จะมีข้อยกเว้นว่า หากการขาดงานนั้นเป็นกิจธุระอันจำเป็นไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เช่น คนในครอบครัวป่วยหนักต้องไปดูแล หรือไปงานศพคนในครอบครัว อย่างนี้เป็นต้น นายจ้างจะเลิกจ้างไม่ได้ครับ แต่ถ้าไปงานบวช งานแต่งเพื่อน อย่างนี้ ไม่รอดครับ

เอาเป็นว่า ข้อแนะนำคือ...ถ้าอยากลุ้น ก็ไปฟ้องศาลแรงงานครับ เมื่อเข้าสู่กระบวนการไกล่ก็พิจารณาเอาตามสถานการณ์เผื่อนายจ้างจะให้มาซักแสนสองแสนก็เอาไว้ก่อนครับดีกว่าไม่ได้อะไรเลย

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร

550
ก่อนอื่นต้องขอแสดงความยินดีด้วยนะครับ ที่จะได้ทายาทไว้สืบสกุล ก็ขอให้สุขภาพดีทั้งแม่และลูกนะครับ

ตอบตามที่ถามเลยนะครับ

ตามพระราชบัญญัตคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ มาตรา ๔๑ ให้สิทธิผู้หญิงลาคลอดได้ครรภ์หนึ่งไม่เกิน ๙๐ วัน เมื่อได้แจ้งขอลาหยุดแล้วบริษัทอนุญาติให้หยุดได้วันใดก็นับแต่วันนั้นเป็นต้นไปก็ไม่ต้องไปทำงานอีก เพราะกฎหมายมุ่งที่จะคุ้มครองแม่และเด็กให้ได้รับความปลอดภัย เพราะหากฝืนไปทำงานอาจจะกระทบกระเที่อนทั้งลูกและแม่ได้ล่ะครับ

เอาล่ะ เท่าที่เล่ามา เข้าใจว่า น่าจะเป็นงานด้านเอกสาร ถ้าตอบตามกฎหมายแบบเป๊ะๆ คุณก็ไม่ต้องไปทำครับ แต่ก็อย่างว่าล่ะครับ ตราบใดที่คุณยังต้องทำงานอยู่กับเค้า การที่จะปฎิเสธไม่ไปทำก็จะถูกมองว่าไม่ทุ่มเท ไม่รักบริษัท อะไรเที่อกนั้นไป เมื่อกลับไปทำงานหลังคลอดล่ะที่นี้งานจะงอกล่ะครับ

เอาเป็นว่า ทนายขอแนะนำว่า หากยังพอไปไหวก็ไปทำให้แต่ไม่ใช่ให้ไปทำทั้งวัน แบบไปสอนงานอะไรประมาณนี้ แต่ไม่ใช่ไปลงมือทำเอง หรือถ้าสามารถที่จะยกงานมาหาคุณที่บ้านได้ ก็ให้ยกมา แล้วก็แก้ไขงานไป ก็จะเป็นการดีทั้งสองฝ่าย ดีซะอีก เจ้านายจะได้มองว่า คุณรักบริษัทมากมาย ขนาดตั้งครรภ์ยังทำงานจนคลอด อาจส่งผลต่อการปรับเงินเดือนในรอบหน้าก็ได้นะครับจริงไป

รักษาสุขภาพนะครับ

ทนายพร



551
ถามสั้นๆว่า แฟนโดนจับยาบ้า หรือ แมทแอมเฟตามีน ๓๗๒ เม็ด ติดคุกกี่ปี

ก่อนอื่นก็ให้กำลังใจครับ พลาดพลังมาแล้วก็เริ่มต้นใหม่นะครับ ถึงแม้ว่าโอกาสจะน้อยนิด แต่คุณยังอยู่ภายนอกก็อย่าได้ไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดเลยนะครับ เพราะเรื่องเหล่านี้เค้าว่ากันว่าเข้าง่ายแต่ออกยากครับ

ก่อนอื่นต้องดูก่อนว่า ๓๗๒ เม็ดนั้น นำไปกลั่นเป็นสารบริสุทธิ์ได้กี่กรัม เพราะเดี๋ยวนี้พ่อค้ายาบ้าก็หัวหมอละครับ ไส่แป้งเยอะๆจนยาบ้ากลายเป็นยาแป้งก็มีเยอะไปครับ ลงทุนไม่กี่สตางค์แต่ขายหลายร้อย(มั๊ง) เมื่อได้แล้วก็มาปรับโทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒
 
ซึ่งกรณีของคุณ เอาเป็นว่าถ้าไม่เกิน ๑๐๐ กรัม จำคุก ๕ปี ถึงตลอดชีวิต และปรับ ๕๐๐๐๐-๕๐๐,๐๐๐ บาท (ม.๖๖วรรค ๑)
หากเกิน ๑๐๐ กรัม จำคุกตลอดชีวิต หรือประหารชีวิต (ม.๖๖ วรรค ๒)

ทนายพร

552
มาแว้ว มาแว้ววว..ทนายมารายงานตัวแล้ว หลังจากหายหน้าหายตาไปซะหลายวัน...เอาเป็นว่า วันนี้จะมาตอบคำถามทุกคำถามที่ค้างคาเลยนะครับ (ออกตัวๆ)

ถามว่า โดนฟ้องเงินกู้บัตรเครดิต แต่ไม่มีเงินจ่าย ต้องทำอย่างไร?

อืมมม...คำถามนี้เชื่อว่าเป็นคำถามยอดฮิตของมนุษย์เงินเดือนละครับ อาจจะไม่ใช่แค่บัตรเครดิดอย่างเดียว คงมีบัตรกดเงินสด บัตรผ่อนสินค้า รวมถึงการผ่อนชำระบ้าน รถ และอีกจิปะถะให้ได้เป็นหนี้ล่ะครับ เอาละ มาว่ากันเลยว่าต้องทำอย่างไร

อย่างแรก ..อ่านคำฟ้องของโจทก์ให้เข้าใจว่า เค้าฟ้องเอาอะไรบ้าง เช่น , เงินต้น,ดอกเบี้ย,เบี้ยปรับ, และฯลฯ ดูแล้วมันสมเหตุสมผลมั๊ย
อย่างที่สอง..มีข้อต่อสู้อย่างไร สู้ได้หรือไม่ได้ ซึ่งก็จะมีเรื่องอายุความ (กระซิบบอกก็ได้และเรื่องนี้ก็ชนะคดีอยู่เนืองๆนะครับ คือ หนี้บัตรเครดิต อายุความ ๒ ปี , บัตรกดเงินสด ๕ ปี ผ่อนรถผ่อนบ้าน, กูเงินตามสัญญาเงินกู้ ๑๐ ปี..รู้ยังๆ) เรื่องดอกเบี้ย , เรื่องเบี้ยปรับ ดูซิว่าจะพอมีหนทางสู้ได้มั๊ย อาจจะต้องปรึกษาผู้รู้ซักหน่อยล่ะครับ
อย่างที่สาม..ไปศาลตามนัด เมื่อไปถึง ก็ถามทนายโจทก์ไปเลยว่า  "ลดได้เท่าใหร่"  อัยยะ..หลายท่านอาจสงสัย ไม่ใช่ซื้อขายผักปลานะเฟ้ยทนาย ต่อรองกันได้ด้วยรึ..ทนายก็ตอบว่า ต่อได้แน่นอนครับ เพราะโดยปกติบริษัทไฟแนนท์หรือธนาคารก็จะมี "ยอด" ในใจอยู่แล้ว ส่วนใหญ่ก็ ๗๐-๘๐ เปอร์เซ็นต์ของยอดฟ้อง ต่อเลยอย่าอาย ท่านจะได้ยอดที่น่าสนใจเลยทีเดียว

หลังจากได้ยอดแล้ว ท่านก็มานั่งคิดคำนวนและประเมินว่าจะชำระหนี้ได้มั๊ย? หากได้ ก็ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ หากไม่ได้ ก็ให้ศาลพิพากษาไป ซึ่งทั้งสองทางมีทั้งข้อดีและข้อเสียครับ

ข้อดีของการทำสัญญาประนีประนอมยอมความก็คือ หากสามารถชำระหนี้ได้ ก็จะทำให้หนี้นั้นเข้าสู่ระบบและมีโอกาสหมดหนี้ได้ ด้วยการแบ่งชำระเป็นงวดๆ แต่ข้อเสียคือ หากคุณผิดนัดชำระหนี้งวดใดงวดหนึ่ง เค้าก็จะบังคับคดีด้วยการยิดทรัพย์สินของคุณขายทอดตลาด

ส่วนข้อดีของการให้ศาลพิพากษา ก็คือ ศาลอาจจะพิพากษาให้น้อยกว่าที่โจทก์ฟ้องก็เป็นได้ เนื่องจากศาลจะมองว่า คุณได้เสียดอกเบี้ยไปมากน้อยขนาดใหนแล้ว ส่วนเบี้ยปรับ , ค่าติดตามอะไรพวกนี้ ศาลก็จะปรับลดให้ครับ ส่วนข้อเสียกคือ เมื่อศาลตัดสินแล้ว คุณต้องชำระหนี้เป็นก้อนใหญ่ละครับ หากครบกำหนด ๓๐ วันนับแต่วันพิพากษา โจทก์ก็จะตั้งเจ้าพนักงานบังคัดคดี ยึดทรัพย์สินขายทอดตลาด นำเงินมาชำระหนี้ต่อไป

กรณีของคุณ เสี่ยงครับหากไม่ไปศาล เพราะคุณมีทรัพย์สินคือ คอนโดและรถเก๋ง ถึงจะเก่า เจ้าหนี้ก็ยึดนำไปขายทอดตลาดได้หมดแหละครับ แนะนำให้ไปเจรจาครับ

ส่วนความกังวลว่าจะติดคุกมั๊ยนั้น...ทนายขอตอบว่า ไม่ติดแน่นอนครับ เว้นแต่คุณจะไปต่อยทนายที่ศาลครับ...ล้อเล่นครับ..อิอิ

เนี๊ยะเป็นงี้แหละทนาย..ถามสั้นๆ แต่ตอบยาววววววววว

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร


553
ถามมาหลายวันแระ..ทนายพึ่งจะมีเวลามาตอบ...คงทันนะครับ

ก่อนอื่น ต้องดูข้อกฏหมายก่อน

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา  357  ผู้ใดช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำหรือรับไว้โดยประการใดซึ่งทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิด ถ้าความผิดนั้นเข้าลักษณะลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง ยักยอก หรือเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานรับของโจร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ดังนั้น ถ้าตีความ ก็คือ ไม่ว่าจะซื้อ จำนำ หรือรับไว้ด้วยประการใดๆ เช่น รับฝาก ฯลฯ ก็ถือว่าเข้าข่าย "รับของโจร" ได้เหมือนกัน หาก ที่มาของทรัพย์นั้น ได้มาโดยมิชอบ ก็ถือเป็นความผิดละครับ

แต่กลับกัน หากที่มา มาโดยถูกต้อง และมีการจำหน่าย จ่าย แจก หรือทำด้วยประการอื่นใด ก็จะไม่เป้นผิด เพราะเป็นการกระทำต่อทรัพย์ตามสิทธิของตนที่มีอยู่ครับ

แต่ประเด็นในข้อเท็จจริงนี้ คือ มีการฝากขาย แต่กลับนำไปจำนำ เมื่อได้เงินมาก็ไม่เอาไปให้เจ้าของกลับนำเอาไปใช้เอง เมื่อทวงถามก็บ่ายเบี่ยง กรณีอย่างนี้ จะเข้าองค์ประกอบตามประมวลกฎหมายอาญา   มาตรา  334  ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกพันบาท

ดังนั้น เมื่อที่มาไม่ชอบ แล้วคุณเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย โอกาสนี้จะพ้นผิดก็ยากอยู่นะครับ หากข้อเท็จจริงมีเพียงเท่าที่เล่ามานี้
เว้นแต่ คุณไม่รู้ว่าทรัพย์นั้นได้มาอย่างไร หรือรู้ว่าทรัพย์นั้นเป็นของคนที่นำมาจำนำ คุณก็อาจจะรอด และต้องต่อสู้เรื่องหลักสุจริตใจครับ

อย่างไรก็ตาม ก็คงต้องลุ้นว่าศาลจะประทับรับฟ้อง(คดีอาญา) ไว้พิจารณาหรือไม่ หากเห็นว่ามีมูลก็ไปแก้ข้อกล่าวหาด้วยข้ออ้างเรื่องสุจริตใจอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นละครับงานนี้
ส่วนคดีแพ่ง ถ้าอาญาไม่หลุด คดีแพ่งก็คงไม่รอดเหมือนกันครับ

และที่สำคัญ คดีอาญาประเภทนี้ ยอมความไม่ได้เสียด้วย..เรื่องใหญ่ครับ

แต่ก็ให้กำลังใจนะครับ

ทนายพร

554
ขออภัยที่ตอบช้า อาจไม่ทันใจแต่ทนายก็พยายามเข้ามาตอบนะครับ

ถามว่า บริษัทเลิกจ้างโดยกล่าวหาว่าเปิดเผยความลับ ทำให้บริษัทเสียหายอย่างร้ายแรง...

อย่างนี้ครับ

กรณีที่จะเป็นเรื่องร้ายแรงหรือไม่ร้ายแรงดูที่เจตนาและความเสียหาย และจากที่คุณเล่ามานั้น ก็เป็นเจตนาดี ที่ต้องการให้เกิดความถูกต้อง อีกทั้งการที่ใช้วีซ่านักท่องเที่ยวมาทำงานนั้นก็เป็นการผิดต่อกฎหมายไทย ดังนั้น ในเรื่องนี้ จะเป็นความเสียหายอย่างร้ายแรงหรือไม่นั้น ต้องอยู่ที่มุมมองคนที่ตีความข้อกฎหมายเหมือนกัน ประกอบกับคำถามว่า จำเป็นหรือไม่เพียงใดที่จะต้องบอกให้ลูกค้าทราบในเรื่องนี้? ถ้าจำเป็นก็ไม่ถือว่าเป็นความผิดร้ายแรง แต่ถ้ามีเจตนาไม่สุจริต และไม่มีความจำเป็นหรือไม่เกี่ยวข้องกันก็อาจจะมีความผิด ส่วนจะเป็นความผิดร้ายแรงถึงขั้นถูกเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยหรือไม่นั้น ก็อยู่ที่ศาลจะเป็นผู้ตัดสินครับ

แต่ความเห็นของทนายนั้น คุณก็มีโอกาสสูงอยู่นะครับ แนะนำให้ไปเขียนคำร้อง (คร.7 ) ที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในพื้นที่ หรือ ไปฟ้องต่อศาลครับ

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร

555
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: จะฟ้องภรรยาน้อย
« เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2017, 01:25:26 am »
ถามสั้นๆ แต่ก็เข้าใจได้ ซึ่งปัญหาทำนองนี้ ทนายเคยตอบไปแล้วหลายคำถาม แต่ไม่เป็นไรครับ ถามมาก็ตอบไป

ตามนี้เลยครับ

๑.ในเรื่องหลักฐานการเป็นชู้หรือคบชู้นั้น เพียงรูปถ่ายคู่กันนี่ยังมีข้อสงสัยอยู่เหมือนกันนะครับ และต้องดูด้วยว่ารูปนั้นถ่ายที่ใหน ลักษณะความสัมพันธ์เป็นอย่างไร แต่ถ้าได้รูปที่อยู่ในห้องนอนสองต่อสองหรือเข้าไปอยู่ในโรงแรม อย่างนี้ถือว่าชัดเจน ดังนั้น ในชั้นนี้ยังตอบไม่ได้ครับว่ารูปดังกล่าวนั้นจะใช้เป็นหลักฐานได้มากน้อยขนาดใหนครับ

๒.ส่วนที่ว่ามีสัญญาจ่ายเงินกันหนึ่งแสนแลกกับการยุติความสัมพันธ์ นั้น ถ้าถึงเวลาจริงๆก็มีข้อต่อสู้ได้นะครับว่าเป็นการจ่ายค่านั่น นี่ โน้น เว้นแต่ว่า ในสัญญาเขียนไว้ชัดเจนว่าเป็นการยุติความสัมพันธ์ฉันท์ชู้สาว กรณีอย่างนี้ก็ชัดเจนครับ ซึ่งทั้งข้อ ๑ และ ข้อ ๒ หากมีหลักฐานที่ชัดเจนก็สามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากหญิงที่มีความสัมพันธ์กับสามีเราได้ครับ แต่หลักกฎหมายก็คือ ต้องเป็นสามี-ภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมาย หรือจดทะเบียนสมรสกันเท่านั้นนะครับ ถ้าอยู่กินด้วยกันฉันท์สามี-ภรรยา กันแต่ไม่จดทะเบียน อย่างนี้ฟ้องไม่ได้ครับ

ให้กำลังใจครับ

ทนายพร

หน้า: 1 ... 35 36 [37] 38 39 ... 50