04/05/24 - 06:00 am


แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - ทนายพร

หน้า: 1 ... 25 26 [27] 28 29 ... 50
391
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: ช้วยผมทีคับ
« เมื่อ: กันยายน 21, 2019, 03:04:43 am »
อ่านแล้วก็ งงๆ ในคำอธิบาย

คืออย่างนี้ครับ ปกติคดียาเสพติด ในชั้นคุ้มครองสิทธิฯ ศาลจะถามว่าเราประสงค์จะฟืนฟูหรือไม่ ถ้าเราตกลง ศาลก็จะสั่งให้ฟื้นฟู แต่ถ้าเราติดนั้นโน่น นี่ก็แจ้งให้ศาลทราบ ซึ่งศาลก็จะใช้วิธีอื่นแทนการฟื้นฟู

ส่วนที่บอกว่าต้องไปฟื้นฟูเป็นเวลา ๔ เดือนนั้น ทนายว่านานไปนะครับ

ส่วนที่บอกว่าคนอื่นแค่ไปตรวจฉี่ที่ รพ.อย่างเดียวตามที่เราเข้าใจนั้น คงไม่ใช่ล่ะครับ เพราะก่อนที่จะเหลือตรวจฉี่อย่างเดียวนั้น จะต้องผ่านกระบวนการฟื้นฟูก่อนครับ เมื่อครบกำหนดแล้วจึงจะเหลือเพียงตรวจฉี โดยปกติจะใช้เวลาฟื้นฟูประมาณ ๑๔ วัน ถึง ๑ เดือน เท่านั้นนะครับ แต่ถ้าใช้ระยะเวลาฟื้นฟูมากกว่านั้นอาจเป็นได้ว่าระยะเวลาเพียง ๑ เดือนอาจจะไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก็เป็นได้ครับ

คงจะครบถ้วนสำหรับคำอธิบายนะครับ หากสงสัยก็โทรมาถามเพื่มเติมได้นะครับ

ทนายพร.

392
ถามมาว่าจะติดคุกกี่ปี

อืมมม....ทนายไม่ได้เป็นผู้พิพากษาที่ตัดสินคดีนี้ด้วยซิครับ คงตอบไม่ได้ แต่ในฐานะที่ทำคดียาเสพติดและแนวคำพิพากษาศาลฏีกา (หรือเรียกว่าคดียี่ต้อก) ศาลมักจะลงโทษตามฐานความผิด ปกติศาลจะลงโทษกระทงละ ๔ ปี รับสารภาพลดโทษให้กึ่งนึงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๗๘ คงเหลือ จำคุก ๒ ปี ส่วนจะติดจริงหรือรอลงอาญานั้น อยู่ที่พฤติการณ์ในแต่ละคดี และเทคนิคของทนายความที่ทำคดีให้นะครับ

ซึ่งเหตุที่จะบรรเทาโทษนั้น เช่น ผู้กระทำความผิดเป็นผู้โฉดเขลาเบาปัญญาตกอยู่ในความทุกข์อย่างสาหัส มีคุณความดีมาแต่ก่อน รู้สึกความผิดและพยายามบรรเทาผลร้ายแห่งความผิดนั้น ลุแก่โทษต่อเจ้าพนักงานหรือให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา หรือเหตุอื่นที่ศาลเห็นว่ามีลักษณะทำนองเดียวกัน เป็นต้น

ให้กำลังใจครับ

ทนายพร.

393
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: ค้ำประกันกู้กยศ
« เมื่อ: กันยายน 21, 2019, 02:48:50 am »
การค้ำประกันคือการสมัครใจเอาตนเข้าประกันหนี้ของบุคคลอื่นและเป็นเรื่องที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก ยิ่งถ้าเป็นเพื่อนกันมาขอให้เราค้ำประกันด้วยแล้ว อาจเสียเพื่อนก็ได้หากเราปฎิเสธ แต่ถ้าเราใจอ่อนค้ำประกันให้ทีนี้แหละ นอนไม่หลับล่ะครับ ต้องลุ้นทุกเดือนว่าเพื่อนเราจะเบี้ยวหนี้หรือไม่ ถ้าเบี้ยวก็งานงอกล่ะครับ เฉกเช่นคำถามในเครสนี้

เอาเป็นว่า คุณสามารถไปจ่ายหนี้เฉพาะส่วนก่อนที่คุณไปค้ำได้ครับ ไม่ต้องใจดีจ่ายในก้อนที่คุณไม่ได้ค้ำนะครับ เพราะศาลได้แยกสัดส่วนของผู็ค้ำแต่ละคนแล้ว

รีบไปติดต่อเจ้าหนี้หรือเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าขอปรับปรุงโครงสร้างหนี้หรือทำสัญญาประนีประนอมที่บังคับคดีโดยด่วนครับ เพื่อขอระงับการขายทอดตลาด มิเช่นนั้น อาจจะโดนขายทอดตลาดทรัพย์สินเราได้ครับ

ให้กำลังใจครับ

ทนายพร.

394
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: สอบถามข้อกฏหมาย
« เมื่อ: กันยายน 21, 2019, 02:42:38 am »
อืมม....ปกติหากใครเป็นบิดา ก็มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องดูแลส่งเสียให้การศึกษาแก่บุตร หากบิดาละเลยไม่ทำหน้าที่ก็สามารถใช้มาตราการทางกฎหมายในการบังคับได้ หรือหากบิดาคนนั้นไม่รับว่าเป็นบุตร ก็ใช้มาตราการทางกฎหมายบังคับให้เป็นบุตร-บิดา ได้เช่นเดียวกัน เมื่อศาลสั่งว่าเป็นบุตรก็มีหน้าที่ตามกฎหมายดังที่ได้อธิบายไว้ข้างต้น

ส่วนที่ถามว่าเรียกร้องอะไรได้บ้าง ก็ตอบว่าเรียกร้องได้ในส่วนของค่าส่งเสียเลี้ยงดูละครับ ยิ่งมีบริษัทอยู่ที่เมืองไทยนี่ง่ายเลยครับ ฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งได้ครับ

ส่วนประเด็นการยับยังวีซ่าของชาวต่างชาตินี่ ไม่แน่ใจว่า ผู้ถามประสงค์จะให้ทนายตอบเกี่ยวกับระงับวีซ่าไม่ให้เข้าประเทศหรือไม่ให้ออกประเทศไทยครับ ซึ่งในเรื่องการระงับวีซ่านี้ ถ้าจะให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องจริงๆให้ถามที่สถานฑูตของประเทศนั้นๆ ก็จะได้ข้อมูลที่ครบถ้วนครับ

ขอให้โชคดีนะครับ

ทนายพร.

395
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: โดนคดีเสพ ครั้งแรก
« เมื่อ: กันยายน 21, 2019, 02:34:58 am »
จะประกันตัวได้หรือไม่ได้นั้น อยู่ที่ดุลพินิจของศาลนะครับ ซึ่งโดยปกติ การประกันตัวเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน หมายความว่าจำเลยหรือผู้ต้องหามีสิทธิที่จะประกันตัวเพื่อต่อสู้คดี ส่วนการไม่ให้ประกันตัวนั้นเป็นข้อยกเว้น

ซึ่งกรณีที่ศาลจะสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัวเพราะเหตุ
๑. ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะหลบหนี
๒. ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไปยุ่งเกี่ยวกับหลักฐาน
๓. ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น
๔. ผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกันไม่น่าเชื่อถือ
๕. การอนุญาตให้ประกันจะเป็นอุปสรรคหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสืบสวนของเจ้าพนักงาน หรือการดำเนินคดีในศาล

และที่ถามว่าใครมีสิทธิยื่นขอประกันตัวได้บ้าง?
๑. พ่อแม่ ลูก คู่สมรส ญาติ นายจ้างฯ
๒. ผู้ต่องหาหรือจำเลย
ซึ่งคู่สมรสหมายถึงคู่สมรสที่ถูกต้องตามกฎหมายนะครับ

ให้กำลังใจครับ

ทนายพร.


396
อ่านแล้วก็ปวดใจกับเทคโนโลยี่ในสมัยนี้ ที่บางครั้งทำอะไรไปอาจจะดังข้ามคืนหากทำดีหรือทำไม่ดี หากโดยถ่ายคลิปแล้วนำไปลงในสื่อโชเชียลอ่ะนะครับ

ส่วนที่ถามว่าจะโดนจับมั๊ย ข้อหาอะไร?

ก็ตอบว่า หากตำรวจเห็น ก็คงโดนจับแน่ครับ แต่อย่าพึ่งกัลวลใจไป จะเครียดเปล่าๆ เพราะถ้ามีหลักฐานแค่เสพไอซ์ ก็จะโดนข้อหาแค่เสพ พอไปถึงศาลก็รับสารภาพว่าเสพจริง ศาลก็จะพิจารณาลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๗๘ และหากมีคุณงามความดี ศาลก็ปราณีรอการลงโทษไว้ก็เป็นได้ครับ ทั้งนี้ก็อยู่ที่ดุลพินิจของศาลครับ

ทนายพร.

397
ถามว่าผิดมั๊ย ก็คงต้องดูที่เจตนาเป็นสำคัญเพราะเรื่องประเภทนี้เป็นความผิดอาญา ซึ่งองค์ประกอบของการกระทำความผิดอาญานั้นศาลจะพิจารณาจากองค์ประกอบภายใน คือสำนึกหรือรู้สำนึกว่าจะทำอะไร หากไม่รู้ก็ถือว่าขาดเจตนา เว้นแต่กฎหมายจะกำหนดว่าถึงแม้ไม่เจตนาก็มีความผิด เช่น การขับรถชนคนตายโดยประมาท อย่างนี้เป็นต้น

เอาเป็นว่า อย่าพึ่งกังวลใจไปเลยครับ คงไม่เกิดอะไรขึ้นหรอก หรือหากเกิดขึ้นจริงๆค่อยนำรูปดังกล่าวมาปรึกษาทนายอีกครั้งนะครับ

ทนายพร.

398
ต้องพิจารณาว่า ถนนเส้นนั้น ใครมีหน้าที่รับผิดชอบ และมีความจำเป็นต้องติดตั้งกระจกโค้งหรือไม่

อย่างไรก็ตาม กฎหมายก็ไม่ได้กำหนดว่าจะต้องติดตั้งกระจกโค้งตามทางโค้งโดยทั่วไปนะครับ 

เพราะกระจกโค้งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในจุดมุมอับสายตา แต่มิใช่อุปกรณ์ที่ต้องถูกบังคับโดยกฎหมายให้ติดตั้งนะครับ

ทนายพร.

399
สำหรับผู้สนใจเรียนกฎหมาย ทนายแนะนำว่า การตั้งกระทู้ถามเช่นนี้ มันจะไม่ "คลิ๊ก" ในสมองนะครับ เพราะไม่เกิดจากการคนคว้า ดังนั้น การเรียนกฎหมายคือการค้นคว้าและตีความ ซึ่งจะมีความยากเพราะต้องทำความเข้าใจให้ลึกซึ่ง ซึ่งสิ่งที่จะบอกได้ว่าที่เราเข้าใจนั้นถูกต้องหรือไม่ ก็คือแนวคำพิพากษาศาลฏีกา ครับ

ดังนั้น คำถามนี้ จะไม่ตอบในที่นี้ แต่ขอให้สืบค้นคำพิพากษาศาลฏีกา โดยมุ่งเป้าไปที่ ป.พ.พ. ม.๑๐๓๗ เลย เพราะทนายสืบค้นแล้วมีหลายคำพิพากษาอยู่ครับที่สามารถตอบคำถามได้

และอีกช่องทางหนึ่งก็คือ ถามอาจารย์ที่สอนวิชานี้แหละครับ ก็จะได้รับคำอธิบายที่เข้าใจง่ายที่สุด

หรือถ้าหาไม่เจอจริงๆ ก็บอกมานะครับ เดี๋ยวตอบให้ เรื่องเล็กๆ..

พยายามหน่อยนะครับ...ให้กำลังใจ..สู้สู้ ;)

ทนายพร.

400
ถามสั้นๆ แต่เต็มไปด้วยข้อกฎหมาย และเป็นคำถามที่ดีครับ

ก่อนอื่น การที่จะดูว่าเป็นสัญญาจ้างแรงงานหรือจ้างทำของ ต้องพิจารณาจาก "อำนาจบังคับบัญชา" เป็นสำคัญ หากมีอำนาจบังคับบัญชาผู้จ่ายเงินจะเรียก "นายจ้าง" ตามสัญญาจ้างแรงงาน แต่ถ้าไม่มีอำนาจบังคับบัญชาและจ่ายเงินเมื่องานเสร็จ ผู้จ่ายเงินจะเรียกว่า "ผู้ว่าจ้าง" ตามสัญญาจ้างทำของนั้นเอง

นอกจากนี้ กฎหมายแรงงานยังห้ามมิให้นายจ้าง จ้างเด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ปีทำงานนะครับ และเป็นข้อห้ามเด็ดขาด ฝ่าฝืนมีความผิด เพราะกฎหมายมุ่งหมายให้เด็กอายุขนาดนี้ซึ่งอยู่ในวัยเรียนได้มีเวลาตั้งใจเรียนอย่างเต็มที่ จึงได้บัญญัติห้ามไว้ เว้นแต่ถ้าเกิน ๑๕ ปีขึ้นไป ก็อนุโลมให้ทำงานได้ แต่ต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อน

ส่วนที่ถามว่า นางแบบอายุไม่เกิน ๑๕ ปี ทำงานได้โดยอาศัยข้อยกเว้นของกฎหมายใด?

ก็อธิบายว่า กรณีนางแบบ มิใช่สัญญาจ้างแรงงาน จึงไม่ต้องอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน แต่อยู่ภายในนิติกรรม- สัญญา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชน์ โดยทั่วๆไป หากสัญญานั้นไม่ขัดต่อกฎหมาย หรือขนบธรรมเนียมประเพณี ก็สามารถบังคับได้  ด้วยเหตุนี้ ในการจ้างนางแบบ จึงเป็นการสัญญาจ้างทำของมิใช่สัญญาจ้างแรงงานนั่นเองครับ

ทนายพร.

401
คำถามนี้น่าสนใจตรง นายจ้างยังไม่จ่ายเงินเดือนนี้แหละ เพราะค่าจ้างหากนายจ้างไม่จ่ายโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร กฎหมายให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปี และเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ ๑๕ ทุกระยะ ๗ วัน ตามมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ (เช่น ค้างจ่ายค่าจ้าง ๑๐,๐๐๐.- บาท เมื่อล่วงพ้นไป ๗ วัน จะได้เงินเพิ่ม ๑,๕๐๐.- บาท หากไม่จ่ายเมื่อล่วงพ้นไป ๑ เดือน เราก็จะได้เงินเพิ่มรวม ๖,๐๐๐.- บาท เป็นต้น)

ดังนั้น สิ่งที่ให้ทำตอนนี้ คือ รอเวลาให้นายจ้างโอนเงินค่าจ้างและเงินอื่นๆให้เราเอง ไม่ต้องทวงแล้วครับ และอยู่ที่เราว่าพร้อมจะเรียกร้องเมื่อใหร่ อาจรอให้ผ่านไปซัก ๒-๓ เดือนแล้วค่อยฟ้องต่อศาลก็ยังได้ครับ

ไม่ยากครับ คดีนี้

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร.

402
อัยยะ อ่านคำถามและคำอธิบายแล้วก็มีความรู้สึกว่าโลกนี้ช่างอยู่ยากขึ้นทุกวัน.

มีด้วยหรา...นายจ้างเอาใบลาออกมาให้เซ็นต์ เมื่อไม่เซ็นต์ นายจ้างจะพาไปศาลแรงงานซะงั้น...

เอาเป็นว่า ดีแล้วครับที่คุณไม่เซ็นต์ เพราะถ้าคุณใจอ่อนยอมเซ็นต์เมื่อใหร่ สิทธิต่างๆของคุณไม่ว่าค่าชดเชย สินจ้าง หรือสิทธิอื่นๆก็จะหายวับไปทันทีที่คุณจดปากกาเซ็นต์ และทนายก็ขอฝากไว้กับผู้ติดตามเว็บไซด์นี้ว่า ถ้าเราไม่ประสงค์จะลาออกก็ห้ามเซ็นต์ใบลาออกโดยเด็ดขาดนะครับ

ส่วนที่ถาม ว่าควรไปฟ้องศาลมั๊ย?

ก็ตอบว่า ถ้าไปฟ้องเรื่องถูกลดค่าจ้าง/สวัสดิการ หรือฟ้องเพิกถอนใบเตือน ก็ฟ้องได้ครับ แต่ถ้าฟ้องแล้วก็ต้องรับแรงกดดันให้ได้นะครับ เพราะนายจ้างมักจะหาทางกลั่นแกล้งเราแน่ๆฐานตั้งตนเป็นศตรู

แต่ถ้าฟ้องเรื่องเลิกจ้าง กันนี้ยังฟ้องไม่ได้นะครับ จนกว่านายจ้างจะเลิกจ้างเราเสียก่อน จึงจะฟ้องได้

เอาเป็นว่าให้กำลังใจนะครับ และหากสงสัยหรือมีคำถามอื่นก็สามารถโทรสอบถามได้นะครับ

ทนายพร.

403

คำถามสรุปว่า เดิมทำสัญญาจ้างแบบมีกำหนดระยะเวลา ต่อมาไม่ได้เซ็นต์สัญญาแบบระบุระยะเวลา หลังจากทำงานมาแล้ว ๔ ปี ต่อมาเข้าปีที่ ๖ ถูกเลิกจ้าง โดยบอกกล่าวล่วงหน้าไม่ถึง ๓๐ วัน ไม่จ่ายค่าชดเชย ถามว่าจะฟ้องได้มั๊ย นายจ้างผิดมั๊ย จะชนะมั๊ย? ประมาณนี้

ทนายก็ตอบว่า กรณีนี้ถือว่าเป็นลูกจ้างแบบไม่กำหนดระยะเวลา เมื่อไม่กำหนดระยะเวลากัน หากนายจ้างจะเลิกจ้างต้องมีการบอกกล่าวล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๑ งวดการจ่ายค่าจ้าง ตามมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญํติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑  (ไม่ใช่ ๓๐ วันนะครับ) ดังนั้น การที่จะบอกได้ว่าบอกกล่าวล่วงหน้าถูกต้องหรือไม่ ต้องอธิบายมาว่า ปกติจ่ายค่าจ้างกันวันที่เท่าใด และนายจ้างบอกเลิกจ้างวันที่เท่าใด ทนายจึงจะตอบได้ว่า นายจ้างมีการบอกกล่าวล่วงหน้าถูกต้องหรือไม่ อย่างไร

ส่วนที่ถามว่ามีสิทธิได้รับค่าชดเชยหรือไม่ ฟ้องศาลได้มั๊ย? ก็ตอบว่า มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามอายุงานที่กำหนดไว้ในมาตรา ๑๑๘ ครับ และแน่นอนว่าในการเรียกร้องสิทธินี้สามารถฟ้องศาลได้ หรือถ้าไม่อยากไปศาลก็ไปยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในพื้นที่ที่บริษัทตั้งอยู่ก็ได้ครับ จะได้ไม่ต้องเสียค่าทนาย เสียดายตังค์แทนครับ

ส่วนที่ถามว่าจะชนะคดีมั๊ย..อืมมมม...ทนายก็ไม่ใช่ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนี้ด้วยซิ  เอาเป็นว่าถ้าได้เป็นผู้พิพากษาแล้วจะมาตอบให้นะครับ เพราะผู้ที่จะตอบได้คือผู้พิพากษาครับ แต่ถ้าในความเห็นของทนาย คดีนี้รูปคดีของคุณสวยมากครับ..อิอิ

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร.

404
อ่านแล้วก็ งงๆ นิดหน่อยครับ ว่ามาทำงานแต่ให้คนอื่นลงชื่อทำงานให้..ที่ งง ก็คือ แล้วเวลาที่ลงอ่ะ ลงเวลาอะไร? คนที่ลงชื่อให้เป็นใคร? เป็นผู้มีสิทธิที่จะลงเวลาหรือสามารถลงเวลาให้เราได้หรือไม่?

ซึ่งคำถามพวกนี้เป็นหลักสำคัญในการวินิจฉัยในเบื้องต้นว่าการกระทำของเรานั้นผิดหรือไม่ผิด หรือผิดร้ายแรงเพียงใด

ดังนั้น อย่างแรก อยากให้ไปดู "ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน" ของบริษัทว่า เข้าองค์ประกอบของฐานความผิดวินัยและการลงโทษหรือไม่

ดูว่าการมาสาย , การลงชื่อแทนกัน มีความผิดหรือไม่ หากไม่มีกำหนดไว้ก็ไม่ผิด แต่ถ้ามีว่าให้พนักงานมาลงชื่อด้วยตนเอง อันนี้งานก็เข้าล่ะครับ

ส่วนข้ออ้างว่า เลิกงานช้า ก็ไม่เคยคิดโอทีเลย อันนี้อ้างไม่ได้นะครับ เพราะในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกำหนดเวลาทำงานเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดไว้ เราก็ทำงานไปตามนั้น หากเราทำงานเกินไปก็เป็นความสมัครใจของเราเอง เว้นแต่นายจ้างจะเป็นผู้แจ้งเราให้ทำงานล่วงเวลา และเรายินยอมทำงานล่วงเวลา กรณีอย่างนี้ จึงถือว่าเรามีสิทธิได้รับเงินค่าล่วงเวลาครับ

ยังงัยลองดูข้อบังคับฯแล้วขยายความคำถามมาใหม่นะครับ หรือถ้ายังสงสัยก็โทรสอบถามได้ครับ

ทนายพร.

405
มีคำที่จะได้ยินเกี่ยวกับโทษทางอาญาอยู่หลายคำ เช่น นับโทษต่อ เพิ่มโทษ รอการลงโทษ รอการกำหนดโทษ คุมประพฤติ อะไรประมาณนี้ ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดคือข้อกำหนดของกฎหมายในการมาควบคุมผู้กระทำผิดในทางอาญาครับ

ส่วนที่ศาลจะเพิ่มโทษนั้นมีหลักตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๒ ว่า "ผู้ใดต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกถ้าและได้ กระทำความผิดใดๆ อีก ในระหว่างที่ยังจะต้องรับโทษอยู่ก็ดี ภายใน เวลาห้าปีนับแต่วันพ้นโทษก็ดี หากศาลจะพิพากษาลงโทษครั้งหลัง ถึงจำคุกก็ให้เพิ่มโทษที่จะลงแก่ผู้นั้นหนึ่งในสามของโทษ ที่ศาลกำหนด สำหรับความผิดครั้งหลัง"

ดังนั้น กรณีนี้ศาลจะไม่เพิ่มโทษครับ เพราะเกินกว่า ๕ ปีแล้ว แต่จะไม่รอการลงโทษ ฐานทำผิดซ้ำซากไม่หลาบจำครับ

ให้กำลังใจครับ

ทนายพร.

หน้า: 1 ... 25 26 [27] 28 29 ... 50