ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย => ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย => ข้อความที่เริ่มโดย: Prapapun ที่ มิถุนายน 24, 2021, 03:26:11 pm
-
บิดาเสียชีวิต โดยที่ยังไม่โอนมรดกให้ใคร มีพี่น้อง 3 คน โดยพี่ชายคนโต ได้ทำเรื่องทายาทรับมรดก โดยพี่ชาย ให้น้องๆ ทั้งหมด เซนต์เอกสาร ให้ตนเอง เป็นผู้รับมอบอำนาจเป็นผู้จัดการมรดก แล้วแจ้งว่าเมื่อเรื่องเรียบร้อยจะแบ่งให้พี่น้องทั้งหมดเท่าๆ กัน สรุปผ่านมา 9 ปีแล้ว ทางพี่ชายบ่ายเบี่ยงมาตลอด ว่าที่จะโดนเวรคืนบ้าง ขายไม่ได้ ติดนู้นติดนี่ จนล่าสุด ทราบว่าทางพี่ชายติดหนี้ มากมายหลายล้าน จนนำที่ไปจำนอง (จำนองถูกกฎหมาย สลักหลังที่ดินเรียบร้อย) และจะทำอย่างไร ได้บ้าง รู้สึกหมดหวังมาก เพราะราคาที่ไปจำนอง น่าจะโดนยึด ในเร็ววัน และส่วนที่พี่ชาย กินส่วนของน้องไปด้วยอาจจะไม่เหลือถึงน้องๆ เลย
-
การจัดการมรดก
ในเมื่อพี่ชาย เป็นผู้จัดการมรดก ผู้จัดการมรดก เป็นเพียงตัวแทนของเจ้ามรดก (บิดาที่เสียชีวิต) มีหน้าที่ต้องนำทรัพย์มรดกของบิดา มาแบ่งปันทายาท คือบุตรสามคน คนละเท่าๆกัน หรือตามที่ทายาททุกคนยินยอม การแบ่งปันมรดก ควรมีการแบ่งปันภายใน 1 ปี เพราะถ้าปล่อยไว้เนิ่นนาน จะมีปัญหาตามมามากมาย ดังกรณี นี้ ทำไม ทายาท(น้องๆ) จึงปล่อยปละละเลยให้วันเวลาล่วงเลยไปถึง 9 ปี....พี่ชายในฐานะผู้จัดการมรดก ก็สามารถนำที่ดินอันเป็นมรดก ไป จดทะเบียนจำนองเป็นประกัน เพื่อกู้ยืมเงืนได้ เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ จึงเป็นเรื่องใหญ่มากๆ เพราะถ้าทายาทรับโอนที่ดินมา ก็ต้องรับหนี้สินมาด้วย หรือถ้าจะไปไถ่จำนอง ก็คงเป็นเงินก้อนโตแน่นอน ก็ต้องใช้การเจรจากันระหว่าพี่น้องว่า จะหาทางออกอย่างไร จะไปให้พี่ชายไปไถ่จำนอง คงเป็นเรื่องยากเย็น เพราะจำนวนเงินคงสูงพอสมควร....กรณีนี้ ถือว่า ทายาท ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ที่ปล่อยเวลาผ่านไป ถึง 9 ปี เป็นเวลากว่า สามพันวัน ทำไมจึงนิ่งนอนไป ไม่แจ้งผู้จัดการมรดกให้แบ่งปันมรดก ถ้าไม่แบ่งปันมรดก ในเวลาอันควร ก็สามารถร้องศาลให้ถอดถอนผู้จัดการมรดก หรือให้ศาลแบ่งปันมรดกตามที่สิทธิของแต่ลคนได้ ไม่ได้มีเจตนาตำติเตียน แต่ติติงด้วยเจตนาดี เพื่อเป็นอุทาหรณ์ ผู้ประสบปัญหารายอื่นๆ ให้ตระหนัก ในการรักษาสิทธิของตน อย่าปล่อยวันเวลาให้เนิ่นนานเกินควร ด้วยความปรารถนาดี ครับ
-
ค่ะ ที่ปล่อยไว้ล่าช้า เพราะว่าหลังจากบิดาเสียได้ 1 เดือนกว่า น้องชายได้มีคดี ทำให้ติกคุกอยู่หลายปี ระหว่างนั้น เราก็ได้ทวงถาม ทางพี่ชายก็ให้รอน้องชายออกมาก่อนจะจัดการโอนให้ ซึ่ง ณ เวลานั้นทางเราก็ทำงานอยู่คนละจังหวัด ไม่ได้เจอกันทุกวัน ได้แต่โทรสอบถามว่าเป็นอย่างไร พี่ชายก็ได้บอกให้รอก่อน เราจะขอให้ใส่ชื่อเราไปในโฉนด ทางพี่ชายก็บอกให้รอ จนน้องชายออกจากคุก เรื่องถึงรู้ว่าโฉนดถูกจำนองไป แต่ด้วยน้องชายยอมพี่ชาย ก็เลยไม่ได้ว่าอะไร ส่วนเราทางพี่ชายจะหาเงินมาใช้คืนให้บ้าง แต่ทุกวันนี้ ยังมองไม่เห็นทางว่าทางพี่ชายจะหาเงินมาทางไหน
-
อ่านแล้วก็เห็นใจครับ...
เอาเป็นว่า ประการแรกให้ดูหลังโฉนดว่า จำนองในฐานะใด?...
ในฐานะผู้จัดการมรดก หรือในฐานะส่วนตนของพี่ชาย?
ถ้าในฐานะผู้จัดการมรดก ก็ยังมีทางออก โดยให้ไปยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อถอดถอนผู้จัดการมรดก อาจสงสัยแล้วที่ทำนิติกรรมไปแล้วจะเพิกถอนได้มั๊ย ก็อธิบายว่า ในการแก้ปัญหาก็ต้องแก้ทีละเปลาะ เมื่อทำในฐานะผู้จัดการมรดก ก็ต้องแจ้งศาลว่าผู้จัดการมรดกไม่มีการประชุมทายาทเพื่อแบ่ง แต่กระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ให้เพิกถอนการจำนองนั้น ซึ่งเรื่องนี้ต้องมานั่งคุยกันครับ เพราะมีขั้นตอนมากและยากพอสมควร ซึ่งกฎหมายก็คุ้มครองบุคคลภายนอกที่กระทำโดยสุจริต หรือรับจำนองโดยสุจริต หากบุคคลภายนอกร่วมมือกับพี่ชายโดยรู้อยู่ว่าเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายก็จะทำให้นิติกรรมดังกล่าวเป็นโมฆะ
แต่ถ้าทำในนามส่วนตนของพี่ชาย อันนี้ง่ายหน่อย เพราะสามารถยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อถอดถอนพี่ชายจากผู้จัดการมรดก และฟ้องเพิกถอนนิติกรรมนั้น ว่าเป็นการกระทำโดยมิชอบได้
เอาเป็นว่า หากมีหลังโฉนดส่งมาให้ทนายดูทางอีเมล์ก็ได้นะครับ เดี๋ยววิเคราะห์ให้ครับ
ให้กำลังใจครับ
ทนายพร.