04/05/24 - 08:35 am


แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - ทนายพร

หน้า: 1 ... 26 27 [28] 29 30 ... 50
406
ปกติ กฎหมายห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา เว้นแต่ลูกจ้างจะยินยอมเป็นคราวๆไป แต่ข้อเท็จจริงก็คือ ลูกจ้างมักจะขอทำงานล่วงเวลา เพราะถ้าไม่ทำก็จะพอจะกิน อะไรประมาณนี้

เอาเป็นว่า หลักกฎหมายคือ ถ้าเราทำงานก็ย่อมได้รับค่าจ้าง ค่าล่วงเวลาก็เช่นกัน!

ดังนั้น นายจ้างจะมาเรียกค่าล่วงเวลาคืนไม่ได้ เว้นแต่ เราไม่ได้ทำงานล่วงเวลา แต่ไปหลอกลวงนายจ้างว่าเราทำงานล่วงเวลาและนายจ้างหลงจ่ายเงินมาให้เราเพราะเข้าใจว่าเราทำงานล่วงเวลาจริง ถ้าเป็นกรณีนี้ บอกได้เลยว่า "งานงอก" เพราะนอกจากนายจ้างจะมีสิทธิเรียกคืนแล้วอาจมีความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ มีโทษถึงขั้นเลิกจ้างโดยไม่ได้อะไรเลยล่ะครับ...

ทนายพร.

407
ถ้ายืนยันว่ามีการเซ็นต์สัญญา แต่ไม่ได้สำเนาสัญญามา เวลาต้องสืบพยานก็ให้ทนายขอให้ศาลออกหมายเรียกมาได้ครับ ไม่ยากๆ

ทนายพร.

408
คาดหมายใจว่าจะได้งานที่่ใหม่ที่ดีกว่าเก่า หลังจากลาออกจากที่เก่าแล้วที่ใหม่กับบิดพลิ้วยกเลิกสัญญาซะงั้น ทำงัยดี

เอาเป็นว่า ถ้ามีการเซ็นต์สัญญา หรือจะไม่เซ็นต์สัญญาแต่ยืนยันได้ว่ามีการตกลงว่าจ้างกันแล้ว เหลือเพียงการใช้แรงกายในการเริ่มทำงาน กรณีอย่างนี้ถือว่าเป็นการตัดโอกาสในการทำงานของเราครับ สามารถเรียกค่าเสียหายได้ แต่จะไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยนะครับ แต่ค่าเสียหายจะได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับว่าเดิมเราได้ค่าจ้างเท่าใหร่ ที่ใหม่เท่าใหร่ เสียหายมากมั๊ย ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลนี้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีครับ

ให้กำลังใจนะครับ

ทนายพร.

409
ตามกฎหมายแล้ว ในการเป็นนายจ้าง-ลูกจ้างกันนั้น ไม่จำเป็นต้องทำสัญญากันเป็นหนังสือ แม้ด้วยวาจา ถ้าคำเสนอและคำสนองตรงกัน ก็ถือว่าเป็นการจ้างงานที่สมบูรณ์แล้ว

แต่เมื่อมีสัญญาจ้างต่อกันเพื่อกำหนดเงื่อนไข หรือเรียกในทางกฎหมายว่า สภาพการจ้าง หากไม่ขัดต่อกฎหมายและศิลธรรมอันดีของประชาชนก็เป็นไปตามนั้น เว้นแต่ข้อตกลงดังกล่าวลูกจ้างเสียเปรียบเกินไปก็บังคับได้เท่าที่เป็นธรรม

นอกจากนี้กฎหมายกำหนดสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดไว้ในมาตรา ๑๑๘ วรรคสามและวรรคท้ายไว้ว่าต้องไม่เกิน ๒ ปีครับ

ส่วนคำถามที่ถามว่า ขอลาออกแล้วนายจ้างไม่อนุมัติจะทำอย่างไรดี?

ต้องทำความเข้าใจก่อนนะครับว่า ผู้ที่มีสิทธิขอยุติสัญญาจ้างก็คือตัวลูกจ้างและตัวนายจ้าง ซึ่งลูกจ้างขอยุติสัญญา เรียกว่า "ลาออก" หากนายจ้างขอยุติสัญญาเรียกว่า "ไล่ออก" หรือเรียกอย่างอื่นในทำนองเดียวกันเช่นเกษียณอายุเป็นต้น ซึ่งเป็นสิทธิเสมอกันของทั้งสองฝ่าย และกฎหมายก็ไม่ได้กำหนดว่า กรณีขอลาออก จะต้องได้รับการอนุมัติก่อน ไม่มีนะครับ

ถ้าลูกจ้างประสงค์จะลาออกก็ทำหนังสือหรือแจ้งอย่างเป็นทางการ (ควรมีหลักฐาน) ว่าไม่ประสงค์จะทำงานกับบริษัทอีกแล้ว แล้วก็ทำการส่งมอบงานให้เรียบร้อย แล้วก็เดินออกมาเลยครับ ไม่ต้องรอว่านายจ้างจะอนุมัติหรือไม่ เพียงแต่ว่า ถ้าเราไปเซ็นต์สัญญาว่าจะแจ้งการลาออกก่อน ๓๐ วัน หากเราออกก่อนแล้วนายจ้างเสียหาย กรณีอย่างนี้ นายจ้างสามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายได้ ส่วนจะฟ้องได้เท่าไหร่นั้น ต้องดูว่าความเสียหายมีมากน้อยเพียงใดและเป็นหน้าที่ของนายจ้างที่จะต้องสืบให้ได้ถึงความเสียหายนั้น  แต่ถ้าสืบไม่ถึงศาลก็ยกฟ้องครับ

สรุปว่า ถ้าอยากออกก็ออกเถอะครับ และดูเงินเดือนกับตำแหน่งแล้ว ทนายเห็นว่า ภาระงานกับค่าตอบแทนยังไม่สมเหตุผลครับ

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร.

410
อ่านเรื่องราวแล้วก็น่าเห็นใจครับ

และก็เชื่อว่าในสังคมนี้ยังมีคนที่ตกอยู่ในสถานการณ์เช่นนี้อีกมาก อยู่ที่จิตใจว่าใครจะทนได้มากน้อยเพียงใด

และผู้ถามก็อยู่ในภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก ไม่รู้จะดำเนินชีวิตต่อไปอย่างไร ทำงานก็ไม่มีความสุข ลาออกก็ไม่ได้อะไร จนเกิดภาวะเครียดจากการทำงานประมาณนี้ แล้วถามว่า "ดิฉันสามารถฟ้องหรืออะไรได้ไหมคะที่มีการประกาศหาคนใหม่มา หรือสามารถทำยังไงได้บ้างคะ เพราะที่บริษัทไม่ค่อยเลิกจ้าง ใช้วิธีบีบออกมาหลายคนแล้ว?"

ก็ตอบว่า แค่การประกาศหาคนใหม่นี้ยังไม่สามารถฟ้องได้ครับ แต่ขอให้คุณเก็บประกาศนี้ไว้เป็นหลักฐาน และขอให้อดทนต่อไปถ้ายังประสงค์จะทำงานอยู่ ทำงานตามหน้าที่ และก็ไม่จำเป็นต้องมาก่อนและเลิกงานทีหลังเจ้านาย แต่ขอให้มาทำงานตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือตามสัญญาจ้างที่เราไปเซ็นต์ไว้ ฉะนั้น ช่วงนี้ให้คุณหาข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและสัญญาจ้างมาศึกษา เพื่อจะได้ไม่ทำผิดกฎระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง

และก็ห้ามเซ็นต์ใบลาออกโดยเด็ดขาด หากอยาก "ไปต่อ"

แต่ถ้าทนแรงกดดันไม่ไหว ก็ไปหางานใหม่ดีกว่ามั๊ยครับ ถ้าต้องรับความกดดันถึงขนาดส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเรา และทนายเชื่อมั่นว่า ทุกวิกฤติย่อมมีโอกาสเสมอ คุณอาจเจอนายจ้างใหม่ที่ใจดี ทำงานแล้วสบายใจ และจะมานึกเสียใจภายหลังว่าทำไมไม่ออกตั้งนานแล้ว ประมาณนี้

ให้กำลังใจนะครับ

ทนายพร.

411
ถ้าเป็นแค่กดดันเพื่อให้เราเซ็นต์ใบลาออก เพียงเท่านี้คงยังทำอะไรไม่ได้ ทำได้คือทำใจตั้งหน้าตั้งตาทำงานต่อไป

และขอย้ำเตือนว่า หากเราไม่อยากลาออก ก็ห้ามเซ็นต์ใบลาออกโดยเด็ดขาด ไม่ว่าจะโดนกดดันอย่างไรก็ตาม เพราะถ้าท่านไปเซ็นต์ใบลาออก ท่านจะไม่ได้ไปต่อ!

เข้าใจนะครับ

ทนายพร.

412
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: ผมผิดเปล่าแบบนี้
« เมื่อ: สิงหาคม 22, 2019, 03:12:03 am »
แหมๆๆๆ...ทนายอยากเจอจังเลยครับนายจ้างแบบนี้

จะข่มขู่ลูกจ้างอะไรนักหนา ทำผิดสัญญาแล้วยังจะใช้อำนาจในทางที่ไม่ถูกต้องอีก

เอาเป็นว่า คุณทำถูกแล้วครับ

และขอบอกไว้ ณ ที่นี้เลยนะครับว่า กรณีที่นายจ้างเบี้ยวไม่จ่ายค่าจ้างหรือเงินค่าชดเชยภายใน ๓ วัน ๗ วัน เวลาจะเขียนคำร้อง (คร.๗) ก็ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ไปด้วยว่า ต้องการเรียกร้องเงินเพิ่มตามมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ ด้วย เพราะกฎหมายกำหนดเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ ๑๕ ทุกระยะ ๗ วัน เช่น หากค้างจ่ายค่าจ้าง ๑ หมื่นบาทโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร จะต้องเสียเงินเพิ่มอีก ๑,๕๐๐.- บาท ทุกระยะ ๗ วัน หมายความว่าถ้าค้างจ่าย ๑ เดือน ก็ ๔ สัปดาห์ คุณก็จะได้เพิ่มอีก ๖ พันบาท รวม ๑๖,๐๐๐.- บาท เป็นต้น

ให้กำลังใจครับ

ทนายพร.

413
ก่อนอื่นเมื่อได้หนังสือก็อ่านซะก่อนครับว่ามีเงื่อนไขอย่างไร

ถ้าอ่านแล้วมีลับลมคมในก็ไม่ต้องเซ็นต์ครับ หรือถ้าไม่สบายใจก็ไม่ต้องเซ็นต์ครับ

กรณีที่สิ้นสุดสัญญาจะต้องดูสัญญาให้ดีนะครับ ว่าเป็นสัญญาที่กำหนดระยะเวลาที่แน่นอนจริงๆหรือไม่ อย่างไรก็ตามถ้าทำงานมาเกินกว่า ๓ ปี ตามกฎหมายก็ถือว่าเข้าเงื่อนไขที่มีสิทธิจะได้รับเงินชดเชยครับ แต่ถ้าเป็นสัญญาจ้างที่ระบุระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดไว้แน่นอนและไม่เกิน ๒ ปี กรณีเช่นนี้จะไม่ได้ค่าชดเชยตามมาตรา ๑๑๘ วรรคท้ายครับ

ทนายพร.

414
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: คดียาเสพติด
« เมื่อ: สิงหาคม 21, 2019, 04:39:58 am »
เป็นอีกหนึ่งคำถามเกี่ยวกับยาเสพติด

เอาเป็นว่า ถ้าทำจริง ก็รับสารภาพไปครับ เพราะจะได้รับการปราณีต่อศาล

อนึ่ง ในคำรับสารภาพก็ให้ทนายเขียนคำให้การจำเลยสวยๆหน่อยนะครับ อาทิเช่น ความดีที่เคยทำมา ภาระความรับผิดชอบ  ความสำนึกผิด ขอโอกาสกลับตัวเป็นพลเมืองดี อะไรเทือกนี้ เพื่อให้ศาลปราณี ก็จะเป็นผลดีกับแฟนคุณนะครับ

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร.

415
เป็นคำถามที่ถามซ้ำ แต่ได้อธิบายเพิ่มเติม สรุปว่าฟ้องศาลแล้ว

และศาลจะตัดสินในวันที่ ๑๒ กันยายน ศกนี้

ก็ขอให้ชนะคดีนะครับ และเชื่อมั่นว่ากระบวนการยุติธรรมจะมีความยุติธรรมเสมอครับ

และจงเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมว่าจะสามารถให้ความยุติธรรมกับเราได้ครับ

ขอให้โชคดีนะครับ

ทนายพร.

416
ทนายคงตอบไม่ได้ว่าทำไมถึงชนะคดี และที่สำคัญอัยการเป็นฝ่ายฟ้อง แสดงว่าเป็นคดีอาญาแผ่นดินเป็นแน่แท้ มิใช่คดีที่ราษฎรฟ้องร้องกันเรื่องครอบครัวแล้วละครับ

อย่างนี้คงต้องดูคำฟ้องของอัยการและคำพิพากษาของศาลที่ท่านพิจารณาจากพยานหลักฐานในสำนวน

เอาเป็นว่าอย่าพึ่งสรุปว่า คนรวย หรือรู้จักกับอัยการ / ผู้พิพากษา จะชนะคดีทุกรายไป คงต้องดูรูปคดีเป็นเรื่องๆไปครับ

ยังงัยถ้ามีเวลารบกวนโทรมาเล่าให้ทนายฟังก็จะดีนะครับ จะได้รู้ว่าฟ้องกันเรื่องอะไร ทำไมอัยการจึงเข้ามาในคดีด้วย น่าสนใจครับๆ

ทนายพร.

417
อ่านแล้วสรุปได้ว่า ทำงานไม่ครบปี (แต่ไม่บอกว่าทำมากี่วัน / กี่เดือน) บริษัทบอกเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยและเงินอื่นๆ อ้างว่าทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย แต่ลูกจ้าง(ผู้ถาม) ก็โต้แย้งว่าไม่เคยทำความเสียหายใดๆ เว้นแต่วันสุดท้ายขาดงานไปครึ่งวัน แล้วถามว่า การเลิกจ้างของนายจ้างถือว่าเป็นธรรมหรือไม่? (น่าจะประมาณนี้มั๊ง..ฮา)

ถ้าเป็นคำถามตามข้างบน ก็ตอบแบบฟันธงว่า เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมแน่นอน แต่ทั้งนี้ต้องแน่ใจว่าเราไม่ได้กระทำความผิดใดๆนะครับ ซึ่งท่านจะมีสิทธิได้รับเงินชดเชยตามอายุงาน (ม.๑๑๘) สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า (ม.๑๗) และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม (ม.๔๙ วิ.แรงงาน)

อนึ่ง หากทำงานไม่ถึง ๔ เดือนจะไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชยนะครับ แต่ถ้าเลิกจ้างก็ยังมีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า

และถ้ามั่นใจว่าไม่ผิด ก็ไปใช้สิทธิตามกฎหมายได้เลยครับ

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร.

418
เป็นอีกหนึ่งคำถามที่ทนายอ่านแล้วก็รู้สึกเห็นใจ

และขอย้ำไว้ตรงนี้ว่า หากลูกจ้างอยาก "ไปต่อ" ก็อย่าเซ็นต์ใบลาออกโดยเด็ดขาด เพราะในทางกฎหมายหากท่านเป็นผู้จับปากกามาเซ็นต์ด้วยตนเอง ก็ถือว่าท่านสมัครใจลาออกแล้วครับ ส่วนคำขู่หรือการกดดันต่างๆ เป็นเรื่องที่พิสูจน์ยากมากในทางคดี เว้นแต่ หากท่านกำลังเกษียณอายุงานอีกซัก สองสามเดือนข้างหน้าและยังไม่มีงานใหม่ หรือไม่มีเหตุผลจูงใจใดๆที่จะต้องออกงาน ศาลอาจจะพิจารณาว่าการเซ็นต์ใบลาออกไม่มีเหตุมีผลก็เป็นได้ แต่ท้ายที่สุดก็เป็นดุลพินิจของผู้พิพากษาแต่ละท่านครับ

มาเข้าที่คำถาม ถามว่า จะสู้ได้มั๊ย

ก็ตอบแบบตรงไปตรงมาว่า สู้ยากอยู่ครับ ต้องสืบให้ถึงว่าเราถูกข่มขู่ ถึงขนาดที่หากเราไม่เซ็นต์จะถูกทำร้ายหรือมีเหตุผลพิเศษ หากสืบไม่ได้คดีก็เสียเปรียบครับ

อย่างไรก็ตาม หากฟ้องต่อศาลแล้ว ก็ยังมีความหวังในการไกล่เกลี่ยในชั้นศาลครับ เพราะคดีแรงงานศาลจะใช้ระบบไกล่เกลี่ยเป็นหลัก ก็แถลงขอให้ศาลไกล่เกลี่ยให้ก็อาจจะวิน-วินทั้งสองฝ่ายก็เป็นได้ครับ

ให้กำลังใจครับ

ทนายพร.

419
ไม่ได้บอกมาว่าประกันตัวในขั้นตอนใด ซึ่งในการประกันตัว สามารถขอประกันตัวได้ตั้งแต่ชั้นพนักงานสอบสวน , ชั้นอัยการ และชั้นศาล

เอาเป็นว่า น่าจะเป็นการประกันตัวในชั้นสอบสวนหรือไม่ก็ชั้นอัยการ ดังนั้น ที่ถามมาว่าจะต้องไปรายงานตัวกี่ครั้ง จึงจะตัดสิน นั้น ต้องดูหลักกฎหมายใรความผิดอาญา ซึ่งได้วางหลักไว้ดังนี้

๑.ในกรณีความผิดอาญาที่ได้กระทำลงมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลมีอำนาจสั่งขังได้ครั้งเดียว มีกำหนดไม่เกิน ๗ วัน
๒.ในกรณีความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินกว่า ๖ เดือนแต่ไม่ถึง ๑๐ ปี หรือปรับเกินกว่า ๕๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลมีอำนาจสั่งขังหลายครั้งติด ๆ กันได้ แต่ครั้งหนึ่งต้องไม่เกิน ๑๒ วัน และรวมกันทั้งหมดต้องไม่เกิน ๔๘ วัน
ในกรณีความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป จะมีโทษปรับด้วยหรือไม่ก็ตาม ศาลมีอำนาจสั่งขังหลายครั้งติด ๆ กันได้ แต่ครั้งหนึ่งต้องไม่เกิน ๑๒ วัน และรวมกันทั้งหมดต้องไม่เกิน ๘๔ วัน
ในกรณีเมื่อศาลสั่งขังครบ ๘๔ วันแล้ว หากพนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอขังต่อไปอีกโดยอ้างเหตุจำเป็น ศาลจะสั่งขังต่อไปได้ก็ต่อเมื่อพนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนได้แสดงถึงเหตุจำเป็น และนำพยานหลักฐานมาให้ศาลไต่สวนจนเป็นที่พอใจแก่ศาล

นี่คือหลักกฎหมายที่ได้วางกฎเกณฑ์ไว้ หากพนักงานอัยการไม่ยื่นฟ้องภายในระยะเวลาดังกล่าว และไม่ได้ฝากขังต่อหรือศาลไม่อนุญาตให้ฝากขัง ก็ต้องปล่อยตัวไปละครับ

ทนายพร.

420
ตอบตามที่ถามเลยนะครับ

ในการฟ้องคดีเกี่ยวกับครอบครัวหรือเรื่องผัวๆเมียๆนั้น ในทางกฎหมายให้การรับรองเฉพาะผู้ที่จดทะเบียนถูกต้องเท่านั้น เช่น การเป็นสามี-ภรรยา ก็จะต้องจดทะเบียนสมรส ถ้าไม่ได้จดทะเบียนสมรส ในทางกฎหมายไม่ถือว่าเป็นสามี-ภรรยากัน แต่ในทางสังคมก็ถือว่าเป็นสามี-ภรรยา

ดังนั้น ในการจะใช้สิทธิตามกฎหมายนั้น ประเด็นแรกที่จะต้องดูว่านิติสัมพันธ์นั้น ได้รับการรับรองโดยกฎหมายแล้วหรือไม่

จากกรณีที่ถาม เมื่อหญิงกับชายอยู่กินด้วยกันโดยไม่จดทะเบียนสมรส ก็ไม่ถือว่าเป็นสามี-ภรรยากันตามกฎหมาย เมื่อไม่ได้เป็นสามี-ภรรยา กันตามกฎหมายก็ไม่สามารถฟ้องคดีเพื่อเรียกค่าเสียหายใดๆได้ครับ

ส่วนผู้หญิงคนใหม่ที่คบกันจะเรียกว่าชู้หรือไม่นั้น ก็ตอบได้สองแนว คือ ถ้าตามกฎหมายแล้ว ไม่ถือว่าเป็นชู้ตามเหตุผลข้างต้น แต่ถ้าในทางสังคมก็อาจจะถูกนินทา กล่าวขานว่าเป็นชู้ได้ แต่ถ้าพิจารณาจากเรื่องราวที่เล่ามาก็ดูจะแปลกๆอยู่ซักหน่อยนะครับ ถ้าต่างคนต่างอยู่มาเป็น ๑๐ ปี ทำไมหญิงคนแรกจึงยังมาราวีอยู่อีก เป็นไปได้หรือไม่ว่าผู้ชายกำลังปิดบังอะไรบางอย่างอยู่ แต่ก็เป็นแค่ข้อสังเกตุเท่านั้นนะครับ

ให้กำลังใจทุกฝ่ายขอให้ก้าวผ่านไปให้ได้นะครับ

ทนายพร.

หน้า: 1 ... 26 27 [28] 29 30 ... 50